ข่าวสุขภาพและการแพทย์

ผลวิจัยช็อก ทำ IF 16/8 เสี่ยงตายด้วยโรคด้วยใจ เพิ่ม 91% เผยกลุ่มเสี่ยงสูงสุด

เช้านี้ต้อนรับวันใหม่ด้วยข่าวสะเทือนวงการสุขภาพและลดน้ำยอดฮิตปัจจุบันอย่าง IF ที่ล่าสุด ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะ​แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อัปเดตข่าวงานวิจัยชิ้นใหม่ของสหรัฐอเมริกา ผ่านโพสต์ข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ manopsi ว่า  “American Heart Association ออก press release การศึกษาพบว่าการทำ IF สูตรกิน 8 ชั่วโมง อด 16 ชั่วโมง เสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 91%”

สรุปข้อมูลวิจัยความสัมพันธ์ IF สูตร 16/8 กับโรคหัวใจ

1. การศึกษานี้เก็บข้อมูลจาก NHANES ซึ่งเป็น dataset ขนาดใหญ่และใช้กันมานาน ข้อมูลจาก dataset นี้ใช้ตอบคำถามวิจัยมากมายมายาวนาน ทีมเก็บข้อมูลและวิเคราะห์มีประสบการณ์และฝีมือดี

2. ข้อมูลนี้มีจุดด้อยคือเป็นการสำรวจวิธีการทำ IF 16:8 แบบ self assessment ด้วย questionnaire ของปีแรกที่เก็บข้อมูล ไม่สามารถยืนยันว่าทุกคนทำ IF 16:8 สูตรนี้สม่ำเสมอหรือไม่

3. จุดแข็งของการศึกษานี้คือ dataset ขนาดใหญ่เกือบ 2 หมื่นคน และตามข้อมูลนานเฉลี่ย 8 ปี และตามนานสุดถึง 17 ปี ในขณะที่ผลดีรายงานก่อนหน้านี้ล้วนเป็นผลระยะสั้น ไม่เคยมีข้อมูลยาวขนาดนี้

4. ข้อสังเกตอีกอันคืออายุเฉลี่ย 49 ปี (วัยกลางคน)

5. มีข้อมูลกลุ่มที่อดอาหารน้อยกว่านี้ด้วยคือมีระยะเวลากิน 8-10 ชม และมีโรคหัวใจร่วมด้วยพบว่าเสี่ยงเสียชีวิตเพิ่ม 66% ด้วย ตรงกันข้ามในคนไข้มะเร็งการไม่ทำ IF อัตราตายก็น้อยกว่า สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้นไปในทางเดียวกันหมด

6. ภาพรวมการทำ IF ไม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

7. การศึกษานี้เป็นระบาดวิทยา พบว่ามันสัมพันธ์กันแบบนี้จริง แต่การจะหาคำอธิบายหรือกลไกก็ต้องศึกษาใหม่ เก็บข้อมูลและวิเคราะห์แบบอื่น

ดังนั้นโดยสรุป ขอให้ aware(การรับรู้) ในข้อมูล และระมัดระวังในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไปและมีโรคร่วม อย่าไปเหมาหมดว่า IF แย่ และอย่าไปอวยแบบเหมาเช่นกันว่าดีเลิศ พิจารณากันรายคน

อดอาหารแบบ IF ทางลัดสู่หุ่นเป๊ะจริงหรือ?

IF คืออะไร?

IF ย่อมาจาก Intermittent Fasting แปลเป็นไทยว่า “การอดอาหารแบบเป็นช่วงๆ” เป็นวิธีการกินอาหารที่เน้นไปที่ “เวลา” มากกว่า “ชนิด” ของอาหาร โดยแบ่งเวลาออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงกิน (Eating Window) และ ช่วงอด (Fasting Window)

สูตร IF ยอดนิยม

  • 16/8: กิน 8 ชั่วโมง อด 16 ชั่วโมง ตัวอย่างเช่น กินอาหารระหว่าง 10.00 น. ถึง 18.00 น. อดอาหารช่วง 18.00 น. ถึง 10.00 น. ของวันถัดไป
  • 5:2: กินปกติ 5 วัน อด 2 วัน โดยใน 2 วันที่อด กินอาหารแค่ 500-600 แคลอรี่
  • Alternate-Day Fasting: อดอาหารสลับวัน กินปกติ 1 วัน อด 1 วัน
  • Eat-Stop-Eat: อดอาหาร 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

IF ช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไร?

  1. กินแคลอรี่น้อยลง เมื่อเวลาในการกินสั้นลง ร่างกายจะได้รับแคลอรี่น้อยลงโดยอัตโนมัติ
  2. เร่งเผาผลาญ IF กระตุ้นให้ร่างกายเผาผลาญไขมันสะสมมาใช้เป็นพลังงาน
  3. ปรับสมดุลฮอร์โมน IF ช่วยปรับฮอร์โมนอินซูลินให้ทำงานดีขึ้น ส่งผลดีต่อการเผาผลาญและควบคุมน้ำหนัก

IF เหมาะกับใคร?

  • ผู้ใหญ่สุขภาพดี ต้องการลดน้ำหนัก ต้องการปรับพฤติกรรมการกิน ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

IF ไม่เหมาะกับใคร?

  • เด็กและวัยรุ่น
  • หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
  • ผู้มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • ผู้มีประวัติการกินผิดปกติ

ข้อควรระวัง

  • อาจรู้สึกหิวและอ่อนเพลียในช่วงแรก
  • อาจมีสมาธิสั้นลง
  • ไม่เหมาะกับทุกคน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่ม

จำไว้ IF เป็นแค่เครื่องมือช่วยลดน้ำหนัก สิ่งสำคัญคือต้องควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ คนมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อน

กินอาหารสุขภาพ คือวิธีลดหุ่นอย่างยั่งยืน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button