อัพเดท ‘สิทธิบัตรทอง 30 บาท’ รักษาฟรีทุกโรค ครอบคลุมอะไรบ้าง
สิทธิบัตรทอง 30 บาท รักษาฟรีทุกโรค ครอบคลุมอะไรบ้าง ค่าบริการ ค่ายา ต้องเสียเงินหรือไม่ บุคคลใดบ้างที่ได้รับการยกเว้น เช็คที่นี่
ไขข้อสงสัย สิทธิบัตรทอง 30 บาท หรือ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ครอบคลุมอะไรบ้าง รักษาฟรีจริงหรือไม่ ได้แก่กลุ่มโรคอะไรบ้าง หลังจากล่าสุด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ออกประกาศเรื่องการลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้ป่วยที่ต้องใช้ค่ารักษาสูง และผู้ที่ไม่มีกำลังทรัพย์ในการจ่ายค่ารักษา
สิทธิบัตรทอง 30 บาท ครอบคลุมกลุ่มโรค บริการ และบุคคลใดบ้าง?
ประชาชนผู้ถือ บัตรทอง 30 บาท สามารถใช้สิทธิ์เข้ารับบริการการตรวจ การวินิจฉัยโรคต่าง ๆ และการรักษาพยาบาล ได้ดังนี้
- โรคทั่วไป เช่น โรคไข้หวัด
- โรคเรื้อรัง หรือโรคเฉพาะทาง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคเอชไอวี วัณโรค
- การผ่าตัดใหญ่ต่าง ๆ เช่น ผ่าตัดสมอง ผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา ผ่าตัดรักษาข้อเข่า
- หญิงตั้งครรภ์ สามารถรับบริการการคลอดบุตรได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ค่าอาหารและค่าห้องสามัญระหว่างการพักรักษาตัวที่หน่วยบริการ แม้กระทั่งกรณีการจัดการการส่งต่อเพื่อรักษาระหว่างหน่วยบริการก็ครอบคลุม
- บริการทันตกรรมครบวงจร เช่น อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคฟันผุ การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม การเคลือบหลุมร่องฟัน การผ่าฟันคุด ใส่เพดานเทียมเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ และการทำฟันปลอมฐานพลาสติก สามารถทำได้ฟรี
- การรักษาแบบการแพทย์แผนไทย ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ได้แก่
– ยาสมุนไพรหรือยาแผนไทย
– การนวดเพื่อการรักษาและทับหม้อเกลือ
– ฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอด
– การอบหรือประคบสมุนไพรเพื่อการรักษา - บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ เช่น กายภาพบำบัด จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด กิจกรรมบำบัด ฟื้นฟูการได้ยิน ฟื้นฟูการมองเห็น และรับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการ
ประชาชนผู้ถือบัตรทอง 30 บาท สามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลและรับยาได้จาก โรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั่วประเทศ ตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไป (มีเตียงนอน 10 เตียงขึ้นไป) โดยต้องจ่ายเงินจำนวน 30 บาทต่อครั้ง แต่ยกเว้นค่าใช้จ่ายแก่บุคคล 20 กลุ่มตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ดังนี้
- ผู้มีรายได้น้อย รวมถึงผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- ผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และแพทย์ประจำตำบล
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
- ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์
- เด็กอายุไม่เกิน 12 ปีบริบูรณ์
- คนพิการตามกฏหมายว่าด้วยส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- พระภิกษุ สามเณร แม่ชี ในพระพุทธศาสนา ผู้นำศาสนาอิสลาม ซึ่งมีหนังสือรับรอง
- ทหารผ่านศึกทุกระดับชั้น ที่มีบัตรทหารผ่านศึก
- นักเรียนไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
- นักเรียนทหารและทหารเกณฑ์
- ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรป และบุคคลในครอบครัว
- อาสาสมัครมาเลเลีย ตามโครงการของกระทรวงงสาธารณสุข และบุคคลในครอบครัว
- ช่างสุขภัณฑ์หมู่บ้านตามโครงการขอองกรมอนามัย และบุคคลในครอบครัว
- ผู้บริหารโรงเรียน และครูของโรงเรียนเอกชนที่สอนศาสนาอิสลามควบคู่กับวิชาสามัญหรือวิชาชีพ และบุคคลในครอบครัว
- ผู้ได้รับเหรียญราชการชายแดน
- ผู้ได้รับเหรียญพิทักษ์เสรีชน
- สมาชิกผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย ซึ่งมีหนังสือรับรองตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป
- หมออาสาหมู่บ้าน ตามโครงการกระทรวงกลาโหม
- อาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรววงยุติธรรม
- อาสาสมัครทหารพราน ในสังกัดกองทัพบก
และผู้ที่มีความประสงค์ไม่จ่ายค่าบริการ 30 บาท สามารถแจ้งความจำนงไม่จ่ายค่าบริการได้ที่หน่วยบริการ
สิ่งที่ไม่ครอบคลุมและไม่สามารถเบิกสิทธิบัตรทอง 30 บาท
- บริการความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- การตรวจวินิจฉัยและการรักษาที่เกินความจำเป็นจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง
- การปลูกถ่ายอวัยวะที่ไม่ปรากฎตามบัญชีแนบท้าย
- การบริการทางการแพทย์อื่นตามที่บอร์ด สปสช. กำหนด
วิธีเช็คสิทธิรักษาพยาบาล บัตรทอง 30 บาท ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
- สายด่วน สปสช. 1330 กด 2
- เว็บไซต์ สปสช.
- แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิตนเอง
- ไลน์ สปสช. @nhso เลือกเมนู ตรวจสอบสิทธิ
- ผู้ป่วยโควิด สิทธิบัตรทอง รีบเช็ค แอปฯ คลิกนิก ส่งโมลนูพิราเวียร์ กลุ่ม 608 เริ่มแล้ว
- ปัญหาสิทธิบัตรทอง สปสช. เปิดแจ้งเรื่องผ่านแอปฯ ‘ทราฟฟี่ฟองดูว์’ เริ่มวันนี้
- สปสช. แจงกรณี รพ.มงกุฎวัฒนะ ขอคืน สิทธิบัตรทอง ชี้แออัดเกิน