ไลฟ์สไตล์

รู้จัก ‘แอสปาร์แตม’ สารที่ WHO เตรียมขึ้นบัญชีสารก่อมะเร็ง ทำสุขภาพพัง

ชวนรู้จัก ‘แอสปาร์แตม’ (Aspartame) สารให้ความหวานแทนน้ำตาลยอดนิยม ที่ WHO เตรียมขึ้นบัญชีเป็นสารก่อมะเร็ง ทำลายสุขภาพ

หลังจากที่มีข่าวออกมาว่า องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เตรียมบรรจุสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอย่าง แอสปาร์แตม (Aspartame) เป็นหนึ่งในสารที่อาจก่อมะเร็ง ภายในเดือนหน้า หลังจากการประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญมากมาย เพื่อประเมินอันตรายของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นฐานของรายงานการศึกษาวิจัยทั้งหมดที่ได้รับการเผยแพร่ออกมา

ถึงอย่างนั้นหลายคนอาจจะยังสงสัยกันอยู่ไม่น้อยว่า ‘แอสปาร์แตม’ คืออะไร เป็นสารให้ความหวานที่น่าอันตรายมากแค่ไหน ใส่อยู่ในอาหารหรือเครื่องดื่มประเภทอะไรบ้าง ไม่ต้องกังวลกันไป เพราะวันนี้ทีมงาน Thaiger ได้รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับสารแอสปาแตมมาให้ทุกคนแล้ว ถ้าพร้อมแล้วมาอ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลย

รู้จัก แอสปาร์แตม สารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้กันทั่วโลก

แอสปาร์แตม (Aspartame) คือ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น น้ำตาลเทียม น้ำอัดลม หมากฝรั่งไร้น้ำตาล โดยจะเห็นได้ว่าสารแอสปาร์แตม ไม่ใช่สารให้ความหวานที่อยู่ไกลตัว แต่เป็นสารที่เราบริโภคกันอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคนที่บริภาคอาหารหรือเครื่องดื่มสูตรไร้น้ำตาล น้ำตาลน้อย

โดยในช่วงกลางปีที่ผ่านมา เริ่มมีงานวิจัยที่เผยออกมาว่า การบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มสูตรไร้น้ำตาล หรือน้ำตาลน้อย ส่งผลเสียกับร่างกายมากกว่าที่คิด เพราะสารแอสปาร์แตม สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองในคนเพิ่มขึ้น รวมถึงอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่บริโภคสารทดแทนความหวานเลย

ทำให้ทางองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้เผยแพร่แนวทางแนะนำไม่ให้ผู้บริโภคใช้สารทดแทนความหวานเพื่อควบคุมน้ำหนัก และเตรียมขุ้นบัญชีสารนี้ให้กลายเป็นสารที่อาจก่อมะเร็งงในมนุษย์ ภายในเดือนกรกฎาคมนี้

แอสปาร์แตม คืออะไร

สารแอสปาร์แตม ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อไหร่

แอสปาร์แตม หรือ APM ถูกค้นพบครั้งแรกด้วยความบังเอิญ เมื่อปี ค.ศ. 1965 โดยเจมส์ แชลเตอร์ (James Schlater) ขณะทำการสังเคราะห์สารที่ใช้รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ในระหว่างทำการตกผลึก สารละลายได้หกใส่มือ เขาจึงได้เลียนิ้วมือเพื่อหยิบกระดาษกรอง แต่กลับพบว่า เมื่อเลียนิ้วมือ นิ้วของเขากลับมีรสหวาน

สำหรับความหวานของแอสปาร์แตม จะมีรสหวานคล้ายกับน้ำตาล แต่มีความหวานประมาณ 180-200 เท่าของน้ำตาล และเป็นรสหวานที่ติดลิ้นนานกว่ารสหวานที่ได้จากน้ำตาล หรือสารชนิดอื่น ซึ่งจะมีคุณสมบัติที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิด

แอสปาร์แตมเป็นโปรตีน เมื่อถูกเผาผลาญจะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีต่อกรัม ซึ่งเท่ากับน้ำตาล แต่เนื่องจากมีความหวานสูงกว่าน้ำตาลมาก ปริมาณที่ใช้จึงน้อยมาก ดังนั้น ปริมาณแคลอรีที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้แอสปาร์แตมเป็นสารที่ให้ความหวานต่ำมาก

สารแอสปาร์แตม คืออะไร

อาหารที่ใส่สารแอสปาร์แตม มีอะไรบ้าง

หลายคนอาจจะยังสงสัยว่าอาหารที่ใส่สารแอสปาร์แตม มีอะไรบ้าง ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใด สำหรับอาหารที่นิยมการใส่สารแอสปาร์แตม เพื่อทดแทนการให้ความหวานจากน้ำตาล มักพบได้ในอาหารและเครื่องดื่มแบบไม่มีน้ำตาลต่าง ๆ มากมาย เช่น

