ข่าว

ดูขนาดป้ายใหม่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ 33 ล้านบาทแพงไปหรือไม่

เปิดข้อมูล เปลี่ยนป้ายสถานีกลางบางซื่อ 33 ล้าน แพงไปไหม พาดูขนาดป้ายใหม่ ความยาว 60 เมตร ก่อนเปี่ยนชื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ อักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ กี่ตัว โลโก้กว้าง-ยาวเท่าไหร่ อธิบายครบจบชัด

วันที่ 4 มกราคม 2566 ยังคงเป็นประเด็นที่สังคมตั้งคำถามถึงความเหมาะสมกรณี การรถไฟแห่งประเทศไทย ลงนามจ้างบริษัทเอกชนรายหนึ่ง โดยใช้งบประมาณ 33 ล้านบาท เพื่อเปลี่ยนป้ายชื่อ “สถานีกลางบางซื่อ” เป็น “สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์” ล่าสุด วันนี้เฟซบุ๊กแฟนเพจ สรยุทธ สุุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ก็ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลเยวกับขนาดความยาวของป้ายในโครงการ ตลอดจนจำนวนตัวอักษร ความกว้าง-ยาว ของโลกโก้ตราสัญลักษณ์การรถไฟแห่งประเทศไทย

Advertisements

โดยระบุ ขนาดความยาวของป้ายชื่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ซึ่งนับตั้งแต่ตราโลโก้รถไฟไทยไปจนถึงัวอักษณสุดท้ายของป้าชื่อพระราชทานใหม่นั้น มีความยาว 60 เมตร อักษรภาษาไทย 24 ตัว และ อักษรภาษษอังกฤษ 31 ตัว ขณะที่ตราโลโก้สัญลักษณ์มีความสูง 7 เมตร

Bang Sue Grand Station
ภาพ Facebook สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

ทั้งนี้ แถลงการชี้แจงของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระบุ ในการจัดทำป้ายชื่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ การรถไฟฯ ยังได้กำหนดจุดติดตั้งป้ายชื่อสถานีจำนวน 2 ฝั่ง ทั้งบริเวณโดมด้านหน้าสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก

โดยมีตัวอักษรตัวสระภาษาไทยฝั่งละ 24 ตัวอักษร อักษรภาษาอังกฤษฝั่งละ 31 ตัวอักษร และ 1 ตราสัญลักษณ์การรถไฟฯ ซึ่งหากรวมทั้ง 2 ฝั่งจะมีการติดตั้งอักษรภาษาไทยรวมถึง 48 ตัวอักษร อักษรภาษาอังกฤษรวม 62 ตัวอักษร และ 2 ตราสัญลักษณ์การรถไฟฯ

ส่วนรายละเอียดของอักษรป้ายชื่อที่ขอพระราชทาน ในส่วนที่เป็นชื่ออักษรภาษาไทย มีความสูง 3 เมตร กว้าง 2.6 เมตร หนา 40 เซนติเมตร มีความยาวของป้ายใหม่รวม 60 เมตร ตามจำนวนอักษรของชื่อพระราชทาน

ในส่วนที่เป็นอักษรภาษาอังกฤษ มีความสูง 2.1 เมตร กว้าง 2.2 เมตร หนา 40 เซนติเมตร ผลิตตัวอักษรด้วยวัสดุอะครีลิกสีขาวนม ยกขอบ และซ่อนไฟแสงสว่างไว้ด้านหลังป้ายด้วย การรถไฟฯ ได้ขอเพิ่มตราสัญลักษณ์ของการรถไฟฯ ที่มีความสูง 7 เมตร ซึ่งได้รับอนุญาตด้วยเช่นกัน

Advertisements

ที่สำคัญป้ายชื่อสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ถือเป็นป้ายขนาดใหญ่ มีความยาวชื่อ และจำนวนตัวอักษรเพิ่มขึ้นจากเดิม

อีกทั้งป้ายอักษรติดตั้งโดยมีโครงเหล็กยึดตัวอักษรไว้ที่ด้านหลัง โครงเหล็กยึดไว้เสารับน้ำหนักในตัวอาคาร และเจาะทะลุผนังกระจกยึดตัวอักษรแต่ละตัว แต่ผนังกระจกเป็นกระจกหนากว่า 10 มิลลิเมตร ที่ไม่สามารถเจาะรูใหม่ได้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนผนังกระจกที่ติดตั้งไว้เรียบร้อยแล้วด้วยผนังกระจกใหม่ที่ต้องสั่งหล่อเป็นพิเศษ โดยผนังกระจกต้องหล่อแผ่นกระจกเว้นรูเจาะให้พอดีจุดยึดโครงเหล็กกับตัวอักษรแต่ละตัวไว้ล่วงหน้า

Krung Thep Aphiwat Central Terminal Station
ภาพ Facebook ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
สถานีกลางบางซื่อ
ภาพ Facebook ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button