ข่าวต่างประเทศ

ดวงจะรวย หนุ่มเก็บฟืนเก็บท่อนไม้ผุ ๆ กลับบ้าน แท้จริงคือ ‘หยก’ มูลค่ามหาศาล

โชคหล่นทับ หนุ่มเก็บฟืนท่อนไม้ผุ ๆ กลับบ้าน แต่เมื่อเอาไปล้างก็ถึงกับอึ้ง ไม้กลายเป็น ‘หยก’ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นยาก ผู้เชี่ยวชาญชี้มีมูลค่าเทียบเท่าอัญมณี

สุภาษิตจีนโบราณกล่าวไว้ว่า “อย่ามองข้ามสิ่งที่ไม่มีค่า เพราะวันหนึ่งสิ่งนั้นอาจมีค่ายิ่งกว่าอะไร” ดันตรงกับโชคชะตาของหนุ่มจีนคนเก็บฟืน เขาไม่เคยเชือกับคำพูดเหล่านี้มาก่อนจนกระทั่งเกิดขึ้นกับตัวเอง

วันที่ 18 มกราคม 2567 เว็บไซต์ต่างประเทศ vtc.vn รายงานถึงข่าวสุดแปลกเกิดขึ้นจริงในมณฑลหูหนาน ประเทศจีน หนุ่มคนเก็บฟืนรายหนึ่งบังเอิญเจอท่อนไม้ผุ ๆ อยู่ข้างถนน เขาลังเลอยู่นานแต่สุดท้ายก็หยิบกลับมาบ้านด้วย แต่เมื่อเอาไปล้างน้ำท่อนไม่ก็กลับกลายเป็นหยก

อึ้ง หนุ่มเก็บฟืนเก็บท่อนไม้ผุ ๆ กลับบ้าน แท้จริงเป็น 'หยก' มูลค่ามหาศาล
ภาพจาก : cafef.vn

เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นในวันหนึ่งที่ชายหนุ่มคนเก็บฟืนเดินตามหาเศษไม้ข้างทาง เพื่อจะนำกลับบ้านไปจุดไฟ จู่ ๆ เขาก็พบท่อนไม้อันหนึ่งฝังอยู่ในดิน เขาจึงขุดขึ้นมา เมื่อได้เห็นเต็มตาก็พบว่าท่อนไม้มีสีเขียวปะปนกับสีน้ำตาล ทั้งยังมีน้ำหนักมากกว่าปกติ ชายคนเก็บฟืนตัดสินใจเก็บท่อนไม้กลับบ้านไปล้างน้ำ

ใครเล่าจะคิดว่าหลังจากทำความสะอาดท่อนไม้ที่ดูเน่าเปื่อยก็กลับกลายเป็นหินสีเขียวมรกตที่มีรูปร่างคล้ายท่อนไม้ ชายคนนี้รู้สึกสับสนมาก และได้แต่สงสัยว่าสิ่งที่เขาหยิบขึ้นมาไม่ใช่ท่อนไม้หรอกหรอ

เหตุการณ์สุดแปลกนี้ได้แพร่สะพัดไปทั่วหมู่บ้าน เพื่อนบ้านมากหน้าหลายตาแวะเวียนกันมาดูท่อนไม้สีเขียวและเริ่มโต้เถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้ บางคนบอกว่าไม้ชิ้นนี้เป็นฟอสซิลของต้นไม้บางชนิด ส่วนบางคนก็คิดว่าเป็นหยกที่มีมูลค่ามาก ด้านบรรดาคนที่เชื่อโชคลางบางคนกลับคิดว่ามันเป็นลางร้ายจึงได้แนะนำให้เขาผูกด้ายสีแดง เพื่อเป็นเครื่องป้องกัน

เมื่อไม่ได้บทสรุปที่แน่ชัด ชายคนนี้จึงท่อนไม่สีเขียวไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและสืบหาที่มา ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญก็บอกว่าเป็น ไม้หยกตามธรรมชาติ มีราคาหลายสิบล้านบาท

อึ้ง หนุ่มเก็บฟืนเก็บท่อนไม้ผุ ๆ กลับบ้าน แท้จริงเป็น 'หยก' มูลค่ามหาศาล
ภาพจาก : cafef.vn

ไม้หยก คืออะไร?

