ไลฟ์สไตล์

18 มกราคม “วันกองทัพไทย” ระลึกการ “ยุทธหัตถี” ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

รู้จัก “วันกองทัพไทย” หรือ “วันกองทัพบก” อีกหนึ่งวันสำคัญบนหน้าประวัติศาตร์ ร่วมย้อนระลึกเหตุการณ์ “ยุทธหัตถี” ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงกอบกู้เอกราชพร้อมได้รับชัยชนะเหนือกองทัพพม่าในเวลานั้น

เปิดประวัติวันสำคัญ “วันกองทัพไทย” (THAI ARMED FORCES DAY) หรือ “วันกองทัพบก” มีอีกชื่อว่า “วันยุทธหัตถี” และ “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” โดยปีนี้ตรงกับวันพุธที่ 18 มกราคม 2566 นับเป็นวันสำคัญตามประวัติศาสตร์ไทย เพื่อระลึกเหตุการณ์ในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับมังสามเกียดของพม่า กระทั่งได้รับชัยชนะเหนือสมเด็จพระมหาอุปราชาของพม่า และต่อมาก็ได้กอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรกอีกด้วย ซึ่งตรงกับวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จ.ศ. 954 หรือวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1593 หรือ พ.ศ. 2135 มีเกร็ดความรู้และความสำคัญอย่างไรต่อคนไทยบ้าง เข้ามาศึกษาประวัติที่มา วันกองทัพไทยที่นี่ได้เลยครับ

Advertisements

รู้จัก “วันกองทัพไทย” ประวัติและความสำคัญ

เดิมทีกระทรวงกลาโหม ได้ทำการกำหนดให้ “วันกองทัพไทย”ตรงกับวันที่ 8 เมษายนของทุกปี แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้วันดังกล่าวเป็นวันที่ 25 มกราคม ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น โดยอ้างอิงตามหลักการคำนวณของ “นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์” ที่ได้วิเคราะห์เอาไว้ว่าวันกองทัพไทยจะตรงกับวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2135

จากนั้นในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ฝั่งคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้เห็นชอบตามที่สภากลาโหมเสนอผ่าน กระทรวงกลาโหม ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีให้กลายเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีแทนพร้อมทั้งยังอนุมัติให้วันที่ 18 มกราคม เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหม

วันกองทัพไทย 18 มกราคม 2566
ภาพจาก : วิกิพีเดีย

ประวัติการ “ยุทธหัตถี” ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

อย่างที่ทราบกันดีว่านอกจากวันนี้จะเป็น วันกองทัพไทยแล้วก็ยังตรงกับ “วันยุทธหัตถี” หรือ “วันสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการระลึกลึกถึงชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในการทรงช้างศึก หรือการยุทธหัตถีกับสมเด็จพระมหาอุปราชาของพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2136

พระราชประวัติของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงประสูติที่เมืองพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. 2098 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระมหาธรรมราชาแห่งเมืองพิษณุโลกกับมเหสีวิสุทธิกษัตริย์ ทรงมีชื่อเล่นว่า “เจ้าดำ” หรือ “องค์ดำ” และมีมีพระอนุชาเอกาทศรถที่เรียกกันว่า “เจ้าขาว” หรือ “องค์ขาว”

ระหว่าง พ.ศ. 2106-2164 เมืองพิษณุโลกได้ตกเป็นรัฐเมืองขึ้นของพม่า กษัตริย์แห่งพม่าคือพระเจ้าบุเรงนอง ได้ทำการจับ “องค์ดำ” ไปยังเมืองพะโค (เดิมชื่อ “หงสาวดี”) ในฐานะตัวประกันทางการเมือง

Advertisements

ต่อมาเมื่อพระองค์ดำ ทรงมีพระชนมายุได้ 17 พรรษา พระมหาธรรมราชาได้แต่งตั้งให้เจ้าชายองค์ดำเป็นมกุฎราชกุมารแห่งเมืองพิษณุโลก พร้อมพระนามว่า “สมเด็จพระนเรศวร”

ต่อมาในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวร ทรงประกาศอิสรภาพของอยุธยาจากพม่าที่เมืองกระแชง เมืองชายแดน และในรัชสมัยของพระองค์ ดินแดนของสยามได้แผ่ขยายออกไปมาก

วันกองทัพไทย 2566 อนุสรณ์ สุพรรณบุรี
ภาพจาก : วิกิพีเดีย

จากนั้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2136 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเอาชนะพระมหาอุปราชาผู้นำกองทัพพม่าในการประลองช้างอย่างดุเดือดที่เรียกว่า “ศึกช้าง” หรือ “ยุทธหัตถี” ที่ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

อ้างอิง : royalcoastreview

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button