สุขภาพและการแพทย์

“โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ” เช็กสัญญาณเตือน เสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว

เช็กสัญญาณเตือน โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) เสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว รีบตรวจให้ดี หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

หัวใจ อวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย และเป็นเรื่องที่น่าห่วงอย่างยิ่งหากเกิดปัญหากับอวัยะสำคัญนี้ โดยเฉพาะ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่เกิดจากพฤติกรรม เช่น สูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ เครียด อันส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ฉะนั้นรีบสังเกตอาการเสี่ยงเพื่อรักษา ได้แก่ หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น แน่นหน้าอก ใครมีอาการตามนี้รีบไปหาหมอด่วน !!!

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือภาษาอังกฤษ Arrhythmia เกิดจากการมีจุด หรือ ตําแหน่งในหัวใจ เกิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ หรือมีการลัดวงจรของไฟฟ้าในหัวใจ ซึ่งจะมีผลต่อการหมุนเวียนเลือดบริเวณที่เกิดกระแสไฟฟ้าผิดปกติ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด ทําให้มีภาวะเลือดตกค้าง และเกิดลิ่มเลือดขึ้นในช่องหัวใจ โดยลิ่มเลือดนั้นมีโอกาสที่จะหลุดจากหัวใจ ไปตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยส่วนใหญ่ มักจะหลุดไปที่สมอง ทําให้เส้นเลือดสมองอุดตัน และอาจเกิดภาวะอัมพาตในที่สุด

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สาเหตุของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ปัจจัยที่ทําให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเกิดจากความเครียด วิตกกังวลเกินไป พักผ่อนไม่พอ การดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มชูกําลัง หรือเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ หรือยาบางชนิด อาจะทําให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล

โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งวิธีหลีกเลี่ยง คือ การพยายามลด พฤติกรรมที่กล่าวมาเหล่านี้ และหมั่นออกกําลังกายเพื่อหัวใจแข็งแรง

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ
  • โรคประจำตัว ได้แก่ ไทรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไตวายเรื้อรัง และโรคนอนกรนร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นต้น
  • ยาแก้หวัดบางชนิด ที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสม ได้แก่ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และแอลกอฮอล์
  • ยาเสพติดบางชนิด ที่มีแอมเฟตามีนผสม
  • ยาลดน้ำหนัก ที่มีส่วนผสมของไซบูทรามีน
  • พันธุกรรม

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เช็กอาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจที่เต้นผิดจังหวะ จะทําให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผิดปกติ จึงเกิดอาการเหล่านี้

  • ใจสั่นผิดปกติ
  • วูบ
  • หน้ามืด
  • เป็นลม
  • จุกแน่นขึ้นคอ ลิ้นปี
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • นอนราบไม่ได้

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การวินิจฉัย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

เบื้องต้นการทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง การทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยการติดอุปกรณ์ไว้ที่หัวใจและแขน ขา ทั้งสองข้าง และมีแผ่นกระดาษที่ปริ้นออกมา แล้วทำให้เราเห็นเป็นคลื่นไฟฟ้า หรืออาจมีการเอาอุปกรณ์ติดไปบ้านให้ไปทำกิจวัตรประจำวัน แล้วติดไว้อาจจะ 24 ชั่วโมงหรือ 48 ชั่วโมง

บางครั้งอาจจะมีการเจาะเลือดหาสาเหตุอื่น ๆ หรืออาจจะมีการเดินสายพานดูสมรรถภาพหัวใจ หรืออาจะมีการทำคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ เพื่อดูว่าการทำงานของหัวใจเป็นอย่างไร ถ้าเกิดยังหาสาเหตุไม่พบ อาจจะมีการทำการสวนหัวใจเข้าไปดูภาวะการเดินวงจรของไฟฟ้าในหัวใจ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

1. คลื่นไฟฟ้า แพทย์จะเจาะเส้นเลือดบริเวณต้นขาของคนไข้ แล้วสอดสายสวนหัวใจเข้าไปหาตําแหน่งไฟฟ้าในหัวใจที่ลัดวงจร จากนั้นจะปล่อยกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ เข้าไปทําให้อุณหภูมิที่ปลายสวนหัวใจสูงขึ้นจาก 37 องศาเซลเซียส เป็น 50 – 60 องศาเซลเซียส การรักษาด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยจะใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1 – 2 วัน

2. การให้ยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ

3. เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ใส่ในกรณีที่ผู้ป่วยหัวใจเต้นช้ามากผิดปกติ มี 2 แบบคือ ชนิดกระตุ้นห้องเดียวและสองห้อง การเลือกฝังเครื่องขึ้นอยู่กับผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยแบตเตอรี่ใช้งานได้ 10 ปีขึ้นไปและเข้าเครื่อง MRI ได้

4. การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยสายสวนหัวใจชนิดพิเศษ สวนเข้าไปบริเวณเส้นเลือดดำที่ขาหนีบ

5. เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติหรือเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AICD) กรณีที่ผู้ป่วยหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ หากหัวใจไม่กลับมาเต้นตามปกติในเวลาที่รวดเร็วอาจเสียชีวิตได้ แบตเตอรี่จะมีอายุใช้งาน 7 – 8 ปีขึ้นไป หากหัวใจเต้นผิดจังหวะและมีอันตรายถึงชีวิต เครื่องจะกระตุกหัวใจอัตโนมัติให้ผู้ป่วยฟื้น

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

วิธีป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 45 นาที/วัน 3 – 5 วัน/สัปดาห์
  • ทานอาหารครบ 5 หมู่
  • อย่าทานอาหารหวาน มัน เค็มมาก และควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6 – 8 ชั่วโมง/วัน และไม่เครียดจนเกินไป
  • ตรวจสุขภาพทุกปี
  • หากมีโรคประจำตัวควรติดตามอาการกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

ขอบคุณข้อมูล 1 2

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สนใจลงโฆษณา บทความ Backlink กับ Thaiger ติดต่อคุณโอ๋ orakarn@thethaiger.com

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button