ข่าว

จบดราม่า “ครูกายแก้ว” มีจริงไหม ? ผู้เชี่ยวชาญยันภาพสลักบนกำแพงนครวัด เป็นรูปท้าวพนาสูร

โหนกระแสวันนี้ พานักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์โบราณคดีเขมร ช่วยยืนยัน ครูกายแก้ว ไม่มีตัวตนจริง ภาพสลักบนกำแพงในนครวัดเป็นรูปท้าวพนาสูร

วันที่ 16 สิงหาคม 2566 รายการโหนกระแสได้เชิญ ฝ่ายที่เชื่อและศรัทธากับ ผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์มหาวิทยาลัยชื่อดัง มาร่วมกันพูดคุยถึงประวัติและที่มาที่ไปของ รูปปั้นครูกายแก้ว ที่กำลังเป็นกระแสถกเถียงกันจนลุกลามขยายเป็นนวงกว้าง โดยเฉพาะเรื่องของ ต้นกดำเนิดนั้นมีอยู่จริงตามประวัติศาสตร์หรือไม่

เริ่มมา อาจารย์แขก รือเสาะ ซุ้มจอมขมังเวทย์ ตนอยู่มาตั้งแต่ยุคคแรก ๆ ของครูกายแก้ว โดยตามความเชื่อของตนตามจริงแล้ว ต้นกำเนิดมาจากพระรูปหนึ่ง คือ “หลวงปู่บุญโฮม นาคธัมโม” วัดดงสวนผึ้ง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นอาจารย์ของ อ.สุชาติ และก็เป็นอาจารย์ของอ.ถวิล

ความเชื่อสมัยนั้นตัวท่านเก่งในเรื่องของวิชาครูธรรมทางด้านอีสาน ในสวิชาครูธรรมก็จะมีบทหนึ่งเรียกว่า “ครูธรรมสุวรรณกาย” กายเป็นสีทอง เรื่องของการบูชาในสายของครูธรรมหรือหลวงปู่บุญโฮม ระบุไว้ชัดเจนการที่จะเรียนหรือเข้ามาศึกษาต้องกินมังสวิรัติตลอดชีพ คือ ไม่ทานเนื้อเลย เพื่อเอากายตัวเองให้ละเอียดที่สุด และก็องค์ครูธรรมซึ่งเรียนกว่า ครูสุวรรณกาย หรือ ปัจจุบันเรียกกันว่า ครูกายแก้ว วิธีบูชา บูชาด้วยของหอม ดอกไม้หอม และก็น้ำเปล่าเท่านั้น แต่อย่างปัจจุบันก็อย่างทีทราบกันดี

อ.แขก ยังยกตัวอย่างด้วยการพาย้อนกลับไป กล่าวถึงการบูชชาครูกายแก้วตามแบบฉบับดั้งเดิมของอาจารย์สุชาติ รัตนสุข ต้องบูชาด้วยผลไม้เหมือนเดิม แต่ตอนนี้ที่มีกระแสเกิดขึ้นมา ตนต้องบอกว่า อย่านำทุกอย่างมารวมกัน เอาความเชื่อความมโนมายัดให้ครูกายแก้ว เช่นล่าสุดที่นำเนื้อสัตว์ดิบมาสักการะ

ภาพสลักบนกำแพง ตกลงใช่ รูปเขียนผนังครูกายแก้วจริงไหม ?

ภาพสลัก โหนกระแสครูกายแก้ว

ต่อมาในรายการ กรรชัย กำเนิดพลอย มีการเปิดภาพสลักรูปหนึ่งซึ่งกำลังถูกอ้างว่าเป็นที่มาและต้นกำเนิดของเรื่องราวครูกายแก้ว ซึ่งประเด็นนี้ อ.แขก กล่าวว่า ตามความเชื่อของตัวเองมองว่า รูปสลักดังกล่าวกับประวัติความเป็นมของครูกายแก้วจริง ๆ นั้นไม่เกี่ยวกัน แต่คาดว่าที่ถูกนำมาโยงกันเพราะตามคำกล่าวได้มีการระบุว่า มีฤทธิ์มากและเคยสาปตระกูลสุริยวรมันจนล่มสลาย ซึ่งเป้นที่มาความเชื่อถึงปัจจุบันที่ว่า คนมี 11 นิ้ว สามารถล้างอาถรรพ์ได้

