‘อ้วน รังสิต’ ห่วงลูกชาย ‘น้องโรฮา’ ปวดท้องหนักเข้าโรงพยาบาล
อ้วน รังสิต ห่วงลูกชาย น้องโรฮา ปวดท้องอย่างหนัก ต้องรีบพาเข้าโรงพยาบาล เปลี่ยนหมอ 3 คนในวันเดียว ก่อนตรวจเจอว่าเป็นโรคภาวะลำไส้กลืนกัน เตือนพ่อแม่ให้ดูบุตรหลานในดี ๆ
ทำเอาคุณพ่ออย่าง อ้วน รังสิต ศิรนานนท์ ห่วงลูกชาย น้องโรฮา เป็นอย่างมาก หลังต้องรีบเข้าเข้าโรงพยาบาล เนื่องจากมีอาการปวดท้องอย่างหนัก และได้มีการเปลี่ยนหมอถึง 3 คนในวันเดียว แต่ไม่พบอะไร จนคุณแม่อย่าง มะม่วง พัคฮยอนซอน ขอคุณหมออัลตราซาวด์จึงสรุปได้ว่าน้องโรฮามี ภาวะโรคลำไส้กลืนกัน นั่นเอง
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565 อ้วน รังสิต ได้โพสต์ภาพผ่านทาง Instagram ส่วนตัว auan_rangsit เผยภาพลูกชายอย่างน้องโรฮา กำลังนอนอยู่บนเตียง สวมชุดโรงพยาบาล ก่อนจะเล่าว่า ลูกชายมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง แต่เมื่อตรวจกลับไม่พบอะไร
จนเมื่อคุณแม่มะม่วงเกิดสงสัยว่าลูกอาจจะเป็นโรคลำไส้กลืนกัน จึงได้ขอหมอตรวจอัลตราซาวด์ ก่อนพบว่าน้องโรฮาเป็นโรคดังกล่าวนั่นเอง พร้อมเตือนผู้ปกครองท่านอื่นให้ตรวจเช็คร่างกายลูกตัวเองให้ดี พร้อมเขียนแคปชั่น ใจความว่า
“ตั้งแต่เมื่อวานโรฮาปวดท้องแล้วไปหาหมอมา 3 คนภายในวันเดียว หมอบอกไม่เป็นไร ไม่มีไรน่าห่วง กลับมาบ้านแต่ก็ยังคงปวดท้องเป็นระยะ จะปวดมากทุกครั้งที่กินอาหาร สุดท้ายมาอีกครั้งและออมม่าขอให้หมออัลตราซาวด์ถึงเห็นว่ามีภาวะลำไส้กลืนกันอย่างที่ออมม่าคิด
สรุปงานนี้ออมม่าวิเคราะห์เก่งกว่าหมอ คุณแม่ทุกคนต้องสังเกตอาการลูกน้อยกันดี ๆ ด้วยน้า อย่าปล่อยผ่านง่าย ๆ ไม่งั้นอาการจะยิ่งแย่อาจถึงขั้นต้องผ่าตัด สุดท้ายคือสงสารเด็กน้อยมาก ถูกจับล็อกทั้งวัน ตะโกนจนหมดแรงเลย หายไว ๆ แล้วกลับไปฉลองวันเกิดน้าเจ้าโรฮา”
หลังจากที่หนุ่มอ้วนได้โพสต์ภาพและข้อความสุดห่วงใยบลูกชายอย่างน้องโรฮาไปนั้น ไม่นานคนบันเทิงมากมายก็ได้เข้ามาคอมเมนต์แสดงความเป็นห่วงกับครอบครัวอย่างมากมาย พร้อมอวยพรให้น้องโรฮานั้นหายป่วยอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเหล่าแฟนคลับครอบครัวนี้ก็ได้เข้ามาอวยพรให้น้องโรฮาหายป่วยและกลับมาสดใสไว ๆ
ทั้งนี้ โรคลำไส้กลืนกัน คือ ภาวะที่ลำไส้ส่วนต้นมุดเข้าสู่โพรงของลำไส้ส่วนที่อยู่ถัดไปทางด้านปลาย เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เพราะถ้าลำไส้กลืนกันอยู่เป็นเวลานาน
จะเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดจนเกิดการเน่า ลำไส้แตกทะลุ และเยื่อบุช่องท้องอักเสบ รวมทั้งติดเชื้อในกระแสเลือดและอาจจะเสียชีวิตได้ มักเกิดขึ้นกับเด็กวัย 3 เดือน ถึง 2 ปี ที่เป็นวัยที่เสี่ยงที่สุด