ข่าวข่าวการเมือง

เปิดประวัติ ‘ตะวัน ตัวตุลานนท์’ นักเคลื่อนไหวการเมือง ผู้ทำโพลล์ #ขบวนเสด็จ

ประวัติ ตะวัน ตัวตุลานนท์ คือใคร พาเปิดเส้นทางเคลื่อนไหวทางการเมือง นักจัดกิจกรรมอิสระ ผู้ทำโพลล์สำรวจความคิดเห็นเรื่อง ขบวนเสด็จ สู่ผู้ต้องหาคดี ม.112

หลังจากตกเป็นข่าวบีบแตรใส่ขบวนเสด็จ จนต่อมาไปมีเหตุกระทบกระทั่งกับ กลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) จากกรณีจัดกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ บริเวณทางเชื่อมรถไฟฟ้าสถานีสยาม เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา ทำให้ดูเหมือนว่าชั่วโมงนี้ หลายคนจะเริ่มกลับมาตั้งคำถามกับ ตะวัน ตัวตุลานนท์ หญิงสาวอายุ 20 ปี ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่มักจะออกมาจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ให้เห็นจนชินตา ว่าเป็นใคร ? และมีที่มาที่ไปอย่างไร

โดยข้อสงสัยดังกล่าวจากสังคมนั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นผลสืบเนื่องจากกระแสล่าสุด ที่เจ้าตัวได้มีการออกมาขับเคลื่อนในเรื่องเกี่ยวกับการตั้งคำถามและจัดทำโพลสำรวจของ “ขบวนเสด็จ” นั่นเอง

ตะวันขบวนเสด็จ
ภาพ Facebook @tawan.tantawan.14

ตะวัน เริ่มเคลื่อนไหวประเด็นการเมืองตั้งแต่เมื่อไหร่ ?

นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ อายุ 20 ปี เคยให้สัมภาษณ์กับประชาไท ถึงจุดเริ่มต้นที่เข้ามาสนใจเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมือง เริ่มจากสมัยเรียนอยู่ชั้นม. 5 ได้ไปสอบเทียบวุฒิมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ GED (General Educational Development) และใช้ผลสอบไปเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสิงคโปร์

แต่เมื่อเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 มหาวิทยาลัยที่สิงคโปร์ปิดการเรียนการสอน ตะวันจึงกลับมายังประเทศไทย และเรียนออนไลน์แทน กระทั่งเห็นข่าว “พรรคอนาคตใหม่” ถูกยุบ จึงศึกษาเรื่องการเมืองแล้วไปร่วมชุมนุมตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นมา

ต่อมา ตะวัน ได้สมัครเป็นการ์ดให้กับกลุ่มมวลชนอาสา หรือ “We Volunteer” ที่เรียกสั้น ๆ กว่ากลุ่มวีโว่ ของนายปิยะรัฐ จงเทพ หรือ “โตโต้” ที่ปัจจุบันเป็น ส.ส.ของพรรก้าวไกล และมีคนชวนไปร่วมกับกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ ของนายโสภณ สุรฤทธิ์ธำรง หรือ “เก็ท” นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล เริ่มจากเคลื่อนไหวประเด็นการหายตัวไปของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ หายตัวไปที่ประเทศกัมพูชา ก่อนจะเป็นที่รู้จักเมือตอนไลฟ์เฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 5 มี.ค.2565 กรณีวิจารณ์การจัดขบวนเสด็จ ซึ่งมีผลกระทบกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่บริเวณถนนราชดำเนินนอก โดยครั้งนั้นถูกควบคุมไว้ที่สโมสรตำรวจเป็นเวลา 3 วัน 2 คืน รวมถึงต่อมา ตำรวจ สน.นางเลิ้ง ได้แจ้งข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112) ด้วย

ตะวัน เคยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มทะลุวัง และเป็นหนึ่งใน 6 นักกิจกรรมที่ถูกตั้งข้อหามาตรา 112 จากการทำโพลคุณคิดว่าขบวนเสด็จสร้างความเดือดร้อนหรือไม่ ที่สยามพารากอน เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565

นอกจากนี้ ยังเคยตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมเป็นวงกว้าง เมื่อครั้งอดอาหารประท้วงเป็นเวลา 37 วัน เมื่อวันที่ 18 ม.ค.2566 ร่วมกับ “แบม” อรวรรณ ภู่พงษ์ อีกหนึ่งนักเคลื่นไหวที่มีคดี ม.112 ติดตัวเช่นกัน ก่อนจะได้รับการปล่อยตัว โดย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลในตอนนั้นใช้ตำแหน่ง ส.ส. ประกันตัวแบบมีเงื่อนไข

แบม ตะวัน
ภาพ Facebook @tawan.tantawan.14

โดยหนนั้น ถูกยกเป็นขั้นกว่าของการประท้วง เพราะเวลาผ่านไปสังคมเริ่มตั้งคำถามว่า หรือกระบวนการยุติธรรมไทยจะมีความผิดปกติจริง ๆ อีกทั้งตลอดเวลากว่า 1 เดือนที่ตะวันและแบม-อรวรรณ เลือกเสี่ยงชีวิต ก็ได้เกิดปรากฏการณ์มากมาย ทั้งปลดกำไลอีเอ็ม (EM) และผู้ต้องขังได้ประกันตัว

ทั้งนี้ ภายหลังเมื่อทำกิจกรรมการเมืองมาก ๆ ไม่มีเวลาเรียนออนไลน์ จึงตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัยที่ประเทศสิงคโปร์ โดยปัจจุบันเป็นมวลชนอิสระ ไม่ได้สังกัดกลุ่มหรือพรรคการเมืองใด

ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ facebook
ภาพ Facebook @tawan.tantawan.14
ตะวันคือใคร
ภาพ Facebook @tawan.tantawan.14

“ตอนแรกที่เลือกเรียนการตลาดเพราะที่บ้านทำธุรกิจ เราก็ตั้งใจว่าเผื่อจะเอามาใช้กับธุรกิจของที่บ้านได้ แต่ว่าพอเราได้มาม็อบ ได้ศึกษาการเมือง เราเริ่มรู้สึกว่าเราไม่อยากนิ่งเฉย เราเลยตัดสินใจที่จะออกมาตรงนี้ ช่วยให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะช่วยได้ เพื่อเปลี่ยนแปลง คิดว่านิติน่าจะเป็นหนึ่งในสาขาที่ช่วยในด้านนี้ได้มากที่สุด ก็เลยเลือกเรียนนิติศาสตร์ค่ะ”

ประโยคข้างต้นเป็นบทสัมภาษณ์ส่วนหนึ่งของตะวัน ตัวตุลานนท์ ที่เคยกล่าวไว้กับประชาไท เมื่อ 7 เม.ย.2565 ก่อนที่ปัจจุบันกำลังจะถูกตำรวจออกมาหมายจับจากข้อกล่าวหาล่าสุดที่ไปขัดขวางและบีบแตรใส่ขบวนเสด็จ โดยในส่วนของข้อกล่าวหาที่พนักงานสอบสวนเสนอให้ศาลพิจารณามี 3 ข้อหา คือ ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่ง กระทำตามหน้าที่, ก่อความเดือดร้อนรำคาญ และข้อหาตามความผิดตามมาตรา 116.

ตะวันเรียนที่ไหน
ภาพ Facebook @tawan.tantawan.14
ตะวันตัวตุลานนท์
ภาพ Facebook @tawan.tantawan.14
ตะวันขบวนเสด็จ
ภาพ Facebook @tawan.tantawan.14

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button