ทำให้ “หนุ่ม กรรชัย” ต้องกล่าวต่อทันทีว่า แล้วเกิดความเข้าใจไปแบบนี้ได้อย่างไร ซึ่ง “อ้วน พระราม 5” เซียนพระ แขกรับเชิญก็เริ่มชี้แจงว่า ส่วนตัวตนไม่ได้ศึกษาลึกซึ้งขนาดทราบที่มาที่ไปที่แน่ชัด เริ่มจากไปกราบรูปหล่อแล้วเกิดศรัทธา ส่วนเรื่องรูปสลักได้มาจากพี่ ๆ ในกลุ่มที่มีความเชื่อกันแบบนั้น

ขณะที่ อั้น โอกิ อีกหนึ่งผู้คลั่งไคล้วัตถุและความเชื่อโบราณต่าง ๆ ก็กล่าวในส่วนของความเห็นตัวเองว่า เรื่องความเชื่อกับประวัติศาสตร์จะเอามารวมกันไม่ได้ เช่น การบูชาทวยเทพต่าง ๆ ตำนาน 2-3 ตำนานที่ไม่เหมือนกัน น่าจะเป็นตำนานพื้นบ้านที่เล่าสืบต่อกันมา ตนเองเชื่อว่า เรื่องราวอายุเป็นพันปีคงไม่มีใครทราบที่มาที่ไปได้จริง

ศาสตราจารย์

หลังจบประเด็นมุมทองของฝ่ายที่มองเรื่องนี้เป็นเรื่องเล่ ตำนานความเชื่อที่สืบต่อกันมา ด้าน ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกเขมรโบราณ คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร ก็ได้อธิบายถึงที่มาของภาพสลักดังกล่าวที่นำมาเปิดในรายการว่า เป็นภาพสลักซึ่งอยู่ในปราสาทนครวัด และตามประวัติศาสตร์ไม่เกี่ยวข้องกับพระชัยวมันที่ 7 เป็นภาพสลักสมัยหลัง ไม่ได้สลักพร้อมกับตัววัด

โดยปราสาทนครวัดมีอยุประมาณ 900 ปี สร้างไม่เสร็จ นักองค์จันก็ไปสลักต่อ ที่ทราบเพราะ ด้านบนรูปสลักจะมีตัวหนังสือ พระมหาวิษณุโลก สุริยวรมันที่ 2 ทำไม่เสร็จ 2 แผ่น นักองค์จันจึงขึ้นมาทำต่อให้เร็จ ดังนั้น สลักขึ้นมเามื่อ 500 ปี พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประมาณ 800 ปี ฉะนั้นถ้าใช้รูปนี้อ้างอิงจะไม่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แน่นอน

ขณะที่ อ.รุ่งโรจน์ กล่าวเสริมข้อมูลต่อว่า ภาพสลักนี้ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของตัวปราสาท ภาพเล่าเรื่องตอนพระกฤษณะปราบพนาสูร โดยเป็นการแสดงถึงฉากเขาไกรลาศซึ่งบริเวณตีนเขาจะมีพวกของพนาสูรอยู่

นอกจากนี้ อ.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อ.ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ ม.รามคำแหง ยังระบุถึงปีที่ก่อตั้งของปราสาทนครวัดอยู่ที่ราว พ.ศ.1675 (หมายเหตุ : ปราสาทนครวัดก่อสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 17 หรือ พ.ศ. 1650 – 1693) แต่ภาพดังกล่าวมาสลักภายหลังจากนั้นประมาณ 400 ปี ลักษณะของรูปฤาษีแบบนี้จะพบอยู่ตามโคนเสานครวัด ทางเชื่อมระหว่างระเบียงคดชั้นที่ 1 กับชั้นที่ 2 ส่วนด้านหลังของรูปสลักที่ตอนแรกเข้าใจกันว่าเป็นรูปทรงของปีก ตามจริงแล้วก็ไม่ใช่ แต่เป็นชายผ้าที่ตวัดข้างหลังไปเท่านั้น.

รูปสลักครูกายแก้ว นครวัด ไม่จริง

ขอบคุณคลิป : Live โหนกระแส งานเข้าครูกายแก้ว! นักประวัติศาสตร์เดินหน้ายัน ไม่มีตัวตนอยู่จริง (@honekrasaeofficial).

ครูกายแก้ว เซียนพระ

โหนกระแส ครูกายแก้ว

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button