สำหรับ สุนทรภู่ หรือ พระสุนทรโวหาร (ภู่) ชื่อนี้คงไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จัก มหากวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้สร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าไว้มากมาย แต่ท่านไม่ได้เป็นเพียงกวีเท่านั้น หากยังเป็นนักปราชญ์ นักสังคมสงเคราะห์ และที่น่าสนใจคือความรู้ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ที่แฝงอยู่ในบทกวีของท่านอีกด้วย
เนื่องในวันสุนทรภู่ปีนี้ตรงกับวันพุธที่ 26 มิถุนายน 2567 ขอเชิญผู้อ่านทุกท่านมาสำรวจเส้นทางของข้าราชการหนุ่มสู่กวีเอกแห่งยุคต้นรัตนโกสินทร์ผู้ซึ่งวางรากฐานสำคัญในวงการวรรณคดีและการเขียนไทยสู่ชนรุ่นหลัง
ประวัติชีวิตและผลงานของ “สุนทรภู่”
ภู่ หรือ สุนธรภู่ (ภาษาอังกฤษ : Sunthorn Phu) เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 ซึ่งเป็นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง ซึ่งเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยในปัจจุบันนี้นั่นเอง ในช่วงชีวิตมีคู่สมรสทั้งหมด 3 คน ได้แก่ จัน นิ่ม ม่วง และบุตรทั้งหมด 4 คน
ช่วงเวลาในวัยเด็กของสุนทรภู่นั้น ภู่ได้เรียนหนังสืออยู่กับพระในสำนักวัดชีปะขาว จนเวลาผ่านไปก็ได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน แต่ทว่า ภู่ นั้นไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากการแต่งบทกลอน ซึ่งก็ทำได้ดีอีกด้วย จนได้เป็นผลงานอายุก่อน 20 ปี ก็จะได้แก่ กลอนนิทานเรื่อง โคบุตร นั่นเอง
ภายหลัง สุนทรภู่ ได้แอบลอบรักนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเหมือนมีเหตุว่าจะเป็นบุตรหลานของผู้มีตระกูลชั้นสูง จึงถูกกรมพระราชวังหลังสั่งโบยและจำคุกคนทั้งสอง ภายหลังในปี พ.ศ. 2549 ทั้งสองก็ได้ถูกปล่อยตัว สุนทรภู่ออกจากคุกก็เดินทางไปหาบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง การเดินทางครั้งนี้สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศเมืองแกลง ที่พรรณนาสภาพการเดินทางต่าง ๆ เอาไว้โดยละเอียด และลงท้ายเรื่องว่า แต่งมาให้แก่แม่จัน
ในเวลาต่อมา สุนทรภู่ก็ได้เลิกรากับจันไป พร้อมมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อหนูพัด และจากนั้นตนก็ได้แต่ง นิราศพระบาทในปี พ.ศ. 2350 ซึ่งหลังจากนั้นไม่ปรากฏผลงานใด ๆ ของสุนทรภู่อีกเลยจนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359
จุดเริ่มต้นแห่งตำแหน่งอาลักษณ์ราชสำนัก รัชกาลที่ 2
จุดเริ่มต้นแห่งเส้นทางอาลักษณ์ของสุนทรภู่นั้น ได้เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2539 หรือสมัยรัชกาลที่ 2 สาเหตุที่เข้ารับราชการนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ทว่าดูเหมือนโคลงกลอน ที่ได้แต่งในช่วงเวลาที่หายไปนั้นจะเป็นการสร้างชื่อจนได้ไปเข้าพระเนตรพระกรณ์ เลยถูกเรียกเข้ารับราชการก็เป็นได้
ในช่วงเวลาแรก สุนทรภู่เป็นอาลักษณ์ชั้นปลายแถว(ผู้ทำหน้าที่ทางหนังสือในราชสำนัก) ไม่ได้มีตำแหน่งหน้าที่ยิ่งใหญ่อะไรมาก มีแค่หน้าที่คอยเฝ้าเวลาทรงพระรอักษรเพื่อรับใช้ก็เท่านั้น จนโชคชะตาได้เข้าข้าง ได้เป็นเหตุได้โชว์ฝีมิอการแต่งกลอนของตนเองให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในบทกลอนละคร รามเกียรติ์ ซึ่งถูกพระราชหฤทัย และได้ทดลองแต่งต่อมาจนเป็นที่พอพระทัย จนกระทั่งทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร
ตั้งแต่นั้นมา ผลงานการต่อกลอนของสุนทรภู่ก็เป็นที่เลื่องชื่อ ไม่ว่าจะเป็นผลงานในบทกลอน รามเกียรติ์ ตอนนางสีดาผูกคอตาย และตอนศึกสิบขุนสิบรถ ฉากบรรยายรถศึกของทศกัณฐ์ ที่ส่งผลให้ได้เลื่อนขั้นเป็นยศ หลวงสุนทรโวหาร และได้ต่อกลอน สังข์ทอง ของรัชกาลที่ 2 อีกด้วย โดยที่ในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อพ่อตาบ
บั้นปลายขชีวิตของกวีเอก
หลังจากชีวิตสุนทรภู่รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 ได้ออกบวชและเดินทางไปในวัดต่าง ๆ หลายแห่ง และมีผลงานนิราศมากมาย และบทกลอนงานเขียนอื่น ๆ ซึ่งสองในนั้นก็คือ พระอภัยมณี และ สิงหไตรภพ ที่ได้ถวายแก่ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ และกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2385 พระภิกษุ ภู่ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ที่มีกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงอุปถัมภ์ คืนหนึ่งหลับฝันเห็นเทพยดาจะมารับตัวไป เมื่อตื่นขึ้นคิดว่าตนถึงฆาตจะต้องตายแล้ว จึงประพันธ์เรื่อง รำพันพิลาป พรรณนาถึงความฝันและเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้ประสบมาในชีวิต หลังจากนั้นก็ลาสิกขาบทเพื่อเตรียมตัวจะตาย ขณะนั้นสุนทรภู่มีอายุได้ 56 ปี
หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ได้รับพระอุปถัมภ์จากเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณทางด้านงานวรรณคดี
จนกระทั่งเมื่อถึงปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 4 ได้ทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ช่วงเวลานี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเพิ่มอีก 2 เรื่อง คือ นิราศพระประธม และ นิราศเมืองเพชร
ต่อมา พ.ศ. 2398 สุนทรภู่ได้เสียชีวิตในเขตพระราชวังเดิม ณ กรุงรัตนโกสินทร์ ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) รวมอายุขัยตั้งแต่กำเนิด สุนธรภู่เสียชีวิตที่อายุได้ 69 ปี
ประวัติผลงานสร้างชื่อ “สุนธรภู่”
สุนธรภู่ในช่วงชีวิตนั้น สร้างผลงานต่าง ๆ มากมาย ที่มีทั้งได้ค้นพบและยังเป็นปริศนาอยู่มากมาย เนื่องจากหลายครั้งไม่ได้มีการบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐาน แต่ทว่าจากเท่าที่พบตามหลักฐานนั้น สามารถสรุปได้ว่ามีทั้งหมด 23 เรื่อง ดังนี้
ผลงาน นิราศ 9 เรื่อง
- นิราศเมืองแกลง
- นิราศพระบาท
- นิราศภูเขาทอง
- นิราศเมืองเพชร
- นิราศวัดเจ้าฟ้า
- นิราศอิเหนา
- นิราศสุพรรณ
- รำพันพิลาป
- นิราศพระประธม
ผลงานนิทาน 5 เรื่อง
- โคบุตร
- ลักษณวงศ์
- พระอภัยมณี
- สิงหไกรภพ
- พระไชยสุริยา
ผลงานสุภาษิต 2 เรื่อง
- สวัสดิรักษา
- เพลงยาวถวายโอวาท
ผลงานประเภทบทละคร 1 เรื่อง
- อภัยนุราช
ผลงานเสภา 2 เรื่อง
- ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม
- พระราชพงศาวดาร
ผลงานบทเห่กล่อม 4 เรื่อง
- บทเห่เรื่องจับระบำ
- บทเห่เรื่องกากี
- บทเห่เรื่องพระอภัยมณี
- บทเห่เรื่องโคบุตร
สุนทรภู่กับวิทยาศาสตร์
แม้สุนทรภู่จะเป็นกวี แต่ผลงานของท่านกลับสะท้อนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในหลายแง่มุม ทั้งด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และชีววิทยา ตัวอย่างเช่น
ดาราศาสตร์: ในบทเห่กล่อมเรื่องพระอภัยมณี มีการกล่าวถึงดวงดาวและกลุ่มดาวต่าง ๆ เช่น ดาวจระเข้ ดาวลูกไก่ ดาวพระศุกร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสุนทรภู่มีความรู้เกี่ยวกับดวงดาวและตำแหน่งของดวงดาวบนท้องฟ้า
ภูมิศาสตร์: ในนิราศต่าง ๆ ของสุนทรภู่ มีการบรรยายถึงสภาพภูมิประเทศ ลักษณะทางกายภาพของสถานที่ต่าง ๆ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ทะเล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสุนทรภู่มีความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมของสถานที่ที่ท่านเดินทางไป
ชีววิทยา: ในบทละครพระอภัยมณี มีการกล่าวถึงสัตว์ต่าง ๆ ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก รวมถึงพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสุนทรภู่มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและความหลากหลายทางชีวภาพ
ความสำคัญของสุนทรภู่
สุนทรภู่ถือเป็นกวีเอกของไทยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น “เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย” ผลงานของท่านมีคุณค่าทั้งในด้านวรรณศิลป์และด้านเนื้อหาที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยนั้น นอกจากนี้ ผลงานของท่านยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาภาษาไทย วรรณคดีไทย และประวัติศาสตร์ไทย
วันสุนทรภู่และยูเนสโก
วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี ได้รับการกำหนดให้เป็น “วันสุนทรภู่” เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณูปการของท่านที่มีต่อวงการวรรณกรรมไทย โดยในปี พ.ศ. 2529 องค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องสุนทรภู่ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านวรรณกรรม เนื่องในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาลของท่าน ซึ่งถือเป็นการยอมรับในระดับสากลถึงคุณค่าและความสำคัญของผลงานของสุนทรภู่ที่มีต่อมวลมนุษยชาติ
สุนทรภู่หรือพระสุนทรโวหารนั้น สร้างชื่อด้านวรรณกรรมมากมายให้กับประเทศไทย เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักกวียุคหลังให้ได้สร้างผลงานตามกันมาอย่างล้นหลาม ไม่ว่าจะเป็นผลงานดัดแปลงก็ดีหรือผลงานต้นตำหรับก็ดี และด้วยโอกาสในวันที่ 26 มิถุนายน 2566 นี้ สำหรับวันสุนทรภู่ ที่มีไว้เพื่อระลึกคุณและยกย่องกวีเอกท่านนี้ Thaiger ขอเป็นส่วนหนึ่งในการจดจำผลงานของสุนทรภู่มา ณ ที่นี้ครับ
อ้างอิง : วิกิพีเดีย