ไลฟ์สไตล์

‘วิธีแยกขยะในบ้าน’ ก่อนจะทิ้งอย่าลืม จำครั้งเดียว แยกขยะเป็นทั้งชีวิตแน่นอน

ใครว่า “ขยะ” ไม่จำเป็น SAIJAI (ใส่ใจ) ขอเถียงสุดใจ เพราะขยะที่ใครหลายคนมองว่าไม่มีค่าจริง ๆ แล้วมันยังมีประโยชน์อีกเพียบ วันนี้ใส่ใจจึงนำ วิธีแยกขยะ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่จะคงประโยชน์ของขยะไว้ได้มากที่สุดมาฝากทุกคนกัน แม้ว่าหลายคนอาจจะคุ้นชินกับการทิ้งขยะในบ้าน ด้วยการทิ้งและเททุกสิ่งลงในถังขยะใบเดียว แต่เราเชื่อว่าถ้าเริ่มเปลี่ยนตั้งแต่ตอนนี้ ไม่มีคำว่าสายเกินจะแน่นอน

จำให้ดี วิธีแยกขยะในบ้าน แยกปุ๊บ ปังปั๊บ

อยากรู้ใช่ไหมคะว่าแค่แยกขยะ มันจะมีประโยชน์มากมายขนาดนั้นเลยหรือ บอกได้เลยว่ามีประโยชน์มากจริง ๆ เพราะหากเราเทขยะรวมกัน​โดยไม่ผ่านการคัดแยกก่อน ขยะทั้งหมดจะต้องถูกส่งไปฝังกลบ ลองคิดภาพขยะเป็นตัน ๆ ถูกฝัง น่ากลัวไม่ใช่น้อยเลย

Advertisements

ตรงกันข้ามหากเราทำการคัดแยก ขยะบางประเภทจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปฝังกลบ ฟังแค่นี้ก็รู้สึกดีขึ้นเยอะแล้วใช่ไหมคะ ดังนั้นอย่ารอช้า มาติดตามและเตรียมจดจำวิธีแยกขยะแบบง้ายง่าย ไปพร้อมกับใส่ใจกันเลย

4 กลุ่มขยะจับแยกให้ถูกตามสี

เขียว : ขยะอินทรีย์

วิธีจำง่าย ๆ ก็คือ อ.อินทรีย์ เท่ากับ อ.อาหาร ขยะที่เป็นเศษอาหาร ผัก เนื้อสัตว์ ผลไม้ รวมถึงใบไม้ ที่เหลือจากการปรุงและรับประทาน ขยะจำพวกนี้จะเน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว ซึ่งข้อดีของมันก็คือสามารถนำมาทำปุ๋ยได้

ดังนั้นถ้าเราไม่ทิ้งเศษอาหารรวมกับขยะประเภทอื่น ก็จะสามารถนำขยะอินทรีย์เหล่านี้ไปหมักเป็นปุ๋ยและส่งให้โรงงานหมักปุ๋ยได้

Advertisements

วิธีแยกขยะในบ้าน เขียว

น้ำเงิน : ขยะทั่วไป

สำหรับขยะทั่วไป วิธีทำก็คือ ท.ทั่วไป เท่ากับ ท. ทำลายยาก ได้แก่ โฟมใส่อาหาร หลอดกาแฟ ถุงขนมขบเคี้ยว ถุงรีฟิล พลาสติกต่าง ๆ ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ขยะประเภทนี้ย่อยสลายได้ยาก และไม่คุ้มค่าที่จะนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ปลายทางของขยะประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการจำกัดโดยฝังกลบ

ถึงแม้ว่าจะต้องถูกนำไปกำจัดอยู่ดี แต่หากเราแยกขยะประเภทนี้ออกมาจากขยะประเภทอื่น ก็จะช่วยให้พี่ ๆ นักเก็บขยะทำงานได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องมาเสียเวลาคัดแยกขยะของหลาย ๆ บ้านนั่นเอง

วิธีแยกขยะในบ้าน น้ำเงิน

เหลือง : ขยะรีไซเคิล

ต่อกันที่ขยะรีไซเคิล วิธีจำแสนง่ายเลยค่ะ ร.รีไซเคิล เท่ากับ ร.รวย นั่นเอง เพราะขยะประเภทนี้สามารถสร้างเม็ดเงินเข้ากระเป๋าเราได้ง่าย ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็น ขวดผลิตภัณฑ์ เช่น แชมพู ครีมนวดผม กระป๋องเครื่องดื่ม กระดาษ กล่องเครื่องดื่มแบบ UHT เศษโลหะ อะลูมิเนียม ยางรถยนต์

