ข่าวข่าวต่างประเทศ

ชาวจีนป่วยมะเร็งยกครัว หมอชี้ ของในครัวที่มีทุกบ้าน ทำติดเชื้อแบคทีเรียข้ามสายพันธุ์

แพทย์เฉลย สาเหตุป่วยเป็นมะเร็งทั้งบ้าน มาจากพฤติกรรมการทำอาหาร และวัสดุในครัวที่ใช้ปนกับของสุก ๆ ดิบ ๆ ที่ล้างไม่สะอาด กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค-แบคทีเรียข้ามสายพันธ์ุ พร้อมแนะนำวิธีขจัดสารก่อมะเร็ง (อะฟลาทอกซิน)

สถานีโทรทัศน์ปักกิ่งแซทเทิลไลท์เคยทำรายงานเกี่ยวกับนางหว่องในกรุงปักกิ่ง ที่ได้รับการตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง และไม่เพียงแค่นั้น ญาติของเธอยังเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งอีกสามคน ได้แก่ คุณพ่อของเธอเสียชีวิตด้วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ น้องชายเสียชีวิตด้วยเนื้องอกในสมอง สามีของเธอเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย ส่วนตัวเธอเองเป็นมะเร็งปอด

ครอบครัวของนางหว่องมีชีวิตปกติและไม่มีพฤติกรรมที่ไม่ดีใด ๆ เธอไม่รู้ว่าทำไมเธอถึงเป็นมะเร็ง เพื่อหาสาเหตุของโรคนี้ ในรายการแพทย์ได้ทำการทดลองจำนวนมากและพบ สารก่อมะเร็ง หรือ อะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ในปริมาณมากบนเขียงที่ครอบครัวเธอใช้

ผู้เชี่ยวชาญยังชี้ให้เห็นว่าครอบครัวของนางหว่องใช้ตะเกียบไม้ไผ่และเขียงไม้มานาน โดยปะปนอาหารดิบและสุก ไม่ทำความสะอาด เช็ดให้แห้งหรือเปลี่ยนใหม่เป็นประจำ ซึ่งล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดสารพิษ อะฟลาทอกซิน นำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงอย่างมะเร็ง

เรื่องราวอันน่าสลดใจนี้แสดงให้เห็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาใหญ่เรื่อง “ครอบครัวมะเร็ง” ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บางคนเชื่อว่าการที่ทั้งครอบครัวเป็นมะเร็งนั้นเป็นผลมาจากกรรมพันธุ์ แต่ในความเป็นจริง หลายคนป่วยเพราะพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเมื่อใช้อุปกรณ์ครัวเรือน

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง ใกล้ตัวกว่าที่คิด

ในชีวิตประจำวันเราอาจสัมผัสกับสารพิษจากเชื้อราประมาณ 300 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีพิษร้ายแรงหรือไม่ได้ทำให้เกิดพิษ อย่างไรก็ตาม Aflatoxin ถูกจัดประเภทโดยองค์การอนามัยโลกให้เป็นสารก่อมะเร็งประเภทที่ 1 มีความเป็นพิษมากกว่าสารหนู 68 เท่า และไซยาไนด์ 10 เท่า โดยปริมาณเพียง 1 มก. สามารถทำให้เกิดมะเร็งได้ และปริมาณ 20 มก. จะเป็นอันตรายถึงชีวิต Aflatoxin ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ และไม่มีสี

การทำลาย Aflatoxin จำเป็นต้องใช้อุณหภูมิ 280 องศาเซลเซียส ดังนั้นวิธีการปรุงอาหารทั่วไปจึงไม่สามารถทำลายสารพิษนี้ได้ นอกจากนี้สารพิษชนิดนี้ยังซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่อยู่อาศัยได้ง่าย เช่นห้องครัวและห้องน้ำ

เชื้อราและสารที่เป็นผลพลอยได้มีอุณหภูมิในการเจริญเติบโตที่ 28-38 องศาเซลเซียส ชอบความชื้นและโดยทั่วไปมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หลังจากได้รับพิษจาก Aflatoxin ผู้ป่วยจะมีอาการของโรคตับอักเสบ เช่น อาเจียน เบื่ออาหาร มีไข้ ท้องมาน…ในกรณีที่รุนแรงอาจเกิดโรคมะเร็งตับได้

