โอลิมปิก ปารีส 2024

  • ข่าวกีฬาประวัติ คาร์ลอส ยูโล นักยิมนาสติก ผู้คว้าเหรียญทองอันที่ 2 โอลิมปิก 2024

    ประวัติ “คาร์ลอส ยูโล” นักยิมนาสติก แชมป์เหรียญทองอันที่ 2 โอลิมปิก 2024

    เปิดเส้นทางชีวิต คาร์ลอส ยูโล นักกีฬายิมนาสติกชาวฟิลิปปินส์หลังคว้าเหรียญทอง โอลิมปิก ปารีส 2024 กับอีกด้านของชีวิตที่ไม่ธรรมดา เรียกว่านาทีทองจริง ๆ สำหรับ คาร์ลอส ยูโล (Carlos Yulo) นักยิมนาสติกชาวฟิลิปปินส์ผู้คว้าเหรียญทองอันที่ 2 ให้กับประเทศบ้านเกิด (3 ส.ค. 67) ที่หลังคว้าชัยได้เปิดเผยว่าก่อนหน้านี้ (คืนก่อนแข่งขัน) นอนไม่หลับ ทำให้รู้สึกนอนไม่หลับ ไม่รู้ว่าต้องอย่างไร เพียงหวังว่าจะผลงานให้ดี ไม่ได้คาดหวังเหรียญ แต่หากได้ก็เป็นเหมือนโบนัส ทำให้ชื่อของยูโลกลายเป็นที่พูดถึงอย่างมากในโลกโซเชียล ณ ตอนนี้ ชีวิตส่วนตัวของ ‘ยูโล’ ผู้ไม่ท้อถอย คาร์ลอส ยูโล หรือ Carlos Edriel Poquiz Yulo มีชื่อเล่นว่า คาลอย (Caloy) ส่วนสูงราว 1.5 เมตร เกิดวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2543 (ปัจจุบันอายุ 24 ปี) ที่เขตมาลาเต เมืองมะนิลา (Malate district of Manila) ประเทศฟิลิปปินส์ พร้อมครอบครัวประกอบไปด้วย พ่อแม่ – มาร์ค แอนดรูว์ ยูโล และแอนเจลิกา ยูโล (Mark Andrew Yulo, Angelica Yulo) พร้อมพี่น้องอีกสามคน – จอเรียล ยูโล, คาร์ล จาห์เรล เอลดรูว์ และเอไลซา แอนเดรียล (Joriel Yulo, Karl Jahrel Eldrew, and Elaiza Andriel) นอกจากนี้ น้องชายของเขา คาร์ล ยูโล และเอไลซา ยูโล ก็ยังเป็นนักกีฬายิมนาสติกอีกเช่นกัน ยูโลสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ออโรร่า เอ. เกซอน (Aurora A. Quezon) หลังจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัย อดัมสัน (Adamson) ในเขต เออร์มิตา (Ermita) ที่ในต่อมายูโลได้ย้ายไปญี่ปุ่นในโครงการทุนการศึกษา (ที่ได้รับจากสมาคมโอลิมปิกญี่ปุ่น) จากนั้นในปี 2559 ยูโลได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเทเคียว และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาสาขาวรรณกรรม นอกจากนี้ เขายังเคยฝึกฝนที่สมาคมยิมนาสติกแห่งฟิลิปปินส์ในกรุงมะนิลาในช่วงแรก ๆ เส้นทางชีวิตในฐานะนักกีฬายิมนาสติกอาชีพ ยูโลเริ่มต้นการแข่งขันในฐานะในฐานะของนักกีฬายิมนาสติกครั้งในแรกเมื่อปี 2551 ที่ต้อมาได้เข้าร่วมการแข่งขัน Palarong Pambansa ครั้งแรกในปี 2552 ที่เมืองตักโลบัน จังหวัดเลย์เต เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งของทีมประถมศึกษาจากเขตเมืองหลวงแห่งชาติที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง โดยทำคะแนนได้ 79.35 และได้อันดับที่ห้าในประเภทบุคคลรวมอุปกรณ์ด้วยคะแนน 26.15 ในวันต่อมา เขาได้รับเหรียญเงินในการแข่งขันฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ด้วยคะแนน 13.325 โดย Marc Capistrano จาก Calabarzon ได้ที่หนึ่ง ยูโลกล่าวว่าการได้ที่สองและที่ห้าทำให้เขามีกำลังใจฝึกซ้อมอย่างหนักขึ้นสำหรับ Palarong Pambansa ครั้งต่อไป ในปี 2554 ยูโลเข้าแข่งขันใน Palarong Pambansa ที่เมืองตาร์ลัก จังหวัดตาร์ลัก และเข้าร่วมทุกประเภทการแข่งขัน และได้รับเหรียญทองในการแข่งขันบุคคลรวมอุปกรณ์และฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ และเหรียญทองแดงในการแข่งขันม้ากระโดด เขายังเป็นส่วนหนึ่งของทีมชายซึ่งได้อันดับที่ห้า ในปีถัดมา (2554) เขาเข้าแข่งขันในการแข่งขันเดียวกันที่เมืองดาปีตัน จังหวัดซัมบวงกาเดลนอร์เต เขาได้รับเหรียญทองในการแข่งขันประเภททีม บุคคลรวมอุปกรณ์ ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ และม้ากระโดด และในปีเดียวกันนั้น เขาเข้าร่วมการแข่งขัน Philippine National Games ครั้งแรกในปี 2011 ที่จัดขึ้นในเมืองบาโคลอด จังหวัดเนโกรสออกซิเดนตัล ซึ่งเขาได้รับเหรียญทองสามเหรียญในการแข่งขันฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ ห่วง และบาร์คู่ ในปี 2555 เขาเข้าแข่งขันใน Palarong Pambansa ที่เมืองลิงกาเยน จังหวัดปังกาซีนัน และเข้าร่วมทุกประเภทการแข่งขัน เขาได้รับเหรียญทองในการแข่งขันบุคคลรวมอุปกรณ์ ฟลอร์เอ็กเซอร์ไซส์ และม้ากระโดด รวมถึงการแข่งขันประเภททีมพร้อมกับเพื่อนร่วมทีม ในปีเดียวกันนั้น เขาได้เดินทางไปประเทศจีนพร้อมกับนักยิมนาสติก Jan Gwynn Timbang เพื่อฝึกซ้อมหลังจากได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ…

