ข่าว

แจงแล้ว ยุบตำรวจรถไฟ เวลาเกิดเหตุ ใครดูแล

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ประกาศให้เขตอำนาจของ บช.น.-สน. รับผิดชอบเหตุที่เกิดขึ้นบนขบวนรถไฟ หลังมีมติยุบหน่วยงาน ตำรวจรถไฟ มีผลตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2566

เนื่องจาก “ตำรวจรถไฟ” ได้ประกาศยุติการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ซึ่งจะส่งผลตั้งแต่วันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2566 จึงได้แจ้ง ขอบเขตความรับผิดชอบ และการดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ความรับผิดชอบของตำรวจรถไฟเดิม ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะอยู่ในความรับผิดชอบของ “กองบัญชาการตำรวจนครบาล” ในพื้นที่ของ สน. ต่าง ๆ

Advertisements

ทั้งนี้ ตามประกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครองของส่วนราชการ (ฉบับที่ 33) พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2566

อีกทั้ง ขอบเขตความรับผิดชอบ และการดูแลรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ความรับผิดชอบของตำรวจรถไฟเดิมในเขตภูมิภาค จะอยู่ในความรับผิดชอบของ “กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9” ในพื้นที่ของ สภ. ต่าง ๆ เช่นกัน

หากเกิดเหตุการณ์กระทำความผิดอาญาบนขบวนรถไฟ เรื่องทั้งหมดจะอยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ของ สน./สภ. ในพื้นที่ต่าง ๆ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.2477 มาตรา 19 แล้วแต่กรณี

สรุปว่านับจากนี้ หากเกิดเหตุกระทำความผิดอาญาบนขบวนรถไฟในประเทศไทย ความรับผิดชอบของตำรวจรถไฟเดิม ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะเป็นของ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ในพื้นที่ของ สน. ต่าง ๆ

Advertisements

ส่วนพื้นที่ความรับผิดชอบของตำรวจรถไฟเดิมในเขตภูมิภาค จะอยู่ในความรับผิดชอบของ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1-9 ในพื้นที่ของ สภ. ต่าง ๆ และกรณีเกิดการกระทำความผิดทางอาญาบนขบวนรถไฟ ความรับผิดชอบจะตกเป็นของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ของ สน./สภ. ในพื้นที่ต่าง ๆ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 มาตรา 19 แล้วแต่กรณี

ยุบตำรวจรถไฟ ใครดูแล

อ้างอิง : 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button