ข่าวข่าวการเมือง

กรมราชทัณฑ์ โต้ข่าว ‘ทักษิณ’ ยื่นขอพักโทษ เหตุจำคุกไม่ครบเกณฑ์

โฆษกกรมราชทัณฑ์ โต้ข่าวลือ ทักษิณ ยื่นขอพักโทษ เหตุจำคุกไม่ครบเกณฑ์ เตรียมส่งรายงานสุขภาพ เพื่อพิจารณาว่าจะนอน รพ. ต่อหรือกลับเรือนจำ

จากกรณีมีกระแสข่าวว่านาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ดำเนินการยื่นเอกสารต่อเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ขอเข้าโครงการพักการลงโทษ กรณีมีเหตุพิเศษเนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ หรือมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไปนั้น

ล่าสุดนายสิทธิ สุธีวงศ์ โฆษกกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงประเด็นและข้อเท็จจริงดังกล่าวว่า สำหรับกระแสข่าวดังกล่าว ยืนยันว่า นายทักษิณหรือครอบครัว ยังไม่ได้มีการยื่นขอพักโทษแต่อย่างใด และราชทัณฑ์ยังไม่ได้รับทราบการยื่นเอกสารดังกล่าว ส่วนกระบวนการขอพักโทษนั้น จะเป็นกระบวนการที่เรือนจำจะเป็นผู้พิจารณายื่นเรื่องให้กรมราชทัณฑ์พิจารณา เรือนจำจะสามารถยื่นรายชื่อบุคคลที่จะดำเนินการพักโทษได้ จะต้องพิจารณาจากคุณสมบัติของนักโทษรายนั้นๆ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. แบบปกติ นักโทษรายนั้นๆ จะต้องโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของโทษจำคุกที่ได้รับ และ 2. แบบพิเศษ มีเกณฑ์แยกย่อย 3 ข้อ คือ จะต้องเป็นนักโทษที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป มีภาวะป่วยชราภาพ และต้องโทษไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของโทษจำคุก หรือต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป กรณีของนายทักษิณ สามารถเข้าเกณฑ์ได้ทั้งแบบปกติและแบบพิเศษก็ได้ เพราะนายทักษิณเองถือเป็นผู้ต้องขังอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไปและป่วยร่วมด้วย

โฆษกราชทัณฑ์ เผยอีกว่า สำหรับขั้นตอนแรกในโครงการการพักการลงโทษนั้น จะเป็นทางเรือนจำที่ทำหน้าที่สำรวจรายชื่อผู้ต้องขังที่เข้าเกณฑ์ และพิจารณาจากคุณสมบัติของนักโทษรายนั้นว่า เข้าเกณฑ์แบบปกติหรือแบบพิเศษตามที่เรียนแจ้งข้างต้น ถ้าหากดูคุณสมบัติของนายทักษิณแล้ว ก็อาจจะได้รับการพิจารณาเข้าโครงการพักการลงโทษ กรณีมีเหตุพิเศษเนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ หรือมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป แต่ตามกฎหมายก็ได้มีการระบุชัดเจนว่าจะต้องมีการรับโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือตั้งแต่ 6 เดือน อย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า ปัจจุบันนี้นายทักษิณได้การอภัยลดโทษเหลือจำคุกเพียง 1 ปี ดังนั้น 1 ใน 3 ที่นี้ก็คือ 4 เดือน แต่ตามกฎหมายมีการระบุว่าหรือ 6 เดือน อย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า หมายความว่านายทักษิณจะต้องจำคุกมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน การยื่นมาก่อนก็ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ เพราะยังไม่เข้าเกณฑ์ จึงทำให้กรณีของนายทักษิณ โทษจำคุกจะไปสิ้นสุดอยู่ที่ห้วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 อย่างไรก็ตาม นายทักษิณจะถูกพิจารณาพร้อมกับผู้ต้องขังเด็ดขาดรายอื่นๆ เนื่องจากเรือนจำจะมีการเสนอเรื่องขึ้นมา แล้วจึงจะมีการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการพักการลงโทษของกรมราชทัณฑ์ จะเกิดขึ้นเดือนละ 1 ครั้ง

นายสิทธิ สุธีวงศ์ โฆษกกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงประเด็นและข้อเท็จจริงดังกล่าวว่า สำหรับกระแสข่าวดังกล่าว ยืนยันว่า นายทักษิณหรือครอบครัว ยังไม่ได้มีการยื่นขอพักโทษแต่อย่างใด และราชทัณฑ์ยังไม่ได้รับทราบการยื่นเอกสารดังกล่าว ส่วนกระบวนการขอพักโทษนั้น จะเป็นกระบวนการที่เรือนจำจะเป็นผู้พิจารณายื่นเรื่องให้กรมราชทัณฑ์พิจารณา เรือนจำจะสามารถยื่นรายชื่อบุคคลที่จะดำเนินการพักโทษได้ จะต้องพิจารณาจากคุณสมบัติของนักโทษรายนั้นๆ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. แบบปกติ นักโทษรายนั้นๆ จะต้องโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 2 ใน 3 ของโทษจำคุกที่ได้รับ และ 2. แบบพิเศษ มีเกณฑ์แยกย่อย 3 ข้อ คือ จะต้องเป็นนักโทษที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป มีภาวะป่วยชราภาพ และต้องโทษไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของโทษจำคุก หรือต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป กรณีของนายทักษิณ สามารถเข้าเกณฑ์ได้ทั้งแบบปกติและแบบพิเศษก็ได้ เพราะนายทักษิณเองถือเป็นผู้ต้องขังอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไปและป่วยร่วมด้วย

โฆษกราชทัณฑ์ เผยอีกว่า สำหรับขั้นตอนแรกในโครงการการพักการลงโทษนั้น จะเป็นทางเรือนจำที่ทำหน้าที่สำรวจรายชื่อผู้ต้องขังที่เข้าเกณฑ์ และพิจารณาจากคุณสมบัติของนักโทษรายนั้นว่า เข้าเกณฑ์แบบปกติหรือแบบพิเศษตามที่เรียนแจ้งข้างต้น ถ้าหากดูคุณสมบัติของนายทักษิณแล้ว ก็อาจจะได้รับการพิจารณาเข้าโครงการพักการลงโทษ กรณีมีเหตุพิเศษเนื่องจากเจ็บป่วยร้ายแรง หรือพิการ หรือมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป แต่ตามกฎหมายก็ได้มีการระบุชัดเจนว่าจะต้องมีการรับโทษจำคุกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือตั้งแต่ 6 เดือน อย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า ปัจจุบันนี้นายทักษิณได้การอภัยลดโทษเหลือจำคุกเพียง 1 ปี ดังนั้น 1 ใน 3 ที่นี้ก็คือ 4 เดือน แต่ตามกฎหมายมีการระบุว่าหรือ 6 เดือน อย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า หมายความว่านายทักษิณจะต้องจำคุกมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน การยื่นมาก่อนก็ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ เพราะยังไม่เข้าเกณฑ์ จึงทำให้กรณีของนายทักษิณ โทษจำคุกจะไปสิ้นสุดอยู่ที่ห้วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2567 อย่างไรก็ตาม นายทักษิณจะถูกพิจารณาพร้อมกับผู้ต้องขังเด็ดขาดรายอื่นๆ เนื่องจากเรือนจำจะมีการเสนอเรื่องขึ้นมา แล้วจึงจะมีการประชุมร่วมกันของคณะกรรมการพักการลงโทษของกรมราชทัณฑ์ จะเกิดขึ้นเดือนละ 1 ครั้ง

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button