โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท น่ากลัวแค่ไหน มีทางรักษาหรือไม่
เคยหรือไม่บางครั้งนั่งทำงานอยู่ดีๆ เกิดปวดหลัง เจ็บแปลบๆ หรือแข้งขารู้สึกชา หรืออ่อนแรงขึ้นมาซะเฉยๆ บอกได้เลยว่านั่นคือความเสี่ยงจะเป็นโรคยอดฮิตคือ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเอามากๆ โดยเฉพาะปัจจุบัน โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท พบบ่อยในผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-50 ปี เรียกว่าพบตั้งแต่วัยทำงาน จนถึงวัยกลางคนเลยทีเดียว ส่วนสาเหตุการเกิดโรคก็มีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น อาจจะยกของหนัก ยกของผิดท่า อ้วน สูบบุหรี่จัด หรือแม้แต่การนั่งทำงานท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการปวดร้าว ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก วันนี้เราจะพาไปรู้จักโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท น่ากลัวแค่ไหน มีทางรักษาหรือไม่
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคืออะไร
ในร่างกายของคนเรานั้น หมอนรองกระดูกมีด้วยกัน 3 ส่วน ส่วนแรกอยู่ตรงกลางจะนุ่มเหมือนเจลลี่ ส่วนที่ 2 มีลักษณะคล้ายเอ็นอยู่รอบๆ และส่วนที่ 3 จะเป็นกระดูกอ่อนที่ติดกับกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่พยุงให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้สะดวก และคอยรับแรงกระแทกจากการที่กระดูกสันหลังทำงานหนัก รับน้ำหนักมาก หรือการนั่งผิดท่า หากหมอนรองกระดูกแตกและปลิ้นออกมาแล้วไปกดทับเส้นประสาท จะทำให้เกิดอาการปวดต่างๆ ตามมา ตั้งแต่ช่วงหลัง เอว สะโพก รวมถึงการปวดร้าวลงขา จนมีอาการชา หรืออ่อนแรงไปจนถึงปลายเท้า
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอันตรายแค่ไหน
หากรู้ตัวว่ามีอาการคล้าย ๆ หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท แล้วปล่อยไว้โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา จนเกิดอาการปวดมากขึ้น ก็มีความเสี่ยงจะกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง หรือปวดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหากหมอนรองกระดูกได้แล้วปลิ้นทับเส้นประสาท จนเกิดการลุกลามมากขึ้น จะส่งผลให้เกิดอาการชาตามแขน ขา หรือเท้า ทำให้รู้สึกอ่อนแรง และอาจถึงขั้นพิการได้เช่นกัน
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทรักษาอย่างไร
ในเบื้องต้น หากรู้ตัวว่ามีความเสี่ยงจะเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ก็สามารถรักษาด้วยตัวเองได้ แต่หากปล่อยไว้จนลุกลามเรื้อรัง ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธี แต่ในเบื้องต้นมีวิธีรักษา ดังนี้
- ลดน้ำหนัก น้ำหนักตัวมาก หรือน้ำหนักเยอะเกินไป เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดเป็นโรคหมอนรองกระดูก เพราะร่างกาย หรือกระดูกสันหลังต้องแบกรับน้ำหนักมากเกินไป การลดน้ำหนัก งดยกของหนัก พยายามอย่ายกของผิดท่า จะช่วยลดความเสี่ยงได้
- ทำกายภาพบำบัด หากเป็นอาการแรกเริ่ม การทำกายภาพบำบัดอย่างถูกวิธี รวมถึงการทำช็อกเวฟเพื่อคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยรักษาอาการโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ดีเช่นกัน แต่ต้องทำเป็นประจำเพื่อลดอาการปวดให้เบาบางลงไป
- กินยาแก้ปวด ผู้ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถรักษาอาการเบื้องต้นได้ด้วยกินยาแก้ปวด ยาลดอาการปวดอักเสบต่างๆ ยาลดความปวดของระบบประสาท หรือยาคลายกล้ามเนื้อ
- ผ่าตัด หากมีอาการปวดต่อเนื่อง ดูแลด้วยวิธีข้างต้นแล้วไม่ได้ผล จนมีอาการหนักมากขึ้น ส่งผลในการใช้ชีวิตประจำวันลำบาก ขยับตัวทีไรก็ปวด หรือมีอาการชา แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์โดยทันที เพื่อทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียดด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI เพื่อวางแผนการรักษา รวมถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด
ในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคน ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ทั้งสิ้น หลายๆ คนอาจจะเป็นโดยที่ไม่ทันรู้ตัว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน จัดท่านั่ง หรือท่าทางให้ถูกลักษณะ หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหมอนรองกระดูกได้ดีที่สุด ส่วนใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรืออยากทราบแนวทางการป้องกันและการรักษา แนะนำให้เข้าไปอ่านข้อมูลดีๆ ได้ที่ KDMS โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข ที่มีประสบการณ์ในการวินิจฉัยโรค การผ่าตัด การทำกายภาพบำบัด รักษาคนไข้โรคกระดูก ข้อและกล้ามเนื้ออย่างมีประสิทธิภาพ บริการด้วยความจริงใจ พร้อมแก้ปัญหาอย่างใส่ใจในสิ่งที่ผู้รับบริการคาดไม่ถึง