ข่าว

พระประวัติ ‘พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ’ พร้อมพระราชกรณียกิจ ที่สำคัญต่อชาวไทย

เผยพระประวัติ “พระองค์เจ้าโสมสวลี” หรือ “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ” พร้อมประวัติพระราชกรณียกิจที่สำคัญต่อปวงชนชาวไทย

“พระองค์เจ้าโสมสวลี” หรือ “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ” ทรงเป็นอดีตพระวรชายาพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ 10) ประสูติเมื่อวันเสาร์ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญต่อประเทศไทยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น โครงการและมูลนิธิในพระอุปถัมภ์ ด้านสังคมสงเคราะห์ และการสาธารณสุข เช่น มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ทรงเป็นนายกกิตติมศักดิ์), มูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา (ทรงเป็นนายกกิตติมศักดิ์) และมูลนิธิศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร เป็นต้น

Advertisements

ทั้งนี้ ทีมงาน Thaiger จะขอพาผู้อ่านทุกท่านย้อนประวัติและผลงานพระราชกรณียกิจที่สำคัญของ “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ” ที่ทรงทำเพื่อนประชาชนชาวไทย ซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดไม่ได้ ว่ามีโครงการและพระราชกรณียกิจใดน่าสนใจบ้าง

พระประวัติ “พระองค์เจ้าโสมสวลี”

“พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ” ทรงมีพระนามเดิมว่า “หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร” ประสูติ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 เป็นอดีตพระวรชายาพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

ทั้งนี้ “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ” ทรงเป็นธิดาพระองค์ใหญ่ของ หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร พระองค์เป็นทั้งพระภาติยะ(หลานที่ลูกของพี่ชาย หรือน้องชาย) และอดีตพระสุณิสา(ลูกสะใภ้) ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

เนื่องจากการอภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์มีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาฯ ถือเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรชาย จากนั้นทรงมีพระธิดาพระองค์เดียวคือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 พระองค์ยังมีสถานะเป็นเจ้านายและได้รับการเฉลิมพระนามว่า “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ” ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติและทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปี พ.ศ. 2562 พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ” นั่นเองครับ

Advertisements

ประวัติ โสมสวลี 2566

พระประวัติวัยเยาว์

จากที่เกริ่นไปก่อนหน้านี้ว่า “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ” ทรงมีพระนามเดิมว่า “หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร” ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ณ โรงพยาบาลกายส์ เขตเซาท์วาร์ก กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

เป็นธิดาคนใหญ่ของหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง กับท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (เดิม – หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล) เหตุที่หม่อมหลวงโสมสวลีประสูติที่ลอนดอนสืบเนื่องมาจากบิดา คือ หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ ได้ไปศึกษากฎหมายที่ประเทศอังกฤษหลังพระราชทานน้ำสังข์แล้ว จนเมื่อหม่อมหลวงโสมสวลีมีอายุได้ 2 ปี จึงได้กลับมายังประเทศไทย

พระนาม โสมสวลี มีความหมายอันเป็นมหามงคล แปลว่า “ผู้สืบเชื้อสายมาจากพระจันทร์” คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ อีกทั้งยังเป็นนามที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครอบครัวและสหายในโรงเรียนราชินีมักเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า “คุณโสม”

ส่วนพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่า “โสม” เพียงอย่างเดียว พระองค์เจ้าโสมสวลี มีน้องสาวเพียงคนเดียวคือหม่อมหลวงสราลี กิติยากร หรือ “คุณน้ำผึ้ง” ซึ่งเป็นนักแสดงและพิธีกรรายการโทรทัศน์

จากนั้นไม่นาน “หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร” ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เข้าศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา รุ่นที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2504 รุ่นเดียวกับสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ ก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2510

ต่อมาพระองค์ก็ทรงลาออกจากโรงเรียนเดิมและย้ายไปประทับที่เชียงใหม่โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย เป็นระยะเวลาทั้งหมด 2 ปี ภายหลังเมื่อบิดาได้ย้ายกลับมายังกรุงเทพมหานคร ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระยะหนึ่ง แต่ด้วยมิสะดวกต่อการรับส่ง จึงได้ย้ายมาศึกษาอยู่ที่โรงเรียนราชินี เนื่องจากเป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางที่ไปยังที่ทำงานของบิดา

