Line Newsไลฟ์สไตล์

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ คือใคร ต้องเรียนจบคณะไหน แตกต่างจากนักวิทยาศาสตร์อย่างไร

หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นเคยกับอาชีพนักวิทยาศาสตร์ ที่มีหน้าที่คอยทำการทดลองสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้แก่มวลมนุษยชาติอยู่เสมอ แต่จะมีสักกี่คนที่จะเคยได้ยินอาชีพนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ อาชีพที่ทำให้ยาขมอย่างเรื่องวิทย์ กลายเป็นเรื่องสนุกสนานที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าใจได้

จากกรณี ดราม่านักสื่อสารวิทยาศาสตร์ วันนี้ Thaiger จึงขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับอาชีพที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ร่วมกัน รวมถึงความแตกต่างระหว่างสองอาชีพนี้

Advertisements

นิยามอาชีพนักสื่อสารวิทยาศาสตร์

อาชีพนักสื่อสารวิทยาศาสตร์คืออะไร

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ (Science Communicator) คือ ผู้ที่รวบรวมเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ รวมถึงความรู้ที่นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัยได้ศึกษาค้นพบ เพื่อนำมาถ่ายทอดโดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ทำให้ผู้ฟังได้รับรู้และสนุกไปกับเรื่องราววิทยาศาสตร์ โดยเป้าหมายสูงสุดของผู้ที่เป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ นั่นก็คือการทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน

อาชีพนี้จะแตกต่างจากนักวิทยาศาสตร์อย่างสิ้นเชิง เพรานักสื่อสารวิทยาศาสตร์จะเน้นไปทางด้านการสื่อสารความรู้วิทยาศาสตร์แบบย่อยง่ายเป็นหลัก ด้านนักวิทยาศาสตร์จะเน้นไปที่การรวบรวมข้อมูล ศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวบกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในสาขาตามความถนัดหรือสาขาที่ศึกษามานั่นเอง

เรียนจบสาขาไหน จึงจะเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ได้

สำหรับใครที่มีความฝันว่าอยากเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ต้องลงเรียนในคณะวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ ในสาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตร์ทั่วไป, ฟิสิกส์, เคมี และชีววิทยา) รวมถึงคณะนิเทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์ โดยเฉพาะการเรียนคณะครู เพราะจะช่วยฝึกฝนในด้านการถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แบบเข้าใจง่ายให้แก่นักเรียน ซึ่งเป็นบันไดก้าวแรกในการถ่ายทอดเกร็ดวิทย์ย่อยง่ายให้แก่บุคคลทั่วไปในอนาคต

อีกทั้งการสื่อสารความรู้วิทยาศาสตร์ นอกจากการพูดแล้ว ยังสามารถทำได้หลากหลายช่องทาง เช่น การเขียนหนังสือ การเขียนบทความ การทำ Podcast การทำ Social Media รวมทั้งการทำสื่อประกอบการเล่า เพื่อเพิ่มจินตนาการของผู้รับสารและการกระจายความสนุกของเรื่องราววิทยาศาสตร์แบบอ่านสนุก ฟังสบายได้อีกด้วย

Advertisements

ความแตกต่างระหว่างนักสื่อสารวิทยาศาสตร์กับนักวิทยาศาสตร์

ความแตกต่างระหว่างนักสื่อสารวิทยาศาสตร์กับนักวิทยาศาสตร์

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างกันในด้านหน้าที่และความเชี่ยวชาญ โดยนักวิทยาศาสตร์มีหน้าที่ในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ในขณะที่นักสื่อสารวิทยาศาสตร์มีหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจ ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างนักวิทยาศาสตร์และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์มีดังนี้

หน้าที่และความรับผิดชอบ

นักวิทยาศาสตร์มีหน้าที่ในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยต้องมีความรู้และทักษะเฉพาะทางในสาขาวิชานั้น ๆ เป็นอย่างดี ในขณะที่นักสื่อสารวิทยาศาสตร์มีหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจ โดยต้องมีความรู้และความเข้าใจในวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี รวมถึงมีทักษะการสื่อสารที่ดี

ทักษะและความรู้ที่จำเป็น

นักวิทยาศาสตร์ต้องมีทักษะและความรู้เฉพาะทางในสาขาวิชานั้น ๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการทดลอง ทักษะการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ในขณะที่นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดี เช่น ทักษะการเขียน ทักษะการพูด ทักษะการใช้สื่อต่าง ๆ เป็นต้น

ช่องทางการเผยแพร่ผลงาน

นักวิทยาศาสตร์มักเผยแพร่ผลงานของตนผ่านวารสารวิชาการหรือการประชุมวิชาการ ในขณะที่นักสื่อสารวิทยาศาสตร์มักเผยแพร่ผลงานของตนผ่านสื่อต่างๆ เช่น หนังสือ บทความ เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น

ตัวอย่างของนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้วย เช่น สตีเฟน ฮอคกิง ผู้ค้นพบภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป เขายังเขียนหนังสือวิทยาศาสตร์ให้คนทั่วไปอ่านได้เข้าใจง่ายอีกด้วย

นักสื่อสารวิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อสังคม เนื่องจากช่วยเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้บุคคลทั่วไปเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศชาติอีกด้วย

สรุปนักสื่อสารวิทยาศาสตร์

อ้างอิงบางส่วนจาก Mahidol University

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Best Writer

นักเขียนบทความประจำ Thaiger จบการศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มีความเชียวชาญด้านวงการเพลงไทย ภาพยนตร์ อนิเมะ ชื่นชมติดตามข่าวสารสังคม กีฬา เทคโนโลยี แตกประเด็น สรุปเรื่องราวมาร้อยเรียงผ่านข้อความสู่สายตาผู้อ่าน ช่องทางติดต่อ best.t@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button