ใช้เขียงสกปรกเลยป่วยเป็นมะเร็ง

วิธีกำจัด สารก่อมะเร็ง ออกจากเครื่องครัว

  1. ฆ่าเชื้อด้วยเกลือ ทุกครั้งที่ใช้เขียง ต้องใช้มีดขูดเศษอาหารที่หลงเหลืออยู่ออกจากพื้นผิวของเขียง ทุกๆ 6-7 วันให้โรยเกลือบาง ๆ ลงบนพื้นผิวเขียง วิธีนี้สามารถฆ่าเชื้อและป้องกันไม่ให้เขียงแห้งแตกได้

  2. ฆ่าเชื้อด้วยน้ำส้มสายชู โรยน้ำส้มสายชูเล็กน้อย ตากให้แห้งและล้างออกด้วยน้ำสะอาด

  3. ล้างด้วยน้ำยาล้างจาน

  4. ตากแดดให้แห้งและเก็บไว้ในที่เย็นและแห้ง

  5. เปลี่ยนใหม่เป็นประจำ

แนะนำ 4 พฤติกรรมการทำอาหารที่เสี่ยงเป็นมะเร็ง

นอกจากสารก่อมะเร็งที่ซ่อนอยู่ในเครื่องครัวหรือผักบางชนิดแล้ว นิสัยการทำอาหารที่ผิด ๆ โดยทั่วไปก็อาจทำให้คุณเป็นมะเร็งได้โดยไม่ตั้งใจได้เช่นกัน

1. ใส่วัตถุดิบตอนกระทะมีควันขึ้นแล้วเท่านั้น

ผู้คนส่วนใหญ่มักจะรอให้น้ำมันมีควันขึ้นก่อนแล้วค่อยใส่วัตถุดิบลงไปผัด ซึ่งวิธีนี้ไม่เหมาะกับน้ำมันปรุงอาหารที่ผ่านกระบวนการสกัดและแปรรูปในปัจจุบัน

เนื่องจากจุดเกิดควันของน้ำมันปรุงอาหารค่อนข้างสูง ซึ่งหากถึงจุดเกิดควัน นั่นหมายความว่าน้ำมันมีอุณหภูมิสูงมากแล้ว อุณหภูมิน้ำมันที่สูงเกินไปสามารถสร้างสารก่อมะเร็งบางชนิดและทำให้อาหารสูญเสียสารอาหารได้ง่าย

2. ไม่เปิดเครื่องดูดควันขณะปรุงอาหาร

การผัดด้วยไฟแรงเป็นวิธีที่ช่วยให้อาหารคงความสดและรสชาติที่เข้มข้น อย่างไรก็ตามวิธีนี้ทำให้เกิดน้ำมันกระเด็นเป็นจำนวนมาก ควันน้ำมันปรุงอาหารมีสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองและเป็นอันตรายเช่นเดียวกับควันบุหรี่ การสูดดมควันนี้อย่างสม่ำเสมออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของระบบทางเดินหายใจและผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะและอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ นอกจากนี้ผลการศึกษาจากทั่วโลกยังพบว่ายิ่งปรุงอาหารนานเท่าใด ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น

3. ควบคุมไฟได้ไม่ดี ไม่ล้างกระทะก่อนใช้ครั้งต่อไป

ยิ่งอุณหภูมิน้ำมันสูง สีของอาหารก็จะยิ่งเข้มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดสารพิษและสารก่อมะเร็งจำนวนมาก เช่น อะคริลาไมด์ (สารก่อมะเร็งประเภทที่ 2) หากไฟแรงเกินไป อาหารจะไหม้ เศษอาหารที่อยู่บนพื้นผิวกระทะจะเป็นคราบดำ การไม่ล้างกระทะเป็นสาเหตุทำให้เกิดสารพิษเมื่อนำกระทะมาประกอบอาหารครั้งต่อไป

4. ใช้น้ำมันซ้ำหลายครั้ง

หากเป็นการทำอาหารที่ใช้น้ำมันเยอะเพื่อไม่ให้เปลือง บางคนจะเก็บรวบรวมน้ำมันที่เหลือและนำมาใช้ในการประกอบอาหารครั้งต่อไป

เมื่อน้ำมันถูกให้ความร้อนจะทำให้เกิดสารพิษจำนวนมากจากการออกซิเดชันของน้ำมัน หากใช้น้ำมันนี้ซ้ำในการปรุงอาหารที่ใช้อุณหภูมิสูง ปริมาณสารก่อมะเร็งจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สารก่อมะเร็งนั้นเช่น เบนโซไพรีน (สารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1)

อ้างอิง : docnhanh.vn

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button