ประวัติ พระราชพิธีใน “วันพืชมงคล” พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ คือพิธีสำคัญที่มีมาก่อนตั้งแต่สมัยโบราณ จุดมุ่งหมายเพื่อเปิดเป็นพิธีกรรม ฤดูกาลพืชผลใหม่ทางความเชื่อ ที่ได้เป็นประเพณีปฏิบัติต่อกันมาช้านาน ที่มีศาสนาเป็นต้นแบบ และซึ่งเป็นคนล่ะอย่างกับพิธีพืชมงคล ด้วยวันพืชมงคล 2567 ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 พวกเรา Thaiger จึงได้สืบค้นข้อมูล ประวัติพิธีการ ทั้งความหมายพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ คืออะไร ขั้นอย่างไร มีความเกี่ยวข้องกับ พิธีพืชมงคลยังไง มาให้ได้อ่านกันครับ
พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ คืออะไร
พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นประเพณีที่เริ่มตั้งแต่โบราณ ซึ่งมีต้นแบบมาจากความเชื่อของ ศาสนาพราหมณ์ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว ซึ่่งพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบัน ได้ดำเนินไปตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี ยกเว้นแต่บางอย่างที่ได้มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับยุคสมัยมากขึ้น
สำหรับการประกอบพิธีนั้นจะถูกกำหนดขึ้นโดยโหรหลวง ซึ่งในระหว่างพิธีอันสวยงามนี้ ก็จะมีการทำนายปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง โดยพระยาแรกนาจะทำการเลือกผ้า 3 ผืนที่มีความยาวต่างกันตามชอบใจ ซึ่งผ้าทั้ง 3 ผืนนี้มีความคล้ายคลึงกัน หากพระยาแรกนาเลือกผืนที่ยาวที่สุดก็ทายว่า ปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะมีน้อย แต่ถ้าเลือกผืนที่สั้นที่สุด ทายว่าปีนี้จะมีปริมาณน้ำฝนมาก หรือหากเลือกผืนที่มีความยาวปานกลาง ทายว่าปีนี้จะมีปริมาณน้ำฝนพอประมาณ ต่อมา หลังจากที่สวมเสื้อผ้าที่เรียกว่า ผ้านุ่ง เรียบร้อยแล้ว
พระยาแรกนาก็จะไถลงไปบนพื้นที่ท้องสนามหลวงด้วยพระนังคัลสีแดงและสีทอง มีพระโคเพศผู้ลำตัวสีขาวทำหน้าที่ลาก แล้วตามด้วยเทพีทั้ง 4 ทำหน้าที่หาบกระเช้าทองและกระเช้าเงินที่บรรจุเมล็ดข้าวเปลือก นอกจากนี้ยังจะมีคณะพราหมณ์ที่เดินคู่ไปกับขบวน พร้อมทั้งสวดและเป่าสังข์ไปในขณะเดียวกัน

เมื่อเสร็จจากการไถแล้ว พระโคจะได้รับการป้อนพระกระยาหารและเครื่องดื่มทั้งสิ้น 7 ชนิด ได้แก่ เมล็ดข้าว ถั่ว ข้าวโพด หญ้า เมล็ดงา น้ำ และเหล้า ไม่ว่าพระโคจะเลือกกิน หรือดื่มสิ่งใดก็ทายว่าในปีนั้นๆ จะสมบูรณ์ด้วยสิ่งที่พระโคเป็นผู้เลือก ขั้นตอนต่อมา พระยาแรกนาจะทำการหว่านเมล็ดข้าว ประชาชนจะพากันมาแย่งเก็บ
เพราะถือกันว่าเมล็ดข้าวนี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มีไว้ในครอบครอง เมื่อเก็บเมล็ดข้าวกลับไปแล้ว ชาวนาก็จะใช้เมล็ดข้าวที่เก็บได้มาผสมกับเมล็ดข้าวของตัว เพื่อให้พืชที่ลงแรงลงกายปลูกในปีที่จะมาถึงนี้มีความอุดมสมบูรณ์
สำหรับพระโคที่จะเข้าพระราชพิธีแรกนาขวัญนั้น จะถูกเลี้ยงดูอย่างดีที่จังหวัดราชบุรี โดยพระโคที่ใช้ในพระราชพิธีจะต้องมีลักษณะที่ดี ขาด หรือเกินไม่ได้ อันประกอบด้วย หูดี ตาดี แข็งแรง เขาทั้งสองตั้งตรงสวยงาม พระโคแต่ละคู่จะต้องมีสีเหมือนกัน อีกทั้งจะมีการคัดเลือกพระโคเพียงสองสี คือ สีขาวสำลีและสีน้ำตาลแดง เจาะจงว่าเป็นเฉพาะเพศผู้เท่านั้นและต้องผ่านการ ตอน เสียก่อนด้วย
ชมถ่ายทอดสด พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
พระราชพิธีพืชมงคล พิธีเพื่อเฉลิมฉลองพืชผลให้เจริญ
พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีทำขวัญพืชพันธุ์ธัญญาหารที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย โดยข้าวที่นำมาเข้าพิธีพืชมงคลนั้นเป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว อีกทั้งยังมีเมล็ดพืชชนิดต่างๆ รวมกว่า 40 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะถูกบรรจุอยู่ในถุงผ้าขาว
