รู้จักโรค ‘RSV’ ภัยร้ายใกล้ตัวเด็ก ยังไม่มียา-วัคซีนป้องกัน
พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม โรค RSV ภัยร้ายใกล้ตัวเด็ก เริ่มเข้าสู่ช่วงระบาด ยังไม่มียา-วัคซีนป้องกัน คร่าชีวิตเด็กโคราชแล้ว 1 ราย
เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 หมอจิรรุจน์ ได้ออกมาเผยว่า ไวรัส RSV คร่าชีวิตเด็กแล้ว 1 รายถือเป็นการเปิดฤดูการระบาดในเมืองนครราชสีมา ตามรายงานล่าสุดแพทย์ยังไม่มียารักษา และไม่มีวัคซีนป้องกัน ทำได้เพียงแค่รู้จักกับ โรค RSV ให้มากขึ้นเพื่อให้คนเป็นพ่อแม่เฝ้าระวังและดูและคุณลูกอย่างใกล้ชิด
โรค RSV คืออะไร ?
ไวรัส RSV เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อเต็มว่า Respiratory syncytial virus เป็นสาเหตุของไข้หวัด หลอดลมอักเสบ มักพบได้บ่อยในเด็ก โดยทั่วไปอาการจะไม่รุนแรงและจะหายป่วยได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่อาจจะพบว่ามีอาการรุนแรงได้ในเด็กเล็ก โดย เฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคปอด
นอกจากนี้การติดเชื้อไว รัสอาร์เอสวีในผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงเช่น เดียวกับเด็กเล็กได้ อาการของการติดเชื้อไวรัส RSV
อาการของผู้ติดเชื้อไวรัส RSV
อาการโดยทั่วไปอาจเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา แต่อาการ จำเพาะของเชื้อนี้ที่มักพบในเด็กเล็กคือ หลอดลมฝอย อักเสบ ซึ่งจะทำให้เด็กมีอาการคล้ายหอบหืด อาการที่พบมี ดังนี้
- มีไข้ ไอ จาม และน้ำมูก
- รับประทานอาหารได้น้อยลง
- หายใจหอบเหนื่อย อกบุ๋ม ได้ยินเสียงปอดผิด ปกติ เสียงหายใจดังวูด
- อาจจะพบอาการร้องกวน ซึมลง ในเด็กทารก
การแพร่กระจายของโรค RSV
ไวรัสอาร์เอสวีติดต่อจากการไอจาม โดยการ สัมผัสน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย เชื้อไวรัสอาร์เอสวีเข้าผ่าน ทางจมูก ปาก และเยื่อบุตาทำให้เกิดโรค นอกจากนี้ยังสามารถได้รับเชื้อจากการสัมผัสสิ่งของ เช่น ของเล่น ภาชนะ เฟอร์นิเจอร์ที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส RSV สามารถแพร่กระจายเชื้อ ได้นาน 3 – 8 วัน เด็กทั่วไปสามารถรับเชื้อได้จากนอกบ้าน เช่น โรงเรียน ศูนย์เลี้ยงเด็ก และยังสามารถแพร่เชื้อต่อให้กับบุคคลอื่นในบ้านได้
วิธีการรักษา
ในขณะนี้ยังไม่มีการรักษาสำหรับการติดไวรัส RSV จะเน้นการรักษาตามอาการ เช่น การทานยาลดไข้ ยาแก้ไอละลายเสมหะ การดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะการขาดน้ำและรักษาร่างกายให้อบอุ่น ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงสามารถทานยาและพักผ่อนที่บ้านได้
ผู้ป่วยเด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคอื่นๆร่วม และผู้สูงอายุจัด ว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะมีอาการรุนแรงได้ มักจะมีอาการ ไข้สูง ซึมลง มีภาวะหายใจหอบเหนื่อยหรือภาวะการขาดน้ำ แนะนำให้พามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล การรักษาในโรงพยาบาลจะเน้น รักษาตามอาการ เช่น มีการให้ออกซิเจนในรายที่มีอาการ หอบเหนื่อย การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในรายที่มีภาวะ การขาดน้ำและอาจมีการพ่นยาขยายหลอดลม เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูล siphhospital