ข่าว

กรมอุตุ เตือน “พายุซันปา” รุนแรงขึ้น ฝั่งอีสานมีเมฆครึ้ม ระวังฝนตกหนักทั่วไทยอีกรอบ

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทางพายุโซนร้อน “ซันปา” บริเวณจีนตอนใต้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น พายุนี้ไม่ส่งผลต่อประเทศไทยโดยตรง แต่อาจมีเมฆเพิ่มขึ้น ฝนตกหนักในภาคอีสาน

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเส้นทางพายุ “ซันปา (SANBA)” จากพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน (ทางตอนใต้ของเกาะไหหลำ) เพิ่มกำลังแรงขึ้นกลายเป็นพายุโซนร้อนเรียบร้อยแล้ว คาดการณ์ว่าจะเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ย ไม่ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยจึงไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง

ทั้งนี้ บริเวณโดยรอบขอบพายุ ได้แก่ ฝั่งตะวันออกของภาคอีสานอาจมีเมฆเพิ่มขึ้นบ้าง เตือนผู้ที่จะเดินทางไปประเทศจีนตอนใต้หรือเวียดนามตอนบนทางเหนือควรตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง 1-2 วัน

พายุซันปาบริเวณรอบประเทศไทย
ภาพจาก : Weatherradio

อย่างไรก็ตามกรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 ล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ 19-28 ตุลาคม 2566 ระบุว่า

19 ต.ค.66 มวลอากาศเย็นยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ตอนเช้าจะเริ่มมีอากาศเย็น ฝนตกน้อยลง ส่วนบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก กทม.และปริมณฑลยังคงมีฝนตกเกิดขึ้น ขณะที่ภาคใต้และในทะเลอ่าวไทยยังมีฝนเช่นเดียวกัน เกิดจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน

สำหรับพายุดีเปรสชันที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนซันปา ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย ทำให้มีฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง เตือนประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม รวมถึงเตรียมตัวรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากที่อาจเกิดขึ้น

20 – 28 ต.ค.66 มวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมภาคอีสานมีกำลังอ่อนลง ทำให้มีลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในระดับกลางของชั้นบรรยากาศ พัดแทรกปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออกมีความชื้นสูงอาจเกิดฝนได้ ปริมาณฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง สภาพอากาศยังคงเปลี่ยนแปลงในระยะนี้เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดู ทิศทางลมเปลี่ยนแปลง อาจจะมีลมแรงบางวัน บางวันมีนมาพร้อมอากาศเย็น เตือนเรื่องสุขภาพ ไข้หวัดขณะอากาศเปลี่ยนแปลง

ส่วนภาคใต้ยังมีฝนตกต่อเนื่องและฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมทะเลอันดามันและอ่าวไทยสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวบ้านและชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการออกเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

Peangaor

นักเขียนประจำ Thaiger จบการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มศว เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาชี้แจงแตกประเด็นในรูปแบบย่อยง่ายเหมือนเพื่อนเล่าให้ฟัง รวมถึงเรื่อง Pop culture ซีรีส์ อาหาร และเทรนด์แฟชั่นที่กำลังอินเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ preme@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button