งานกาชาด 2565 เปิดวอล์กอิน “ทำพาสปอร์ต” รับ 70 คนต่อวัน เท่านั้น
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เปิดวอล์กอินทำพาสปอร์ตภายในงานกาชาด ระหว่างวันที่ 8-18 ธันวาคม 2565 วันละ 70 คน เริ่มรับคิวแรกในเวลา 13.00-20.00 น. บริเวณประตู 3 สวนลุมพินี ถนนพระราม 4 เช็กรายละเอียดค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขในการเข้าวอร์กอินทำพาสปอร์ตได้ที่นี่
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 เฟสบุ๊กของ ‘กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ’ ได้โพสต์เชิญชวนให้คนไทยมาลงทะเบียนวอร์กอินทำพาสปอร์ต ประเภทสำหรับบุคคลทั่วไป ภายในงานกาชาด 2565 ตั้งแต่วันที่ 8-18 ธันวาคม 2565 โดยเริ่มเปิดรับคิวกลุ่มแรกในเวลา 13.00 จนถึงเวลา 20.00 น. ณ บริเวณประตู 3 สวนลุมพินี ถนนพระราม 4 รับจำนวนจำกัดเพียง 770 คน หรือวันละ 70 คิวเท่านั้น (10 คิวต่อชั่วโมง)
ในส่วนของค่าใช้จ่ายการทำพาสปอร์ตที่งานกาชาด 2565 จะมีค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง ราคา 1,500 บาท สำหรับเล่ม 10 ปี และค่าธรรมเนียมราคา 1,000 บาท สำหรับเล่ม 5 ปี รวมค่าส่งเล่มหนังสือเดินทางผ่านไปรษณีย์ไทยแบบ อีเอ็มเอส ค่าบริการ 40 บาท ไม่เกิน 4-5 วันทำการครับ ทั้งนี้ผู้ที่สนใจทำพาสปอร์ตจะต้องเตรียมเอกสารและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนทำพาสปอร์ตใน “งานกาชาดประจำปี 2565”
สำหรับการทำพาสปอร์ตในงานกาชาด 2565 จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ การทำหนังสือเดินทางสำหรับผู้ที่บรรลุนิติภาวะ อายุ 20 ปีขึ้นไป, การขอยื่นทำหนังสือเดินทางสำหรับผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ อายุต่ำกว่า 20 ปีขึ้นไป, การทำพาสปอร์ตสำหรับพระภิกษุและสามเณร, การขอทำหนังสือเดินทางราชการ โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ตามนี้
1. เอกสารเพื่อทำพาสปอร์ตสำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป
การเตรียมเอกสารเพื่อทำพาสปอร์ต/หนังสือเดินทางสำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ กรณีการทำหนังสือเดินทางครั้งแรก, กรณีทำหนังสือเดินทางสูญหาย และกรณีหนังสือเดินทางหมดอายุแล้วหรือใกล้หมดอายุ
1. กรณีขอทำหนังสือเดินทางครั้งแรก
- เตรียมบัตรประชาชนฉบับจริง
2. กรณีหนังสือเดินทางสูญหาย
- บัตรประชาชนฉบับจริง
- ใบแจ้งความฉบับจริง
3. กรณีหนังสือเดินทางหมดอายุหรือใกล้หมออายุแล้ว
- บัตรประชาชนฉบับจริง
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
2. เอกสารเพื่อทำพาสปอร์ตสำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
การขอเอกสารเพื่อทำพาสปอร์ตในผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ แบ่งออกเป็น 6 กรณี ประกอบด้วย กรณีที่ 1 บิดามารดาอยู่ด้วยกัน, กรณีที่ 2 บิดามารดาหย่าร้างกัน กรณีที่ 3 บิดามารดา จดทะเบียนสมรสแต่แยกกันอยู่(ติดต่ออีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้),
กรณีที่ 4 บิดามารดา ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และแยกกันอยู่(ติดต่ออีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้), กรณีที่ 5 บุคคลที่ 3 เป็นผู้ปกครอง (ติดต่อบิดามารดาไม่ได้), กรณีที่ 6 จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ทั้งนี้ในแต่ละกรณีจะต้องเตรียมใช้เอกสารตามที่ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ระบุ ดังนี้
กรณีที่ 1 บิดามารดาอยู่ด้วยกัน
- สูติบัตรฉบับจริง
- บัตรประชาชนฉบับจริง (เฉพาะอายุ 7 ปี ขึ้นไป)
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
- บัตรประชาชนตัวจริงของบิดาและมารดา (กรณีชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือตัวจริง)
- เอกสารแสดงความเกี่ยวพันกัน และอำนาจปกครองบุตร
