เปิดข้อกฎหมาย คดีการล้มล้างการปกครอง มาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2560 มีโทษจำคุกทั้งหมดกี่ปี และบุคคลที่มีพฤติการณ์แบบใด จึงจะเข้าข่ายกระทำความผิดจริง ศึกษาข้อมูลให้พร้อม ก่อนฟังคำไต่สวนจาก ศาลรัฐธรรมนูญ คดีล้มล้างการปกครอง นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หลังเสนอแก้ ม.112 ในวันพุธที่ 31 มกราคม 2567
บทลงโทษ คดีล้มล้างการปกครอง ตามรัฐธรรมนูญ 2560
สำหรับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ฐธรรมนูญ 2560 คือ บทบัญญัติที่มีจุดประสงค์ในการ ปกป้องคุ้มครองระบอบการปกครองของประเทศที่เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยได้ระบุข้อความเกี่ยวกับการร้องขอให้เลิกการกระทำล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข วรรคหนึ่งเอาไว้ว่า
“บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้”
ส่วนวรรคสองได้ระบุว่า “ผู้ใดทราบว่ามีการกระทำตามวรรคหนึ่ง ย่อมมีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้”
วรรคสามบัญญัติว่า “ในกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งไม่รับดำเนินการตามที่ร้องขอหรือไม่ดำเนินการภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอผู้ร้องสามารถยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ได้”
สุดท้ายคือวรรคสี่ที่มีบทบัญญัติเอาไว้ว่า “การดำเนินการตามมาตรานี้ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีอาญาของผู้กระทำการตามวรรคหนึ่ง”
ในส่วนของบทลงโทษจาก คดีล้มล้างการปกครอง มาตรา 49 หากอ้างอิงจากกรณีของ นายธีรยุทธ์ สุนทรเกษร ที่ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 ว่า การกระทำของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคก้าวไกล ผู้ถูกร้องที่ 2 ที่เสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่…) พ.ศ. … เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญ ไต่สวนพยาน 2 ปาก คือ นายพิธา และนายชัยธวัช ตุลาธน โดยตอบข้อซักถามของศาลและคู่กรณี คดีเป็นอันเสร็จการไต่สวน ศาลนัดแถลงการณ์ด้วยวาจา ประชุมปรึกษาหารือ และลงมติในวันพุธที่ 31 มกราคม 2567 เวลา 09.30 น. กับนัดฟังคำวินิจฉัย เวลา 14.00 น.
ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่า การมีพฤติการณ์เข้าข่ายกระทำผิด กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ปี 2560 ตามวรรคหนึ่ง สอดคล้องกับคำร้องขอต่อศาลฯของ นายธีรยุทธ์ สุนทรเกษร ให้วินิฉัย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 เกี่ยวกับการกระทำของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และพรรคก้าวไกล
จึงวิเคราะห์ได้ว่า คดีล้มล้างการปกครอง มาตรา 49 สามารถเข้าข่ายเป็นโทษความผิด ต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย อยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี”
อย่างไรก็ตาม ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปอ่าน สรุปคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2564 วันที่ 10 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2564 เรื่อง คำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วันที่ 27 มิถุนายน 2565 เพื่อศึกษาแนวทางการพิจารณาคดีเกี่ยวกับการล้มล้างการปกครอง ได้ผ่านเว็บไซต์ วุฒิสภา >> คลิก
ที่มาของ รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560
สำหรับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 มีจำนวน 279 มาตรา โดยรัฐธรรมนูญดังกล่าว มีที่มาจาก คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น
ผ่านการออกเสียงประชามติโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และมีเสียงข้างมากเห็นชอบ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 แล้วสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบและนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ภาพแรก พิธา ถึงศาลตรงเวลา มั่นใจบรรทัดฐาน ก่อนฟังคำวินิจฉัยบ่าย 2 โมง
- ด่วน! “พิธา” รอด คดีถือหุ้น ITV ไม่เป็นสื่อ ได้คืนสมาชิกสภาพ ส.ส.
- ดูถ่ายทอดสด ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสิน “พิธา” คดีถือหุ้นไอทีวี บ่าย 2 โมง
- ศาลรัฐธรรมนูญ เคาะ 31 ม.ค. ชี้ชะตา ‘พิธา-ชัยธวัช’ คดีล้มล้างการปกครอง
อ้างอิง : สถาบันปรีดี พนมยงค์, ศาลรัฐธรรมนูญ, วุฒิสภา, พิพิธภัณฑ์รัฐสภา