เปิด 5 ข้อเรียกร้อง “เบี้ยผู้สูงอายุ” กลุ่มเครือข่ายสลัม 4 ภาค จี้กลับไปใช้ระเบียบเดิม
กลุ่มเครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ และ We Fair อ่านแถลงการณ์ เปิด 5 ข้อเรียกร้อง ระเบียบการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 หลัง กระทรวงมหาดไทย ปรับเกณฑ์จ่ายเงินสวัสดิการรอบใหม่
วันที่ 17 สิงหาคม 2566 กลุ่มเครือข่ายสลัม 4 ภาค พร้อมเครื่อข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการและเครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม หรือ “วีแฟร์ (We Fair)” ได้เดินทางมารวมตัวกันชุมนุมที่บริเวณประตู 4 ซึ่งเป็นทางเดินเท้าริมรั้วกระทรวงการคลัง เพื่อคัดค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
โดย น.ส.กรรณิการ์ ปู่จินะ ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค ได้อ่านแถลงการณ์และข้อเรียกร้องถึงรัฐบาล กรณีล่าสุดที่ กระทรวงมหาดไทย เตรียมออกหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2566 โดยเพิ่มคุณสมบัติการเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ และใช้เป็นเงื่อนไขในการรับเบี้ยยังชีพ
ด้วยเหตุนี้ ส่งผลให้ทางกลุ่มผู้ตัวแทนจึงมีข้อเรียกร้องร่วมกันเกี่ยวกับประเด็น เพิ่มคุณสมบัติการเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการยังชีพ ที่มีแผนจะใช้เป็นเงื่อนไขการคัดกรองหลักเกณฑ์ ผู้สูงอายุที่จะได้เบี้ยคนชรารอบใหม่ ดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทย ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2566 แล้วกลับไปใช้ระเบียบเดิม ซึ่งคงสิทธิถ้วนหน้า โดยไม่ต้องพิสูจน์ความยากจน และตัดสิทธิการรับสวัสดิการซ้ำซ้อนไว้แล้ว
2. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ต้องออกมาปกป้องสิทธิของผู้สูงอายุทุกคน ไม่ให้ถูกลิดรอนต่ำลงไปกว่าที่เคยเป็น ด้วยการไม่สนองตอบต่อหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566
3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องมีบทบาทสำคัญในการยกระดับการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพให้เป็นระบบบำนาญถ้วนหน้า ด้วยการออกเป็นกฎหมายรองรับ ไม่ใช่ใช้หลักนโยบายการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามมติคณะรัฐมนตรี
กระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ของตัวเองในการศึกษาตัดงบรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และหาแหล่งรายได้ใหม่ ๆ เข้ารัฐ เพื่อเพิ่มรายได้มาเติมเต็มการจัดสวัสดิการให้กับประชาชนแบบถ้วนหน้า เช่น การศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดเก็บภาษีความมั่งคั่ง ภาษีลาภลอย ภาษีกำไรจากการซื้อขายหุ้น เป็นต้น
5. รัฐบาลใหม่ ต้องผลักดันให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีเรื่องรัฐสวัสดิการเป็นสิทธิแบบถ้วนหน้าบรรจุในกฎหมายให้ชัดเจน
ขณะที่ความเคลื่อนไหวทางบัญชีโซเชียลของ We Fair บัญชีเฟซบุ๊กแฟนเพจซึ่งติดตามและคอยรางนาความเคลื่อนไหวการออกมารวมตัวเรียกร้องตลอดจนการยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลรักษาการณ์ครั้งนี้ ก็ได้ลงเผยแพร่ข้อมูลการออกมาเคลื่อนไหวพร้อมกับติดแฮชแท็ก #เบี้ยผู้สูงอายุ พร้อมกับข้อความที่ระบุว่า “เริ่มแล้ว! มวลชนรวมตัวปกป้องสิทธิสวัสดิการประชาชน คัดค้านการตัดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุระบบถ้วนหน้า หน้ากระทรวงการคลัง เตรียมยื่นหนังสือ 3 กระทรวง”
ต่อมา เฟซบุ๊กแฟนเพจของกลุ่มเครือข่ายดังกล่าวก็ลงโพสต์อัปเดตข่าวความคืบหน้า โดยเป็นการอ้างอิงบทสัมภาษณ์ของ นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ ที่ระบุเจตจำนงผ่านแคปชั่นสั้น ๆ ดังนี้ “ตอนนี้เรากำลังเสนอว่า ให้ปรับเบี้ยยังชีพ600บาทเป็น3,000บาท เพื่อให้มีระบบบำนาญประชาชน โดยใช้เกณฑ์เส้นความยากจน มันก็จะทำให้คนที่ต้องส่งเสียพ่อแม่ รวมถึงคนชนชั้นกลางหรือคนที่ต้องทำงานอย่างพวกเราทุกคน เขาไม่ต้องลำบากตรากตรำทำงาน”
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ใหม่การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 กำลังเป็นประเด็นที่หลายคนถกเถียงกหันถึงความเหมาะสม หลังกรณีที่ กระทรวงมหาดไทย ปรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 โดยให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 12 สิงหาคม 2566
ขณะที่ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ก็ได้ออกมาชี้แจงในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับประเด็น เบี้ยผู้สูงอายุ ที่กำลังเป็นปมร้อนดังกล่าว โดยระบุ ณ เวลานี้เป็นความเข้าใจผิดกับการเผยแพร่ข่าวสารที่กำลังเป็นประเด็น โดยความชัดเจนจนถึงตอนนี้ พล.อ.อรุพงษ์ กล่วว่า ยังคงต้องรอให้ “คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ” ซึ่งมีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ที่เป็นฝ่ายเลขานุการ มาเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ก่อนจะออกมาประกาศใช้จริงอย่างเป็นทางการอีกครั้ง
ดูเลย ตัวเลขงบประมาณรัฐบาล ตั้งแผนรับสังคมสูงวัยในไทย
เมื่อวันที่ 14 ส.ค.2566 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เคยออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับสถานการณ์ของประเทศไทยที่ได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง งบประมาณจากเคยตั้งไว้ 50,000 ล้านต่อปี เพิ่มเป็น 80,000 ล้านต่อปี และแตะ 90,000 ล้านแล้วในปีงบประมาณ 2567
ดังนั้นจากข้อมูลที่รัฐบาลได้เสนอมา หากมีการปรับลดการจ่ายเบี้ยฯ แก่ผู้สูงอายุเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้สูงหรือผู้สูงอายุที่ร่ำรวย เป็นการใช้นโยบายการคลังที่พุ่งเป้าเพื่อช่วยเหลือไปยังกลุ่มคนที่มีความจำเป็นและเดือดร้อนกว่า เป็นการสร้างความยั่งยืนทางการคลังระยะยาว
นอกจากนี้ เนื้อหาดังกล่าวซึ่งเผยแพร่และประชาสัมพนัธ์โดยเว็ฐไซต์รัญบาลไทย ยังฝากถึงสังคมโดยวอนขอฝ่ายการเมืองอย่ามอง “การปรับเกณฑ์เบี้ยผู้สูงอายุ” เป็นการลักไก่ เพราะไม่มีความจำเป็นที่ “รัฐบาล” จะทำเช่นนั้น.
- ส่องกระแสต้าน ระเบียบเบี้ยผู้สูงวัยใหม่
- ประยุทธ์ ตอบปมปรับเกณฑ์เบี้ยผู้สูงอายุ
- อนุพงษ์ ถามตนเป็นข้าราชการเกษียณ บำนาญ 60,000 ควรได้รับเบี้ยผู้สูงอายุไหม.