นอกจากนี้ก็ยังมีข้าวเปลือกที่ใช้สำหรับหว่านในพิธีแรกนาบรรจุเข้ากระเช้าทองคู่หนึ่งและเงินอีกคู่หนึ่ง เป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดฯ ให้ปลูกในสวนจิตรลดาและพระราชทานมาเข้าพิธีพืชมงคล ซึ่งพันธุ์ข้าวพระราชทานนี้จะใช้หวานในพระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือทางการจะบรรจุซองแล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนานและประชาชนในจังหวัดต่างๆ เพื่อเป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้

พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และ พิธีพืชมงคล ต่างกันอย่างไร
พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และ พิธีพืชมงคล เป็นประเพณีที่เริ่มตั้งแต่โบราณ ที่มาจากศาสนาพราหมณ์ และพระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีทางพุทธศาสนา มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก
จนกระทั่งในจุดหนื่งได้หยุดการจัดทั้งสองพิธีไปเป็นเวลา 10 ปี เพราะสถานการณ์รอบโลกในช่วงนั้นที่ไม่สมควรจัดงานใด ๆ จนผ่านมาเป็นระยะหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2490 รัฐบาลไทยได้จัดพิธีพืชมงคลกลับขึ้นมา
แต่มีแค่พระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2503 จึงจัดให้มีราชพิธีจรดพระนาคัลแรกนาขวัญร่วมกับพิธีพืชมงคลนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้จึงจัดให้เป็นวันสำคัญของชาติ อย่างวันพืชมงคลนั่นเอง
ประวัติ วันพืชมงคล รากเหง้าของเกษตรกรรมไทย
ย้อนกลับไปเมื่อครั้งอดีต ประเทศไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาแต่โบราณ การเพาะปลูกจึงเป็นหัวใจของวิถีชีวิตและเศรษฐกิจของชาติ “วันพืชมงคล” จึงเป็นพระราชพิธีสำคัญที่สะท้อนความผูกพันระหว่างราชสำนักกับเกษตรกร และเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ตลอดปี
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีต้นกำเนิดตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยพระมหากษัตริย์เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีแรกนา เพื่อแสดงความสำคัญของการเกษตร ต่อมาในสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์มอบหมายให้เจ้าพระยาจันทกุมารเป็นผู้แทนพระองค์ในการประกอบพิธี
ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมพิธีสงฆ์เข้ากับพิธีพราหมณ์ กลายเป็นพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งประกอบด้วยสองส่วนคือ พิธีพืชมงคล (พิธีสงฆ์) และพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (พิธีพราหมณ์)
พิธีพืชมงคลจัดขึ้นที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ ส่วนพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจัดที่สนามหลวง มีพระยาแรกนาไถนาโดยใช้พระโคคู่เทียมไถ และมีการเสี่ยงทายจากของกิน 7 สิ่งที่พระโคเลือกกิน เพื่อพยากรณ์ผลผลิตทางการเกษตรในปีนั้น
หลังจากเว้นว่างไปในปี พ.ศ. 2479 พระราชพิธีนี้ได้รับการฟื้นฟูในปี พ.ศ. 2503 โดยคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นการรักษาประเพณีอันดีงามและบำรุงขวัญเกษตรกร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีนี้ทุกปี สืบมาจนถึงปัจจุบัน
วันพืชมงคลจึงไม่เพียงเป็นพิธีกรรมทางศาสนาและประเพณี แต่ยังเป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เกษตรกรไทย และเป็นการแสดงถึงความสำคัญของการเกษตรในฐานะรากฐานของชาติ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- พระโคกินอะไร 2568 เปิดคำทำนายบ้านเมือง มีแต่เรื่องดี ค้าขายต่างประเทศรุ่งเรือง
- พระโคกินอะไร 2567 คำทำนาย น้ำ-หญ้า เหล้า สัญญาณดี น้ำท่าบริบูรณ์ เศรษกิจรุ่ง
- แปลปกสลาก 16 พ.ค. 67 ฉบับ ‘วันพืชมงคล’ 2567 ลุ้นโชคพระโคเสี่ยงทาย
อ้างอิง : 1
ติดตาม The Thaiger บน Google News: