ตุ่มขึ้นที่หัวอวัยวะเพศชาย เหมือนสิว อันตรายไหม แบบไหนต้องไปหาหมอ
หนึ่งในเรื่องกลุ่มใจของชายหลายคนเมื่อเข้าวัยหนุ่ม สังเกตน้องชายสุดรักตัวเอง สังเกตเห็น “ตุ่ม” ที่หัวอวัยวะเพศตรงคอหยัก ลักษณะเป็นเม็ดขาวๆ เล็ก ๆ คล้ายสิว แต่จะแล้วไม่เจ็บ สงสัยว่าเป็นอันตรายไหม บางคนไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ กังวลว่าไปติดโรคมาจากไหน
ตุ่มอวัยวะเพศชาย ชนิดที่ไม่อันตราย
แท้จริงแล้ว ตุ่มแบบนั้นที่เกิดขึ้นเป็นอาการปกติ เรียกว่า ตุ่มไข่ปลาน้องชาย (Pearly penile papules) เป็นตุ่มเล็กๆ สีขาวหรือสีชมพูอ่อน เรียงเป็นแถวที่บริเวณรอบๆ หัวอวัยวะเพศ มีลักษณะคล้ายไข่ปลา เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดขนาดเล็ก ไม่มีอาการคันหรือเจ็บ ไม่เป็นอันตราย และมักหายได้เองภายใน 1-2 ปี
หรืออีกสาเหตุที่พบบ่อยว่าคือเกิดจาก ต่อมไขมัน (Fordyce spot) เป็นต่อมไขมันขนาดเล็กที่พบได้ทั่วไปบริเวณผิวหนังทั่วร่างกาย รวมถึงบริเวณอวัยวะเพศชาย มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มักไม่มีอาการคันหรือเจ็บ ไม่เป็นอันตราย และไม่ต้องการการรักษาใดๆ เพียงแค่รักษาความสะอาดน้องชายให้สม่ำเสมอ
ตุ่มอวัยวะเพศชายที่เป็นอันตราย
อย่างไรก็ดี หากสังเกตว่าตุ่มที่จู่ๆ เกิดขึ้นแล้วมีอาการคัน เจ็บแสบ เป็นแผล หรือมีสารคัดหลังไหล ประกอบกับมีประวัติเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ สามารถทำให้เกิดโรคที่ต้องรักษาได้หลายอย่าง เช่น
-
หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดตุ่มเล็กๆ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มักมีอาการคันเล็กน้อย การรักษาด้วยยาทาหรือการผ่าตัดสามารถช่วยกำจัดหูดได้
-
เริมที่อวัยวะเพศ (Genital herpes) เป็นตุ่มน้ำใสขนาดเล็กที่แตกออกและกลายเป็นแผล มักมีอาการคัน เจ็บ แสบ หรือปวดร่วมด้วย การรักษาด้วยยาต้านไวรัสสามารถช่วยควบคุมอาการและป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายได้ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด หากภูมิคุ้มกันต่ำ อาการก็จะกลับมาอีก
- หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum) พบตุ่มเล็กๆ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน บนผิวหนัง มีลักษณะกลมหรือรี ขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ตุ่มอาจมีจุดสีขาวเล็ก ๆ อยู่ตรงกลาง ตุ่มมักไม่มีอาการคันหรือเจ็บ แต่อาจมีอาการคันเล็กน้อยในบางราย สามารถหายได้เองภายใน 6-12 เดือน แต่อาจใช้เวลานานกว่านั้นในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ การรักษาหูดข้าวสุกสามารถทำได้ด้วยวิธีทายาหรือจี้ไฟฟ้า
มีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศชายแบบไหนต้องรีบไปหาหมอ
หากตุ่มมีลักษณะหรืออาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม
-
- ตุ่มมีลักษณะไม่สม่ำเสมอ ขอบเขตไม่ชัดเจน
- ตุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือจำนวนเพิ่มขึ้น
- ตุ่มมีอาการคัน เจ็บ แสบ หรือปวด
- มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยไม่สวมถุงยางอนามัย