ไลฟ์สไตล์

รู้จัก “ลิเทียม” คืออะไร แร่สำคัญในการผลิต แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

แร่ลิเทียม ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในช่วงนี้ หลังจากกระทรวงอุตสาหกรรม สำรวจพบแหล่งแร่ลิเทียม พบมีจำนวนมากกว่า 14 ล้านตัน ส่งผลให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่ค้นพบแร่ลิเทียมมากที่สุด อันดับ 3 ของโลก ทางรัฐบาลจึงเตรียมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลาง และฐานการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ใหญ่ในภูมิภาค

สำหรับแร่ลิเทียม ถือว่าเป็นแร่ที่สำคัญต่ออุตสาหรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์ของโลกเป็นอย่างมาก ในช่วงที่แร่ลิเทียมขาดแคลนลงไปในทุกวัน ซึ่งสวนทางความต้องการใช้แร่ลิเทียมที่สูงขึ้นในทุกปี สำรวจคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของแร่ลิเทียมไปพร้อมกัน

ทำความรู้จัก แร่ลิเทียม คืออะไร

ลิเทียม (Lithium) มีสัญลักษณ์ Li เลขอะตอม 3 เป็นธาตุที่อยู่ในกลุ่มโลหะอัลคาไลน์ ซึ่งลิเทียมบริสุทธิ์ เป็นโลหะที่อ่านนุ่ม มีสีขาวเงิน เป็นธาตุของแข็งที่น้ำหนักเบาที่สุด และโลหะไม่กี่ชนิดที่สามารถรับและปล่อยกระแสไฟฟ้าได้ด้วยตัวเอง มักนำมาผลิตแบตเตอรรี่ไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย รวมถึงยาบางชนิดที่ใช้ควบคุมอารมณ์ (Mood Stabilizer) ที่ใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า

สำหรับลิเทียม ถือว่าเป็นโลหะที่เบาที่สุด มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ มีคุณสมบัติของโลหะอัลคาไลน์เอิร์ธ ในหมู่ 2 เป็นธาตุที่มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาสูง แต่จะน้อยกว่าในโลหะหมู่ที่ 1 ลิเทียมอ่อนนิ่มจนสามารถใช้มีดตัดได้ หากอยู่ในรูปโลหะบริสุทธิ์ สามารถติดไฟและเกิดการระเบิดค่อนข้างง่ายเมื่อสัมผัสกับอากาศ ทั้งยังไม่สามารถดับไฟด้วยน้ำได้

ประโยชน์ของแร่ลิเทียม

ด้วยคุณสมบัติลิเทียมที่มีน้ำเบา จึงเกิดการสึกกร่อนได้ง่าย ทำให้ต้องระมัดระวังในการหยิบจับ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงผ่านผิวหนัง หากใช้เป็นยาต้องระมัดระวังในการรับประทาน เนื่องจากลิเทียมไอออน (Li+) จะทำให้เลือดมีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้น

การสำรวจแหล่งค้นพบแร่ลิเทียมในปัจจุบัน ซึ่ง 6 ประเทศทั่วโลกที่มีการค้นพบแร่ลิเทียมมากที่สุด ได้แก่ โบลิเวีย 21 ล้านตัน, อาร์เจนตินา 19 ล้านตัน, ไทย 14.8 ล้านตัน, ชิลี 9.8 ล้านตัน, สหรัฐอเมริกา 9.1 ล้านตัน, ออสเตรเลีย 7.3 ล้านตัน และ จีน 5.1 ล้านตัน

ประโยชน์ของแร่ลิเทียม 2

ประโยชน์ของแร่ลิเทียม

สำหรับประโยชน์ของแร่ลิเทียม นำมาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะด้านการแพทย์ เทคโนโลยี รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งแร่ลิเทียมสามารถแปรสภาพได้เป็นสิ่งของต่าง ๆ ดังนี้

    • แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟ (Rechargeable Battery) หรือที่นิยมเรียกกันว่า แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ซึ่งอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อาทิ จักรยานไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า อุปกรณ์ทางการแพทย์ แล็ปท็อป แท็บเล็ต อุปกรณ์ตรวจวัด เครื่องมือกล เครื่องกระตุ้นหัวใจภายนอกแบบอัตโนมัติ และ โดรน
    • เครื่องแก้ว เซรามิก รวมถึงกระจกกล้องโทรทรรศน์
    • ยาปรับอารมณ์ (Mood Stabilizer) สำหรับผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า
    • ใช้ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ ในยานอวกาศและเรือดำน้ำ
    • ฯลฯ

ในอนาคตแร่ลิเทียมมีความสำคัญอย่างมาก ในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน เพื่อนำไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มีการเติบโตของตลาดเพิ่มขึ้นสูงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จึงเป็นแร่ที่ทั่วโลกต้องการใช้อย่างเร่งด่วน จนมีผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า โลกอาจต้องประสบปัญหาภาวะลิเทียมขาดแคลนในปี 2025

แบตเตอรี่ EV

การค้นพบแร่ลิเทียมในไทย

สำหรับประเทศไทยนั้น ค้นพบแหล่งแร่ลิเทียมที่มีศักยภาพ 2 แห่ง ได้แก่ แหล่งเรืองเกียรติ และแหล่งบางอีตุ้ม ทั้งยังค้นพบแหล่งแร่โซเดียมในภาคอีสานปริมาณสำรองเป็นจำนวนมาก โดยแร่ทั้งสองนี้ ถือว่าเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่รถไฟฟ้า (EV)

จากข้อมูลของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ พบว่า ไทยสำรวจพบแร่ลิเทียมกว่า 14,800,000 ล้านตัน ซึ่งทำให้ไทย เป็นประเทศที่ค้นพบแร่ลิเทียมมากที่สุด เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากประเทศโบลิเวีย และ ประเทศอาร์เจนตินา ทั้งนี้รัฐบาลไทยคาดการณ์ว่า ความต้องการของแร่ลิเทียมทั่วโลกจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า ภายในปี 2568 และจะต้องการมากขึ้นกว่า 2 ล้านตัน ภายในปี 2573

ทางรัฐบาลได้คาดการณ์เพิ่มเติมอีกว่า การค้นพบแร่ลิเทียมในครั้งนี้ จะช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ทำให้ไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ครอบครองแร่ลิเทียมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รวมถึงดึงดูดให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติเข้ามาตั้งโรงงาน เพื่อทำให้ไทยกลายเป็นฐานการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าหลักของภูมิภาค

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : วิกิพีเดีย, Salika

Best Writer

นักเขียนบทความประจำ Thaiger จบการศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มีความเชียวชาญด้านวงการเพลงไทย ภาพยนตร์ อนิเมะ ชื่นชมติดตามข่าวสารสังคม กีฬา เทคโนโลยี แตกประเด็น สรุปเรื่องราวมาร้อยเรียงผ่านข้อความสู่สายตาผู้อ่าน ช่องทางติดต่อ best.t@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button