การเงินเศรษฐกิจ

9 เม.ย. 67 ยื่นภาษีออนไลน์วันสุดท้าย เว็บ ‘กรมสรรพากร’ ยื่นไม่ทันทำตามนี้ มีโทษปรับ

วันนี้ 9 เมษายน 2567 กรมสรรพากร แจ้งเตือนประชาชน ยื่นภาษีออนไลน์ วันสุดท้าย ประชาขนธรรมดา ยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 ,91 ผ่านระบบ e-Filing เว็บไซต์กรมสรรพากร และชำระภาษี ออนไลน์ได้จนถึง 4 ทุ่ม

ยื่นภาษีออนไลน์ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

1. ยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ http://www.rd.go.th หมดเขต 9 เมษายน 2567

2. ต้องเตรียมเอกสารเหล่านี้เพื่อประกอบการยื่นปีภาษี 2566 รายละเอียดเงินเดือน/เงินได้

  • หนังสือรับรองเงินเดือน เรียกว่า 50 ทวิ จากนายจ้าง ยืนยันว่าปีนั้นมีรายได้รวม (หักค่าต่างๆ แล้ว) เท่าไหร่
  • รายการ ลดหย่อนภาษี ที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี ได้แก่ ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา รายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี ใช้เลขบัตรประชาชนบิดามารดา, บุตร หรืออุปการะคนพิการ
  • เอกสารที่ใช้ลดหย่อนตัวเองและลดหย่อนภาษีต่างๆ เช่น ใบเสร็จเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ/สะสมทรัพย์, กองทุน RMF, กองทุน SSF, กองทุน TESG และเงินบริจาคต่างๆ

ตัวอย่างใบทวิ 50

วิธียื่นภาษีออนไลน์ ผ่านระบบ E-filling

1. ล็อกอินเข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th โดยเลือกปุ่ม “ยื่นแบบออนไลน์”

2. เมื่อล็อกอินทำตามที่ระบบบอกจนสำเร็จ ให้เลือกกดยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91

3. คลิก “ยื่นแบบ” จะปรากฏข้อความ “เลือกใช้ข้อมูลเงินได้ และ ลดหย่อน ที่ระบบมี” หรือ “กรอกข้อมูลด้วยตนเอง” จงเลือกตามสะดวก

  • กรณีเลือกใช้ข้อมูลเงินได้ และ ลดหย่อน ที่ระบบมี ระบบจะแสดงข้อมูลทางภาษีของเรา ได้แก่ ค่าลดหย่อน, รายได้จากเงินเดือน, รายได้จากการทำธุรกิจหรืออาชีพอิสระ (ฟรีแลนซ์), ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร และยอดรวมเงินได้ทั้งหมด ถ้าข้อมูลถูกต้องให้คลิก “ยอมรับ” และ “ยื่นแบบโดยใช้ข้อมูล”

ยื่นภาษีออนไลน์ ระบบ e-filling

4. ระบบจะแสดงข้อมูลรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 เราต้องกรอกข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ประจำตัวผู้เสียภาษีอากร, ชื่อ-นามสกุล, วันเดือนปีเกิด, สถานที่ติดต่อ, ร้านค้า/กิจการส่วนตัว (ถ้ามี) และให้ระบุสถานะในปัจจุบันด้วย จากนั้นเลือกกดถัดไป

5. กรอกเงินได้ ระบบแสดงหน้ารายได้รูปแบบต่างๆ เช่น รายได้จากเงินเดือน, รายได้จากฟรีแลนซ์-รับจ้างทั่วไป-วิชาชีพอิสระ, รายได้จากทรัพย์สิน การทำธุรกิจ, รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดกหรือได้รับมา หากเป็นพนักงานประจำหรือมนุษย์เงินเดือน เลือกรายได้จากเงินเดือน กดที่ “ระบุข้อมูล”

6. กรอกค่าลดหย่อน ระบบจะแสดงรายการค่าลดหย่อนภาษีที่เรามีในปี 2566 โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว,
  • กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อนกลุ่มออมเงินและลงทุน,
  • กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล
  • กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนบริจาค (กรอกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม หรือใครที่มีการออมการลงทุนต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี)

กรอกแล้วคลิก “ถัดไป”

7. เมื่อกรอกข้อมูลครบแล้วให้ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง ข้อมูลเงินได้ทั้งหมด ถ้ามียอดที่ชำระเพิ่มเติม หรือขอคืนภาษีที่ชำระไว้เกิน จะบอกไว้ในหน้านี้

8. ตรวจสอบข้อมูลแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 ครบถ้วนแล้ว กดปุ่ม “ยืนยันการยื่นแบบ” เป็นอันเสร็จสิ้นการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

9. ถ้าต้องจ่ายเงินเพิ่ม ให้กดพิมพ์ใบเสร็จออกมาเพื่อชำระภาษี

ยื่นภาษีไม่ทัน ทำยังไง

กรณียื่นแบบ ภงด. 90/91 ไม่ทันเวลาที่กำหนด (9 เมษายน 2567) จะต้องไปยื่นด้วยตนเองที่ สำนักงานสรรพากรสาขาใกล้บ้าน ให้เตรียมเอกสารไปด้วย ดังนี้

  • แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90 ที่กรอกข้อมูลเรียบร้อย
  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี เช่น หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต หนังสือรับรองการจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฯลฯ

โทษของการไม่เสียภาษี หรือยื่นเงินได้บุคคลธรรมดาเกินกำหนด

ประชาชนไทยที่มีรายได้ทุกคนไม่ยื่นภาษีไม่ได้ ถ้ายื่นภาษีช้าเกินกำหนดมีโทษปรับดังนี้

ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ช้าเกินกำหนดเวลา

ถ้าต้องมีเงินภาษีจ่ายเพิ่ม จะโดนค่าปรับให้จ่ายเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ+ค่าปรับที่จ่ายช้า

ตั้งใจไม่ยื่นแบบเสียภาษีมีโทษอะไรบ้าง

กรณีตั้งใจไม่ยื่นแบบภาษีเพราะไม่อยากจ่ายภาษี มีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ รวมถึงต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี โดยเศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน

ดังนั้น 9 เมษายน 2567 เป็นวันสุดท้ายของการยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ภงด. 90/91 ผ่านระบบออนไลน์ อย่าลืมทำหน้าที่ชาวไทย ไม่งั้นมีโทษปรับ

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button