ไม้หยกธรรมชาติเป็นปรากฏการณ์ที่ไม้กลายเป็นหยก กระบวนการแบบเดียวกับไม้กลายเป็นหิน ถือเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พบเห็นได้ยาก เพราะกระบวนการนี้เกิดขึ้นที่ใต้ดินเป็นเวลาหลายล้านปี ด้วยระยะเวลากที่ยาวนานในการสร้าง ไม้หยกจึงถือได้ว่ามีมูลค่าเท่ากับทองคำ

ไม้หยกมีต้นกำเนิดมาจากป่าดึกดำบรรพ์หลังการเกิดปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิด ซึ่งลำต้นไม้ที่ถูกฝังอยู่ในลาวาเป็นเวลาหลายล้านปีจะค่อย ๆ กลายเป็นอัญมณี

ในพื้นที่ที่ต้นไม้ที่ตายแล้วถูกปกคลุมไปด้วยแร่ธาตุจำนวนมากจากการปะทุของภูเขาไฟ แร่ธาตุเหล่านั้นจะแทรกซึมเข้าไปในเนื้อไม้ เมื่อโครงสร้างของไม้ค่อย ๆ พังทลายลง เส้นใยไม้จะถูกแทนที่ด้วยแร่ธาตุอนินทรีย์อื่น ๆ เช่น ควอตซ์ โอปอล และ โมรา

ต้นไม้ที่กลายเป็นอัญมณีเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีอยู่ในยุคไทรแอสซิก และจูราสสิก เมื่อประมาณ 100 ล้านถึง 250 ล้านปีก่อน โดยหลักการแล้วการแปรรูปไม้ให้เป็นหยก มีกระบวนการคล้ายกับฟอสซิลกระดูกและซากสัตว์ กระบวนการนี้ต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และขึ้นอยู่กับแร่ธาตุที่ถูกแทนที่ ซึ่งส่งผลให้ไม้หยกจะมีคุณสมบัติและความแข็งต่างกัน ซึ่งสีของลำต้นของไม้หยกก็มีความหลากหลายเช่นกัน สีเทาและสีน้ำตาลเป็นสีที่พบมากที่สุด นอกจากนั้นก็มีสีแดง สีเหลืองส้ม สีดำ และที่หายากที่สุดก็คือ สีเขียวหยก

อึ้ง หนุ่มเก็บฟืนเก็บท่อนไม้ผุ ๆ กลับบ้าน แท้จริงเป็น 'หยก' มูลค่ามหาศาล
ภาพจาก : cafef.vn

ชาวตะวันตกเชื่อว่า เดิมทีเป็นท่อนไม้เน่าเปื่อย หลังจากผ่านกระบวนการควอตซ์แล้วมันก็กลายเป็นหินมีค่า ดังนั้นฟอสซิลไม้จึงมีคุณสมบัติทางแม่เหล็กที่มั่นคง อายุยืนยาว และนิรันดร์

ตั้งแต่สมัยประเทศโบราณ เช่น อัสซีเรีย บาบิโลน และโรมโบราณ ไม้หยกถูกนำมาใช้เป็นหินวิจิตรศิลป์ ผู้คนทำลูกปัดมาติดไว้กับแหวน จี้หยก ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 และ 20 ไม้กลายเป็นหินที่ส่งออกในรัฐแอริโซนาได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นเป็นโต๊ะเล็ก ๆ แจกันดอกไม้ และเชิงเทียน

ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับแผ่นไม้ทั่วไป ไม้หยกมีมูลค่ามากกว่าหลายเท่า และถูกจัดให้เป็น “อัญมณีล้ำค่า” ซึ่งในกรณีนี้ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ไม้หยกของชายคนเก็บฟืนมีอายุประมาณ 200 ล้านปี โดยได้ส่งผลให้มูลค่าทางเศรษฐกิจจึงเรียกได้ว่า “มหาศาล”

อึ้ง หนุ่มเก็บฟืนเก็บท่อนไม้ผุ ๆ กลับบ้าน แท้จริงเป็น 'หยก' มูลค่ามหาศาล
ภาพจาก : cafef.vn

ข้อมูลจาก vtc.vn

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Danita S.

นักเขียนบทความไลฟ์สไตล์ บันเทิง ประจำ Thaiger ติดตามทุกกระแส K-Pop และเท่าทันทุกเรื่องราวความบันเทิง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 3 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ช่องทางติดต่อ bell@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button