Line Newsไลฟ์สไตล์

ประวัติ “ขุนหลวงท้ายสระ” พระเจ้าอยู่หัวอยุธยา สู่ละครจากพรหมลิขิต

เปิดประวัติ “ขุนหลวงท้ายสระ” พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 30 แห่งกรุงศรีอยุธยา ตัวละครสำคัญจากละครพีเรียดภาคต่อ เรื่องพรหมลิขิต

การกลับมาสุดยิ่งใหญ่ของละครพีเรียดภาคต่อเรื่องบุพเพสันนิสวาส ละคร “พรหมลิขิต” ได้กลับมาทวงบังลังก์ละครย้อนยุคสมัยอาณาจักรอยุธยาที่ฮอตฮิตไปทั่วบ้านทั่วเมืองอีกครั้ง การหวนคืนจอแก้วในรอบนี้มากล้นไปด้วยเรื่องราวและตัวละครสำคัญมากมาย ที่ล้วนแต่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ชาติไทย

ในพรหมลิขิต EP.5 นี้ ชวนผู้อ่านทุกคนทำความรู้จักกับ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา ตัวละครที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ ซึ่งได้เกรท วรินทร ปัญหกาญจน์ พระเอกหนุ่มมากฝีมือมารับบทบาท ขุนหลวงท้ายสระ หรือ เจ้าฟ้าเพชรในครั้งนี้

ประวัติ สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ
ภาพจาก : เทศบาลตำบลป่าโมก

ประวัติ “สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ” พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง

สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ มีพระนามทางการคือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 30 แห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ในระหว่างปีพ.ศ. 2251-2275 พระองค์เป็นราชาองค์ที่สามแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา

ในละครพรมลิขิตรับบทโดย เกรท วรินทร ปัญหกาญจน์

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าเพชร เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือที่หลาย ๆ คนรู้จักกันในนาม พระเจ้าเสือ กับพระอัครมเหสีพระนามว่า สมเด็จพระพันวษา ซึ่งทั้งสองพระองค์มีพระอนุชาและพระกนิษฐาร่วมพระมารดา 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2) ที่รับบทโดย (เด่นคุณ งามเนตร) และเจ้าฟ้าหญิงไม่ทราบพระนาม

พระองค์ประสูติตั้งแต่พระราชบิดาเป็นขุนนางในตำแหน่งออกหลวงสรศักดิ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งหลังจากพระอัยกา (พระเพทราชา) ทรงครองราชย์ และได้แต่งตั้งพระเจ้าเสือเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เช่นนี้จึงทำให้สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระได้แปรเปลี่ยนยศศักดิ์เป็นเชื้อพระวงศ์ และออกพระนามว่า สุรินทกุมาร ทั้งนี้ พระนามสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ มาจากนามพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งพระองค์ใช้เป็นที่ประทับ อันอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระราชวัง

ประวัติ "สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ"
ภาพจาก : ch3plus

เมื่อพระราชบิดาสวรรคตในปีพ.ศ. 2251 พระองค์จึงขึ้นครองราชย์ เฉลิมพระนามว่าพระเจ้าภูมินทราชา แต่จารึกชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์ออกพระนามว่า พระบาทพระศรีสรรเพชญสมเด็จเอกาทศรุทอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว แต่ประชาชนมักออกพระนามว่า พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ต่อมาทรงสถาปนาพระบัณฑูรน้อย เจ้าฟ้าพร (พระราชอนุชา) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ ทรงมีพระราชโอรส 3 พระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้านเรนทร (กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์), เจ้าฟ้าอภัย และเจ้าฟ้าชายปรเมศร์

ผลงานของพระองค์นับเป็นคุณูปการอันใหญ่หลวงด้านการต่างประเทศ ตั้งแต่การส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศจีน ซึ่งช่วยสนับสนุนการค้าขายระหว่างสยามกับจีนให้เพิ่มพูนขึ้นอย่างมากในยุคสมัยนั้น ในระหว่างรัชกาลการปกครองของขุนหลวงท้ายสระ ทางประเทศจีนเกิดทุพภิกขภัยภาวะข้าวยากหมากแพงที่กวางตุ้งและฝูเจี้ยนส่งผลให้ต้องสั่งซื้อข้าวจากไทย อันเป็นผลให้การค้าขายเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นจน รวมถึงทำให้ประเทศไทยและประเทศจีนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

ในรัชสมัยนั้น นับว่าเป็นหนึ่งในช่วงเวลาบ้านเรือนสงบร่มเย็น ประชาชนแจ่มใสชื่นบาน ถึงแม้จะมีศึกภายนอกเกิดขึ้นแต่ภายในกลับปราศจากการรบราฆ่าฟัน แต่เมื่อสิ้นสุดสมัยการปกครองของพระเจ้าท้ายสระ เจ้าฟ้าอภัย ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าท้ายสระอ้างสิทธิในราชสมบัติ จึงนำไปสู่การสู้รบกันระหว่างเจ้าฟ้าปรเมศร์กับเจ้าฟ้าพร เกิดการต่อสู้ระหว่างอา (วังหน้า) และหลาน (วังหลวง) ท้ายที่สุดผู้ได้รับชัยชนะในครั้งนี้คือ ผู้เป็นอา (วังหน้า) และได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ซึ่งมีพระนามว่าพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จากนั้นได้ทำการกวาดล้างฝ่ายเจ้าฟ้าอภัย

บทสรุปของการกวาดล้างในครั้งนี้ได้กลายเป็นสาเหตุให้อาณาจักรอยุธยาขาดกำลังคนและอ่อนแอลง สงครามกลางเมืองดำเนินเรื่อยมาจนนำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

ทำความรู้จัก พระที่นั่งท้ายสระ
ภาพจาก : ch3plus
ประวัติ ท้ายสระ
ภาพจาก : ch3plus
เกรท วรินทร พรหมลิขิต
ภาพจาก : ch3plus
ภาพจาก : ch3plus
กษัตริย์ ขุนหลวง
ภาพจาก : ch3thailand

Danita S.

นักเขียนบทความไลฟ์สไตล์ บันเทิง ประจำ Thaiger ติดตามทุกกระแส K-Pop และเท่าทันทุกเรื่องราวความบันเทิง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 3 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ช่องทางติดต่อ bell@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button