  • บันเทิงทัวร์ลง 'นก ยลดา' หลังแสดงความเห็น ปมนักมวยหญิงไม่ผ่านตรวจเพศ แข่งโอลิมปิก

    ทัวร์ลง ‘นก ยลดา’ หลังแสดงความเห็น ปมนักมวยหญิงไม่ผ่านตรวจเพศ แข่งโอลิมปิก

    ชาวเน็ตเห็นต่าง ‘นก ยลดา’ หลังโพสต์แสดงความเห็น กรณีนักมวยหญิงแอลจีเรีย “ไม่ผ่านตรวจเพศ” แต่ได้ลงแข่งโอลิมปิก และสุดท้ายก็เอาชนะคู่ต่อสู้ได้ใน 46 วินาที ยังคงตกเป็นประเด็นร้อนแรง สำหรับกรณีที่ อิมาน เคลีฟ (Imane Khelif) นักมวยหญิงชาวแอลจีเรีย ผู้เคยถูกสมาคมมวยสากลนานาชาติ หรือ IBA ตัดสิทธิ์จากการแข่งขัน เหตุเพราะ “ไม่ผ่านการตรวจเพศในอดีต” แต่กลับได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ IOC ให้สามารถลงแข่งขันในโอลิมปิก 2024 ที่กรุงปารีส ทั้งยังมีประเด็นที่เจ้าตัวไล่ใส่หมัด แองเจลา คารินี นักชกสาวชาวอิตาเลียน จนอีกฝ่ายขอยอมแพ้ภายในเวลาเพียง 46 วินาที หลังจากที่เรื่องราวของ ‘อิมาน เคลีฟ’ ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้คนทั่วโลก ล่าสุด (1 สิงหาคม 2567) นก ยลดา สวนยศ สาวประเภทสอง เจ้าของตำแหน่ง Miss Fabulous Thailand Season 3 ก็ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นร้อนนี้ ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Nok Yollada เผยว่า นักมวยหญิงชาวแอลจีเรียไม่เคยมีรายงานว่าผ่าตัดแปลงเพศหรือเป็นอินเตอร์เซ็กซ์ (คนที่ไม่สามารถระบุเพศได้อย่างชัดเจน) เพียงแต่มีฮอร์โมนเพศชายสูง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นในได้ผู้หญิง ก่อนจะทิ้งท้ายเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ “เรื่องนักมวยหญิงจากแอลจีเรียและจีน ไม่มีรายงานว่าเคยผ่าแปลงเพศหรือเป็นอินเตอร์เซก แต่ตรวจโครโมโซมเป็น XY และมีฮอร์โมนชายสูง.. ฟังนะ โครโมโซมไม่ได้มีแค่ XX กับ XY และฮอร์โมนชายสูงก็มีในหญิงได้ ไม่ต้องใช้เป็นข้ออ้างอีก #ความหลากหลายทางเพศ” แม้จะเป็นการออกมาแสดงความคิดเห็นในมุมของตน แต่สำหรับหลาย ๆ คนกลับไม่คิดเช่นนั้น ชาวเน็ตจำนวนมากต่างเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์ความเห็นของสาวนก โดยส่วนใหญ่มองต่างว่า กรณีของนักมวยรายนี้ไม่ใช่ประเด็นความหลากหลายทางเพศ แต่เป็นเรื่องของความไม่เป็นธรรมในการแข่งกีฬา อาทิในข้อความที่ว่า “ไม่คิดจะพูดในแง่ความเป็นธรรมในการแข่งขันกีฬาบ้างเลยหรอ” “เรียกร้องความเท่าเทียม แต่ดันลืม !!!! เรียกร้องความเป็นมนุษย์” “เรียกร้องความเท่าเทียมบนความไม่เท่าเทียม ตลก” “ผมรักและเคารพ LGBTQ+ เสมอนะครับ เพราะผมมีเพื่อนพี่น้องแบบนี้มานานเกิน 20 ปี แล้วชอบพวกเขาเสมอเพราะเขาน่ารัก ถ้าเจาะจง คือ ตุ๊ด เกย์ ที่ผมชอบมากๆเลย เขาน่ารักมาก ๆ แล้วเก่งมาก ๆ แต่บางเรื่องควรแยกแยะนะครับ ความเท่าเทียมคือความเท่าเทียม แต่บางครั้งความเท่าเทียมทำรัายผู้อื่น มันเท่าเทียมตรงไหน ทุกคนรู้ว่าถ้าผู้ชายแท้ทำร้ายผู้หญิงหรือทำร้ายเพศทางเลือกที่ต้นกำเนิดเป็นผู้หญิงแปลว่าไม่เท่าเทียม แต่ผู้หญิงทำร้ายผู้ชายได้เสมอ มันดูงง ๆ นะครับ ผู้ชายแทบจะไม่มาร้องขอเลย ในสิ่งที่ตัวเองโดนทำร้ายในเพศตรงข้าม แต่เพศตรงข้ามฟ้องเสมอ นั่นแหละคือความไม่เท่าเทียม แต่พอ LGBTQ+ เพศทางเลือก คุณมองว่าเท่าเทียม มันดูแปลก ๆ นะครับ ผมจะพูดอีกครั้ง ผมชอบและรักเพศทางเลือกหรือ LGBTQ+ เสมอ แต่บางเรื่องมันเกินไปครับ (ถ้าชายแท้หรือเพศทางเลือกที่เป็นชายแท้ไปทำร้าย เพศทางเลือกที่ต้นกำเนิดเป็นเพศหญิงจะมองไปอีกแบบไหม) #การเรียกร้องไม่ผิดนะครับ #แต่ลองมองถ้าตัวเองเป็นผู้ถูกกระทำบาง” “คุณควรมีความรู้ทึ่ถูกต้องก่อนนะ โครโมโซม XY กำหนดเพศชาย และพัฒนาการของร่างกาย ผ่านการสร้างฮอร์โมนซึ่งก็คือโปรตีน ที่ต่างจาก โครโมโซม XX ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิแล้ว ร่างกายและสรีระของผู้ชายต่างจากผู้หญิงอย่างมากโดยเฉพาะความแข็งแรงของร่างกายส่วนบน ความหนาแน่นของกล้ามเนื้อ และมวลกระดูก ซึ่งก็คือความแข็งแกร่ง หรือ strength นักกีฬาผู้หญิงที่แข็งแรงที่สุดอาจจะเอาชนะผู้ชายที่อ่อนแอที่สุดแค่ประมาณ 10% แต่ผู้ชาย 90%ที่แข็งแรงที่สุดเอาชนะผู้หญิงทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความแข็งแรง ความเร็ว ความว่องไว ความทรหดอดทน” อย่างไรก็ดี ขณะนี้ชาวเน็ตยังคงเข้ามาคอมเมนต์ตำหนิความคิดเห็นของสาวนกกันอย่างต่อเนื่อง รวมแล้วกว่า 1,200 ข้อความ ทั้งยังถูกแชร์ไปแล้วกว่า 990 ครั้ง อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง ไอโอซี ปกป้องนักมวยหญิง “ไม่ผ่านตรวจเพศ” ยันตรวจฮอร์โมนไม่ชี้ขาด แฉประวัติ อิมาน เคลีฟ นักมวยตัวตึง ตรวจเพศไม่ผ่าน แต่โอลิมปิกให้แข่งต่อ จนคู่แข่งต้องยอมแพ้ 46 วินาทีอัปยศ ไอบีเอ แถลงประณาม ไอโอซี หลังให้นักมวยหญิง ‘ไม่ผ่านตรวจเพศ’ ขึ้นชก โอลิมปิก 2024

Back to top button