อย่างไรก็ตาม ทั้งบิดาและมารดาจะต้องมาแสดงตนเพื่อลงนามยินยามให้ผู้ยาว์ทำหนังสือเดินทาง ซึ่งหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถแสดงตน จะต้องมีหนังสือยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศและทำหนังสือเดินทางมาแสดงตนแทน หากบิดามารดาไม่สามารถแสดงตน จะต้องมีหนังสือยินยอมจากทั้งบิดาและมารดา (อาจทำในฉบับเดียวกัน) และมีหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น ปู่ย่า ตายาย ลุงป้าน้าอา พาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทาง (ไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจในกรณีที่ผู้เยาว์มีอายุ 15 ปีขึ้นไป)
กรณีที่ 2 บิดามารดาหย่าร้าง
- สูติบัตรฉบับจริง
- บัตรประชาชนฉบับจริง (เฉพาะอายุ 7 ปี ขึ้นไป)
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
- บัตรประชาชนตัวจริงของบิดาหรือมารดาผู้มีอํานาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (กรณีชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือเดินทางตัวจริง)
- เอกสารแสดงความเกี่ยวพันกัน และอํานาจปกครองบุตร
- ทะเบียนหย่าและบันทึกการหย่าที่ระบุว่าผู้ใดมีอํานาจปกครองบุตร ให้ผู้นั้นพาผู้เยาว์ไปทําหนังสือเดินทาง และกรณีที่มีอํานาจปกครอง บุตรร่วมกัน ทั้งบิดามารดาจะต้องลงนามยินยอม
ทั้งนี้ ผู้ที่มีอํานาจปกครองบุตรเพียงฝ่ายเดียวต้องมาแสดงตนเพื่อลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์ทําหนังสือเดินทาง
หากผู้ที่มีอํานาจปกครองบุตรเพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถมาแสดงตน จะต้องมีหนังสือยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศและทําหนังสือเดินทางมาแสดงแทน และมีหนังสือมอบอํานาจให้บุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น ปู่ย่า ตายาย ลุงป้าน้าอา พาผู้เยาว์ไปทําหนังสือเดินทาง (ไม่ต้องมีหนังสือมอบอํานาจในกรณีที่ผู้เยาว์มีอายุ 15 ปีขึ้นไป) หากบิดามารดายังมีอํานาจปกครองบุตรร่วมกันหลังการหย่า ทั้งบิดามารดาจะต้องมาแสดงตน
กรณีที่ 3 บิดามารดาจดทะเบียนสมรสแต่แยกกันอยู่ (ติดต่ออีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้)
- สูติบัตรฉบับจริง
- บัตรประชาชนฉบับจริง (เฉพาะอายุ 7 ปี ขึ้นไป)
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
- บัตรประชาชนตัวจริงของบิดาหรือมารดา (กรณีชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือเดินทางตัวจริง)
- อกสารแสดงความเกี่ยวพันกัน และอํานาจปกครองบุตร
- หากไม่สามารถติดต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ จะต้องมีคำสั่งศาลให้อีกฝ่ายหนึ่งมีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
มีข้อกำหนดว่า ทั้งบิดามารดาต้องมาแสดงตนเพื่อลงนามยินยามให้ผู้ยาว์ทำหนังสือเดินทาง หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถแสดงตน จะต้องมีหนังสือยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศและทำหนังสือเดินทางมาแสดงตนแทน หากบิดามารดาไม่สามารถแสดงตน จะต้องมีหนังสือยินยอมจากทั้งบิดาและมารดา (อาจทำในฉบับเดียวกัน) และมีหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น ปู่ย่า ตายาย ลุงป้าน้าอา พาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทาง (ไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจในกรณีที่ผู้เยาว์มีอายุ 15 ปีขึ้นไป)
กรณีที่ 4 มารดาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตร
- สูติบัตรฉบับจริง
- บัตรประชาชนฉบับจริง (เฉพาะอายุ 7 ปี ขึ้นไป)
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
- บัตรประชาชนตัวจริงของมารดา (กรณีชาวต่างชาติ ให้ใช้หนังสือเดินทางตัวจริง)
- หนังสือรับรองการใช้อํานาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค. 14) จากสํานักงานเขต/ที่ท่าการอําเภอ โดยกรณีไม่มี ปค. 14 สามารถใช้ เอกสาร 2 รายการนี้แทน ซึ่งเป็นเอกสารที่ออกโดยสํานักงานเขต/ที่ทําการอําเภอ ได้แก่
- (1) หลักฐานยืนยันว่ามารดาไม่เคยจดทะเบียนสมรส
- (2) เอกสารทางทะเบียนว่า บิดาไม่เคยจดทะเบียนรับรองบุตร
มารดาต้องมาแสดงตนเพื่อลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์ทําหนังสือเดินทาง หากมารดาไม่สามารถมาแสดงตน จะต้องมีหนังสือยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศและทําหนังสือเดินทางมาแสดงแทน และมีหนังสือมอบอํานาจ ให้บุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น ปู่ย่า ตายาย ลุงป้าน้าอา พาผู้เยาว์ไปทําหนังสือเดินทาง (ไม่ต้องมีหนังสือมอบอํานาจในกรณีที่ผู้เยาว์มีอายุ 15 ปีขึ้นไป)
