ข้อปฏิบัติตน “หลักธรรมวันเข้าพรรษา” เว้นจากบาป รักษาอุโบสถศีล
พุทธศาสนิกชนเตรียมปฏิบัติตนตาม “หลักธรรมวันเข้าพรรษา” หรือหลัก “วิรัติ” คือการงดเว้นจากบาป และความชั่วต่าง ๆ ตามรอยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เนื่องใน “วันเข้าพรรษา” (ตรงกับ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) เช็กหลักธรรมคำสอน “วิรัติ” กับ “อบายมุข 6” และกิจกรรมที่บรรดาพุทธศาสนิกชนทุกท่านควรปฏิบัติตามตลอดระยะเวลา 3 เดือน ไปจนถึงวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (วันออกพรรษา ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) โดยแก่นแท้ของหลักธรรมคำสอนในวันเข้าพรรษา คือการงดเว้นจากการทำบาปตามที่ระบุไว้ในศีล ซึ่งจะให้ผลบุญและความสงบสุขเท่าทวีคูณสำหรับผู้ที่สามารถปฏิบัติตามได้ครบทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมี กิจกรรมที่ชาวไทยพุทธยึดถือและควรปฏิบัติตามในวันเข้าพรรษา เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมอันดีย์งาม และการเรียนรู้หลักธรรมคำสั่งสอนในการนำไปปฏิบัติตนตามในชีวิตประจำวันให้สงบสุขร่มรื่นย์ยิ่งขึ้นนั่นเอง
หลักธรรมที่ควรปฏิบัติช่วง “วันเข้าพรรษา”
สำหรับ หลักธรรมที่ควรปฏิบัติช่วงเข้าพรรษามีชื่อว่า วิรัติ 3 และ อบายมุข 6 ถือให้วันนี้เป็นโอกาสในการงดดื่มสุรา หรือเที่ยวสังสรรค์ในอบายมุขต่าง ๆ พร้อมบำเพ็ญความดีและชำระจิตให้สะอาดแจ่มใส ละ งด เว้น จากความชั่วทั้งปวง
หลักธรรม “วิรัติ”
วิรัติ หมายถึง การงดเว้นจากบาปและความชั่วต่างๆ จัดเป็นมงคลธรรมข้อหนึ่งจำแนกออกเป็น 3 ประการ ประกอบด้วย
1. สัมปัตตวิรัติ
การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ด้วยเกิดความรู้สึกละอาย (หิริ) และเกิดความรู้สึกเกรงกลัวบาป (โอตตัปปะ) ขึ้นมาเอง เช่น บุคคลที่ได้สมาทานศีลไว้ เมื่อถูกเพื่อนคะยั้นคะยอให้ดื่มสุรา ก็ไม่ย่อมดื่มเพราะละอาย และเกรงกลัวต่อบาปว่าไม่ควรที่ชาวพุทธจะกระทำเช่นนั้นในระหว่างพรรษา
2. สมาทานวิรัติ
การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ด้วยการสมาทานศีล 5 หรือศีล 8 จากพระสงฆ์โดยเพียรระมัดระวังไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อย แม้มีสิ่งยั่วยวนภายนอกมาเร้าก็ไม่หวั่นไหวหรือเอนเอียง
3. สมุจเฉทวิรัติ
การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ได้อย่างเด็ดขาดโดยตรงเป็นคุณธรรมของพระอริยเจ้า ถึงกระนั้นสมุจเฉทวิรัติ อาจนำมาประยุกต์ใช้กับบุคคลผู้งดเว้นบาปความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ในระหว่างพรรษากาลแล้ว แม้ออกพรรษาแล้วก็มิกลับไปกระทำหรือข้องแวะอีก เช่นกรณีผู้งดเว้นจากการดื่มสุราและสิ่งเสพติดระหว่างพรรษากาล แล้วก็งดเว้นได้ตลอดไป เป็นต้น
หลักธรรม “อบายมุข 6”
อบายมุข คือ ช่องทางของความเสื่อม เหตุเครื่องฉิบหาย เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์ ทางแห่ง ความพินาศ มี 6 ทาง ได้แก่
1. ติดสุราและของมึนเมา
2. ชอบเที่ยวกลางคืน
3. ชอบเที่ยวดูการละเล่น
4. เล่นการพนัน
5. คบคนชั่วเป็นมิตร
6. เกียจคร้านการงาน
อ้างอิง : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