  • น้ำอัดลมแบบไดเอท
  • ไอศกรีมแบบไม่มีน้ำตาล
  • น้ำผลไม้แคลอรี่ต่ำ
  • หมากฝรั่งไม่มีน้ำตาล
  • โยเกิร์ตไม่เติมน้ำตาล
  • ลูกอมไม่มีน้ำตาล

นอกจากจะต้องระวังอาหารที่มีส่วนผสมของแอสปาร์แตมแล้ว อยากให้ทุกท่านสังเกตคำว่า ‘ฟีนิลอะลานีน’ (Phenylalanine) บนผลิตภัณฑ์กันสักหน่อย เพราะบางครั้งแอสปาร์แตมอาจใช้ชื่อนี้แทน และนอกจากอาหารและเครื่องดื่มที่เราเผยให้ทุกท่านรู้กันแล้ว ทุกท่านอาจจะพบแอสปาร์แตมในรูปแบบเดียวกับน้ำตาลซอง หนือน้ำตาลก้อนอีกด้วย

อาหารที่ใส่สารแอสปาร์แตม มีอะไรบ้าง

อันตรายของแอสปาร์แตม มีอะไรบ้าง

1. สารเคมีตกค้าง ซึ่งอาจเป็นสารก่อมะเร็ง

แอสปาร์แตม เป็นสารที่ประกอบด้วยสารเคมี 3 ชนิด คือ กรดแอสปาร์ติก ฟีนิลอะลานีน และ เมธานอล หากร่างกายได้รับสารเคมีเหล่านี้จำนวนมาก จะไม่สามารถกำจัดออกไปจากร่างกายได้หมด ซึ่งอาจเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อและทำให้ DNA ภายในร่างกายได้รับความเสียหาย จนกลายเป็นความผิดปกติของเซลล์ และพัฒนาเป็นมะเร็งได้ในที่สุด

2. สาเหตุของโรคอ้วน และเบาหวานทางอ้อม

แม้สารแทนความหวานอย่างแอสปาร์แตม จะเป็นที่รู้จักกันว่าสามารถเสี่ยงโรคอ้วนได้ แต่ถึงอย่างนั้นแอสปาร์แตม กลับกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วน เนื่องจากสารดังกล่าวจะทำให้ร่างกายมีปริมาณการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายยิ่งโหยหาความหวานจากน้ำตาลมากยิ่งขึ้น แถมยังทำให้อยากอาหารมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

3. เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

เนื่องจากแอสปาร์แตมเป็นน้ำตาลเทียม ที่จะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้สารดังกล่าวจะไปรวมกองกันอยู่ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะมีแบคทีเรียที่สามารถย่อยแอสปาร์แตมได้ แต่ก็จะผลิตก๊าซออกมา ทำให้เรามีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และถ่ายมากกว่าปกติได้

4. สารแอสปาร์แตม อาจเป็นอันตรายต่อสมอง

กรดแอสปาร์ติก ถือเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของน้ำตาลเทียม สามารถผ่านเข้าสู่เซลล์สมอง และเมื่อมีปริมาณแคลเซียมอยู่ในสมองมาก ๆ อาจทำให้สมองได้รับอันตรายได้ เซลล์สมองอาจมีความผิดปกติ ซึ่งจะทำมาสู่การเกิดโรคลมบ้าหมู อัลไซเมอร์ รวมไปถึงหลอกประสาทอักเสบ และต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ

อันตรายของแอสปาร์แตม

ทั้งหมดนี้คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้สารทดแทนความหวานอย่าง ‘แอสปาร์แตม’ กำลังจะถูกบรรจุเป็นสารอันตรายที่อาจก่อมะเร็งได้ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ที่สำคัญสารแทนความหวานไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการบริโภคอาหาร หากเรายังมีสุขภาพที่ดี ไม่ได้เป็นโรคอ้วนและเบาหวาน ควรลด หลีกเลี่ยง และควบคุมปริมาณน้ำตาลและของขวัญ เพื่อให้สุขภาพของทุกคนแข็งแรง

ขอบคุณข้อมูลจาก1 2

Wilasinee

นักเขียนที่ Thaiger เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ จบการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงรู้ลึกรู้จริงทั้งเรื่องวิชาการและเทรนด์กระแสโซเชียลที่สำคัญ มีประสบการณ์เขียนบทความออนไลน์กว่า 2 ปี งานอดิเรกชอบติดตามข่าวเศรษฐกิจ การลงทุน ติดต่อได้ที่ wilasinee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button