ข่าวข่าวภูมิภาคเศรษฐกิจ

พ.ร.บ. พืชกระท่อม มีผลบังคับใช้งานแล้ว เมื่อ 27 ส.ค. นี้

รองโฆษกรัฐบาล ประกาศถึงการมีผลบังคับใช้งานแล้วเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2565 ของ พ.ร.บ. พืชกระท่อม โดยมีการกำหนดข้อแม้ในการใช้งานต่าง ๆ นานา เช่น ห้ามขายแก่เด็กต่ำกว่า 18, หญิงมีครรภ์/ให้นมบุตร เป็นต้น

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2565 รองโฆษกรัฐบาล ได้ประกาศว่า พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565 หรือ พ.ร.บ. พืชกระท่อม นั้น มีผลบังคับใช้งานภายในวันเดียวกัน โดยตัวกฎหมายนั้นก็ได้มีการกำหนดนิยาม, ขอบเขตที่กฎหมายครอบคลุม และข้อแม้/ข้อจำกัดต่าง ๆ อย่างเป็นทางการอีกด้วย

Advertisements

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ โดย กฎหมายให้นิยามใบกระท่อม หมายความถึง ใบของพืชกระท่อม และให้รวมถึงน้ำต้มใบของพืชกระท่อมและสารสกัดท่ีได้จากใบของพืชกระท่อม สาระของกฎหมายครอบคลุม การขออนุญาต การนำเข้าส่งออกใบกระท่อม การพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาต การคุ้มครองบุคคลซึ่งอาจไดร้บอันตรายจากการบริโภคใบกระท่อม และการป้องกันการใช้ใบกระท่อมในทางที่ผิด บทกำหนดโทษ จึงขอให้ประชาชนศึกษากฎหมายให้ดี เพื่อการใช้พืชกระท่อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ตัวอย่าง บางมาตรา ในพระราชบัญญัติ มีดังนี้

– มาตรา 3 การใช้ใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพรยาตามกฎหมายว่าด้วยยา อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร เครื่องสำอางตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องสาอาง หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดตามท่ีมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้ รวมถึงการนำเข้า การส่งออก การขาย และการโฆษณา ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการน้ัน เว้นแต่กรณีที่บัญญัติไว้ในหมวด 5 การคุ้มครองบุคคลซึ่งอาจได้รับอันตรายจาก การบริโภคใบกระท่อมและการป้องกันการใช้ใบกระท่อมในทางที่ผิด

– มาตรา 10 ผู้ใดประสงค์จะนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อมต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ซึ่งหมายถึง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดมอบหมาย

– มาตรา 24 ห้ามผู้ใดขายใบกระท่อมหรืออาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระทอ่ม เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบแก่บุคคล ดังต่อไปนี้

Advertisements
  1. บุคคลซึ่งมีอายุต่ากว่าสิบแปดปี
  2. สตรีมีครรภ์
  3. สตรีให้นมบุตร
  4. บุคคลอื่นใดตามท่ีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันประกาศกำหนด

– มาตรา 25 ห้ามผู้ใดขายใบกระท่อมในสถานที่ โดยวิธีการ หรือในลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

  1. สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
  2. หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก
  3. สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
  4. ขายโดยใช้เครื่องขาย
  5. ขายในสถานที่โดยวิธีการหรือในลักษณะอื่นใดตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุตธิรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมกันประกาศกาหนด

– มาตรา 26 ห้ามผู้ใดโฆษณาหรือทำการสื่อสารการตลาดใบกระท่อมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจสาธารณชนให้บริโภคใบกระท่อมท่ีปรุงหรือผสมกับยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย หรือวัตถุอื่นใดตามที่กาหนดไว้ในมาตรา 27

– มาตรา 33 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 24 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท

– มาตรา 34 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 25 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท

นางสาวรัชดา กล่าวต่อว่า กฏหมายยังกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนประชาชนในการเพาะปลูก หรือแปรรูปพืชกระท่อม เพื่อใช้ตามวิถีชุมชน และในการพัฒนาให้เป็นพืชที่มีมูลค่าในทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาท้ังการเพาะปลูกและแปรรูป หรือการพัฒนาสายพันธ์ุของพืชกระท่อม การผลิต การจัดการ และการตลาดด้วย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้พืชกระท่อมเป็นพืชเศรษฐกิจ ผลักดันให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้พืชกระท่อมในทางการแพทย์ และสร้างรายได้แก่เกษตรกร ขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและขยายกระท่อมพันธุ์ดี แจกจ่ายแก่เกษตรกรหลายแสนต้นไปแล้ว เพื่อให้ปลูกเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านในครัวเรือน และสามารถนำไปพัฒนาอาชีพเป็นพืชทางเลือกในอนาคต

นางสาวรัชดา กล่าวปิดท้ายไว้ว่า “ขอให้ประชาชนศึกษากฏหมายเพื่อให้การใช้พืชกระท่อมเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ โดยไม่เสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย”

 

แหล่งที่มาของข่าว : รัฐบาลไทย

สามารถติดตามข่าวเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวเศรษฐกิจ

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button