กรณีที่ 4.1 บิดาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตร
- สูติบัตรฉบับจริง
- บัตรประชาชนฉบับจริง (เฉพาะอายุ 7 ปี ขึ้นไป)
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
- บัตรประชาชนตัวจริงของบิดา (กรณีชาวต่างชาติ ให้ใช้หนังสือเดินทางตัวจริง)
- หนังสือรับรองการใช้อํานาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
บิดาต้องมาแสดงตนเพื่อลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์ทําหนังสือเดินทาง หากบิดาไม่สามารถมาแสดงตน จะต้องมีหนังสือยินยอมให้บุตรเดินทางไปต่างประเทศและทําหนังสือเดินทางมาแสดงแทน และมีหนังสือมอบอํานาจ ให้บุคคลที่ 3 ซึ่งเป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น ปู่ย่า ตายาย ลุงป้าน้าอา พาผู้เยาว์ไปทําหนังสือเดินทาง (ไม่ต้องมีหนังสือมอบอํานาจในกรณีที่ผู้เยาว์มีอายุ 15 ปีขึ้นไป)
กรณีที่ 5 บุคคลที่ 3 เป็นผู้ปกครอง
- สูติบัตรฉบับจริง
- บัตรประชาชนฉบับจริง (เฉพาะอายุ 7 ปี ขึ้นไป)
- หนังสือเดินทางเล่เดิม (หากมี)
- บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ปกครอง
- คำสั่งศาลให้ผู้ปกครองมีอำนาจ ปกครองเด็กแทนบิดามารดา
กรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีผู้ปกครองตามกฎหมาย เช่น เด็กกำพร้าซึ่งอยู่ในความดูแลของหน่วยงาน/องค์กร แต่จำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศเพื่อแข่งขันกีฬา หรือแข่งขันด้านวิชาการ หน่วยงานที่ดูแลเด็กต้องทำหนังสือถึงผู้อำนวยการกองหนังสือเดินทาง เพื่อพิจารณาเป็นรายกรณี
กรณีที่ 6 จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
- สูติบัตรฉบับจริง
- บัตรประชาชนฉบับจริง (เฉพาะอายุ 7 ปี ขึ้นไป)
- หนังสือเดินทางเล่เดิม (หากมี)
- บัตรประชาชนฉบับจริงของบิดา/มารดา ที่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรม (กรณีชาวต่างชาติ ให้ใช้หนังสือเดินทางตัวจริง)
- ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (หากมี)
- ทะเบียนบุตรบุญธรรม (คร. 14) ฉบับจริง
3. เอกสารเพื่อขอทำพาสปอร์ตสำหรับพระภิกษุและสามเณร
เอกสารเพื่อขอทำพาสปอร์ตสำหรับพระภิกษุและสามเณรแบ่งจุดประสงค์ของการขอออกเป็น 2 แบบ คือการขอหนังสือเดินทางราชการเพื่อพระธรรมทูต และการของหนังสือเดินทางพระภิกษุและสามเณรประเภทบุคคลธรรมดา มีรายละเอียดดังนี้
3.1 หนังสือเดินทางราชการ สำหรับพระธรรมฑูต
- บัตรประชาชนฉบับจริงที่ระบุสถานะปัจจุบัน (หากมี)
- หนังสือสุทธิสำหรัรบพระภิกษุและสามเณรฉบับจริง
- ทะเบียนบ้าน/วัดที่มีชื่ออยู่ในปัจจุบัน
- มติมหาเถรสมาคม
- ใบตราทั้งสมณศักดิ์ (หากประสงค์ให้ระบุสมณศักดิ์ในหนังสือเดินทาง)
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
3.2 หนังสือเดินทางบุคคลธรรมดา 5 ปี
- บัตรประชาชนฉบับจริงที่ระบุสถานะปัจจุบัน (หากมี)
- หนังสือสุทธิสำหรับพระภิกษุและสามเณรฉบับจริง
- ทะเบียนบ้าน/วัดที่มีชื่ออยู่ในปัจจุบัน
- ใบ ศ.ต.ภ.
- ใบตราตั้งสมณศักดิ์
- หนังสือรับรองความประพฤติและให้ความยินยอมจากเจ้าอาวาสและประทับตราของวัด (กรณีสามเณร)
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
4. เอกสารเพื่อขอทำพาสปอร์ตราชการ
- เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน
- บัตรประจำตัวข้าราชการ
- หนังสือนำจากต้นสังกัดถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอทำหนังสือเดินทางราชการ
- สำเนาบันทึกอนุมัติให้เดินทางไปราชการในต่างประเทศ
- เอกสารอื่น ๆ เช่น สัญญาจ้างงาน (กรณีพนักงานมหาวิทยาลัย) คำนั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำหรับบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ไปราชการต่างประเทศ ต้องติดต่อฝ่ายหนังสือเดินทางทูตและราชการ โทร. 02 143 7680
- หนังสือเดินทางราชการเล่มเดิม (หากมี)
- หากประสงค์ขอหนังสือนำเพื่อขอรับการตรวจลงตรา โปรดระบุในหนังสือขอทำหนังสือเดินทางราชการด้วย