การเงินเศรษฐกิจ

รู้จัก ‘ใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์’ คืออะไร? ใช้สิทธิช้อปดีมีคืน 2566 ยังไง?

รู้จักกับ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) คืออะไร ? และต้องซื้อสินค้าร้านไหนถึงใช้สิทธิ ช้อปดีมีคืน 2566 นำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้

อีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนยังคงสงสัยเกี่ยวกับ โครงการช้อปดีมีคืน 2566 นั่นก็คือเรื่องของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องนำมาใช้ยื่นประกอบกับการใช้สิทธิของโครงการ โดยกำหนดกรอบการเริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค.-15 ก.พ. 66 รวม 46 วัน

แล้วใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) ต่างจากใบกำกับภาษีที่เป็นกระดาษอย่างไร ? เช็กได้เลยที่นี่

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) คืออะไร ?

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เป็นข้อมูลใบกำกับภาษี รวมทั้งใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับ ที่มาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word, Excel หรือ PDF ซึ่งผู้จัดทำเอกสารจะลงลายเซ็นแบบดิจิทัล (Digital Signature) ก่อนที่จะส่งให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการผ่านช่องทางออนไลน์อย่างอีเมล หรือ SMS

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

ข้อดีของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

ปัจจุบันร้านค้าหลายแห่งที่เริ่มเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์กันแล้ว ด้วยข้อดีดังนี้

  • จัดการข้อมูลและเอกสารง่ายกว่าแบบกระดาษ
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เอกสาร
  • ประหยัดเวลาที่ใช้ในการส่งเอกสาร
  • ลดการใช้กระดาษ ช่วยลดโลกร้อน
  • ไม่ต้องใช้พื้นที่จัดเก็บเอกสารที่เป็นกระดาษ
  • รองรับธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ ในอนาคต
  • เหมาะกับการออกใบกำกับภาษีจำนวนมากและเป็นระบบบัญชีขนาดใหญ่

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

การออก “e-Tax Invoice” มีรายละเอียดอะไรบ้าง ?

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) ต้องเป็นไฟล์แบบใดแบบหนึ่ง เช่น PDF, Excel, Word (.PDF, .XLS, .XLSX, .DOC, .DOCX) การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 1 ไฟล์ มีขนาดไม่เกิน 3 MB ที่สำคัญห้ามใช้การถ่ายภาพ หรือการแปลงไฟล์เอกสารกระดาษให้เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ก็จำเป็นต้องมีการลงลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature) หรือประทับรับรองเวลา (Time Stamp) เพื่อให้เอกสารถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญในทางกฎหมายได้

โดยใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 (1)-(8) ต้องประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

  1. คำว่า “ใบกำกับภาษี”
  2. ชื่อ ที่อยู่ และเลข 13 หลัก ของผู้ออก
  3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อ
  4. ลำดับที่ เล่มที่ (ถ้ามี)
  5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าสินค้า-บริการ
  6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  7. วันเดือนปีที่ออกใบกำกับภาษี
  8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
  9. ต้องมีคำว่า “เอกสารนี้ได้จัดทำและนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
  10. มีลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (Digital signature)

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

ใช้ยื่นภาษียังไง ลดหย่อนช้อปดีมีคืนได้ยังไงบ้าง ?

สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการช้อปดีมีคืน 2565 สามารถใช้สิทธิได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนใดใดทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องมีหลักฐานเป็นใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มเต็มรูปแบบ หรือ ใบเสร็จรับเงิน ที่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด จากการซื้อสินค้า หรือบริการตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อใช้ในการยื่นขอลดหย่อนภาษีตามจริงสูงสุด 30,000 บาทต่อคน

ใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท โดยแบ่งเป็น

  • ค่าซื้อสินค้า-บริการ จำนวน 30,000 บาทแรก โดยออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ หรือใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร
  • ค่าซื้อสินค้า-บริการ อีกจำนวน 10,000 บาท เฉพาะใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ออกผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร

หากใช้จ่ายเกินจะนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามวงเงินสูงสุดเท่านั้น เช่น ซื้อสินค้ารวม 35,000 บาท แล้วได้รับใบกำกับภาษีแบบกระดาษทั้งหมด จะสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เพียง 30,000 บาท เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มีฐานภาษีไม่สูง เช่น 5% ก็ต้องพิจารณาก่อนใช้จ่ายว่าคุ้มค่าหรือไม่ที่จะจ่ายเงิน 40,000 บาท เพื่อแลกกับการคืนภาษี 2,000 บาท แต่ถ้าตั้งใจจะซื้อสินค้าในช่วงนั้นอยู่พอดีก็อาจจะถือว่าได้ส่วนลดเพิ่ม 5%

ขอบคุณข้อมูล สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง : Fiscal Policy Office

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button