หม่อมหลวงโสมสวลีและน้องสาว ทรงเติบโตแและได้รับการเลี้ยงดูในวังเทเวศร์อย่างสามัญชน มีพระบิดาไปรับส่งที่โรงเรียนเหมือนกับเด็กนักเรียนทั่ว ๆ ไป

ทั้งนี้ ในวัยเยาว์พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่งานบ้านด้วยพระองค์เอง เช่น การจัดที่นอนให้เป็นระเบียบ กวาดบ้านถูพื้น รวมไปถึงการปลูกผักและตัดหญ้าด้วยตนเอง อีกทั้ง “พระองค์เจ้าโสมสวลี” ยังทรงโปรดการประกอบอาหาร และเชี่ยวชาญในวิชาภาษา แต่พระองค์ไม่ถนัดวิชาคณิตศาสตร์ ดังนั้น เมื่อพระองค์สำเร็จการศึกษาระดับ ม.ศ. 2 จึงขอร้องกับบิดามารดา เพื่อขอออกมาศึกษาวิชาที่พระองค์ชอบ

ประวัติ โสมสวลี ครอบครัว

การอภิเษกสมรส

พระองค์เจ้าโสมสวลี อภิเษกสมรส เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2520 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรส ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี วังสระปทุม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการนี้ได้เสด็จออก ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และสีหบัญชร พระที่นั่งสุทไธสวรรค์ปราสาท เพื่อรับการถวายพระพรชัยมงคล

จากนั้น ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเฉลิมพระนามพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์นั้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ โดยสร้อยพระนาม “พระวรราชาทินัดดามาตุ” หมายถึง “พระมารดาของพระราชนัดดาพระองค์แรกแห่งพระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐ”

ครั้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติและทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน ตามจารึกพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ด้วยเป็นพระมารดาผู้ทรงอภิบาลพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ กอปรกับทรงประกอบพระกรณียกิจสนองพระเดชพระคุณสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 หลังจากการหย่า พระองค์ยังคงสถานะเป็นเจ้านายและได้รับการเฉลิมพระนามว่า “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ” ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติและทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 พระองค์ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

royal world

พระราชกรณียกิจ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ

“พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ” ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมแก่ประชาชนชาวไทย ด้วยการเสด็จแทนพระองค์ไปทรงประกอบพระกรณียกิจต่าง ๆ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระเจ้านายพระองค์อื่น จนพระราชกรณียกิจสำเร็จลุล่วงด้วยดี

จากนั้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ รศ.ดร.นายแพทย์พิชิต สุวรรณประกร เป็นผู้แทนพระองค์นำถุงยังชีพ 3,000 ถุง ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุ ประเทศญี่ปุ่น สร้างความปิติยินดีแก่ผู้ประสบภัยพิบัติเป็นอย่างสูง

นอกจากนี้ “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ” ยังประกอบโครงการ มูลนิธิ หน่วยงาน ในพระอุปถัมภ์ มากมายหลากหลายมากถึง 23 โครงการ ประกอบด้วย

  1. มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ทรงเป็นนายกกิตติมศักดิ์)
  2. มูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา (ทรงเป็นนายกกิตติมศักดิ์)
  3. มูลนิธิศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร
  4. มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย (ทรงดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์ตลอดพระชนม์ชีพ)
  5. มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของศาลเยาวชนและครอบครัว
  6. มูลนิธิบ้านบางแค
  7. มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย
  8. มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก ของศาลเยาวชนและครอบครัว
  9. มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง
  10. มูลนิธิธรรมจารินีวิทยา
  11. มูลนิธิสงเคราะห์เด็กของศาลเยาวชนและครอบครัว
  12. โครงการช่วยลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูก สภากาชาดไทย
  13. โครงการคืนชีวิตให้พ่อแม่เพื่อลูกน้อยที่ติดเอดส์
  14. กองทุนยาพระวรราชาทินัดดามาตุ สำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์ สภากาชาดไทย
  15. กองทุนนมสำหรับเด็กในโครงการช่วยลดการติดเอดส์จากแม่สู่ลูก
  16. กองทุนโรคมะเร็งในเด็ก
  17. สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี
  18. สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย
  19. สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่
  20. สมาคมพัฒนาแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย
  21. สภาแม่ดีเด่นแห่งชาติ
  22. โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา
  23. วัดหนองน้ำขุ่น อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

อ้างอิง : 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button