ก่อนจะเก็บขยะเหล่านี้ก็อย่าลืมล้างทำความสะอาดก่อนจะดีที่สุด ป้องกันความสกปรกและเชื้อรา หรือหากใครยังไม่อยากทิ้งก็สามารถนำขยะเหล่านี้ไปแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์กันต่อได้ เช่น นำกล่องนมไปทำความสะอาด และทำเป็นลิ้นชักเก็บของแบบ DIY เป็นต้น

วิธีแยกขยะในบ้านก่อนทิ้ง เหลือง

ส้ม : ขยะอันตราย

ปิดท้ายกันที่สีส้ม ขยะอันตราย ได้แก่ ขยะที่มีส่วนประกอบของสารเคมีอันตราย มีฤทธิ์กัดกร่อน ติดไฟง่าย มีเชื้อโรคที่ติดต่อได้ปะปนอยู่ เช่น ที่ตรวจโควิดแบบใช้แล้วทิ้งหรือ ATK ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ กระป๋องสเปรย์ สารเคมี สำลีใช้แล้ว หลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ ขวดน้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น

วิธีจำขยะชนิดนี้คือ อ.อันตราย เท่ากับ อ.ออกไปไกล ๆ ขยะเหล่านี้หากรีไซเคิลได้ก็จะถูกส่งไปรีไซเคิลที่โรงงาน แต่หากไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้แล้วก็จะจ้างเอกชนให้กำจัดทิ้ง ดังนั้นเวลาทิ้งขยะอันตรายก็อย่าลืมแยกและปิดปากถุงให้มิดชิด จะได้ไม่เป็นอันตรายกับพี่ ๆ พนักงานเก็บขยะนะคะ

วิธีแยกขยะในบ้าน ส้ม

ทั้งหมดนี้คือ 4 ประเภทขยะที่เราต้องรู้จักไว้จะได้แยกขยะเป็น เพราะหากเราร่วมด้วยช่วยกันก็จะทำให้ขยะเหล่านี้กลายเป็น zero waste เหลือทิ้งได้น้อยที่สุด ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด เพื่อสังคมเพื่อโลกและเพื่อเรา มาเริ่มแยกขยะกันตั้งแต่หลังอ่านจบกันเลย

หวังว่าทุกคนจะเริ่มคัดแยกขยะก่อนทิ้ง หลังจากที่ได้อ่านสาระความรู้ที่ SAIJAI นำมาฝาก หากทุกคนได้เรียนรู้อะไรดี ๆ ใส่ใจก็รู้สึกยินดีอย่างมากค่ะ นอกจากนี้เรายังยินดีให้บริการดี ๆ แก่คุณด้วย ไม่ว่าจะเป็น บริการแม่บ้าน, คนขับรถ, ติวเตอร์, เสริมสวย, พี่เลี้ยงเด็ก, พี่เลี้ยงดูแลสัตว์, คนดูแลผู้สูงอายุ และ ช่างซ่อมบำรุง เราพร้อมให้บริการคุณผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ saijai.io พร้อมดูแลทุกคนในครอบครัวของคุณอย่างเต็มที่เลยค่ะ

หากสนใจสามารถเข้าไปสอบถามหรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก SAIJAI Homecare หรือกดสมัครสมาชิก SAIJAI FAMILY MEMBERSHIP ได้ที่เว็บไซต์ https://pointspot.co/@SAIJAI_Homecare สิทธิพิเศษดี ๆ รอคุณอยู่เพียบ

สุดท้ายนี้ทาง SAIJAI ยังมีส่วนลดสุดพิเศษมาฝากทุกคนอีกด้วย เพียงแอดไลน์ @saijai_care แล้วแจ้งโค้ด SAIJAITHAIGER ในช่องแชต รับไปเลย Voucher มูลค่า 50 บาท สำหรับใช้เป็นส่วนลดค่าบริการเมื่อทำรายการจองบนแพลตฟอร์ม saijai.io กันไปฟรี ๆ แล้วพบกับใส่ใจได้ใหม่ในครั้งหน้าค่ะ.

ขอบคุณข้อมูลจาก : ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button