เตือนภัย ‘โรคไต’ อาการนี้ใช่หรือไม่? ไขข้อสงสัย โรคไตไม่ได้แค่กินเค็ม
เตือนภัย !!! โรคไต อันตรายกว่าที่คิด สังเกตุ 10 อาการ เสี่ยงนำไปสู่โรคร้ายที่คร่าชีวิต แม้ไม่กินเค็มก็เป็นโรคไตได้ มีกี่ระยะ ห้ามกินอะไร ไขข้อสงสัยกัน
“กินเค็มจนเป็นโรคไต” เชื่อว่าตั้งแต่เด็กทุกคนอาจเคยได้ยินผู้ใหญ่เตือนอยู่บ่อย ๆ ซึ่ง ไต เป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญมากกับร่างกาย ทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย ดังนั้นแล้ว การดูแลไต จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องให้ความสำคัญ เพื่อที่ไตจะได้คงสภาพการทำงานต่อไปได้ เพราะฉะนั้นหากมี อาการ เหล่านี้ของแนะนำให้คุณรีบตรวจสุขภาพด่วน เพราะคุณอาจเข้าข่ายผู้ป่วย โรคไต ก็เป็นได้
- เตือนภัยสึนามิในไทย นักท่องเที่ยวตื่นตัวจนเป็นไวรัล เจ้าของภาษาแห่คอมเมนต์เพียบ
- สุดอาลัย ‘โป๊งเหน่ง เชิญยิ้ม’ เสียชีวิตแล้ว ด้วยโรคไตวายเฉียบพลัน
- สมาคมโรคไตฯ ชี้สิทธิเลือกวิธีล้างไตเป็นนโยบายที่ดี มองผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
ส่องอาการ โรคไต ไขข้อสงสัย โรคไตมีกี่ระยะ ห้ามกินอะไรบ้าง กินเค็มได้ไหม ?
| โรคไต เกิดจากสาเหตุอะไร ?
โรคไต นั้นเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งปัจจัยด้านพันธุกรรม ด้านพฤติกรรม และด้านสิ่งแวดล้อม โดยในปัจจุบันพบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดไตวายเรื้อรังบ่อยที่สุดคือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และนิ่วในทางเดินปัสสาว
สำหรับสาเหตุของโรคไตที่สำคัญ ที่มักพบในประเทศไทยอีกสาเหตุหนึ่ง คือ การกินยาที่มีผลต่อการทำงานของไต ส่วนใหญ่มักเป้นการกินยาแก้ปวดปริมาณมาก หรือการกินยาสมุนไพรบางชนิด ในผู้ที่เริ่มมีความบกพร่องของไต
| โรคไต อาการ อย่างไรบ้าง ?
ผู้ที่เริ่มมี อาการ โรคไต ในช่วงแรก ผู้ป่วยแทบไม่มีสัญญาณเตือน โดยอาการมักจะปรากฏในช่วงระยะท้าย ๆ เนื่องจากไตได้รับความเสียหายไปมากแล้ว ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคไตมักจะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้
- ปัสสาวะเป็นเลือด ปกติแล้วปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองเข้ม ขึ้นอยู่กับปริมาณการดื่มน้ำในขณะนั้น แต่ถ้าพบว่าปัสสาวะมีเลือดปน อาจจะเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเกิดเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
- ปัสสาวะเป็นฟอง เกิดจากการมีโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งมักเป็นอาการของภาวะโรคไตเรื้อรัง
- ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ ผู้ที่ไตมีความผิดปกติ เช่น โรคไตเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถดูดน้ำกลับเก็บในกระเพาะปัสสาวะได้ปกติ จึงทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
- มีอาการบวมของหน้า มือ และเท้า
- รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ
- ผู้ป่วยบางรายน้ำหนักลด แต่ก็ยังมีบางราย ที่ผู้ป่วยอาจจะตัวบวม น้ำหนักขึ้นก็ได้
- เมือคลำบริเวณไต จะพบก้อนเนื้อ บริเวณไต
- ผิวหนังจะซีด คัน มีจ้ำเลือดขึ้นง่าย
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้
- ปากขม จนไม่สามารถรับรสอาหารได้
| ผู้ป่วยโรคไต กินอะไรได้บ้าง ?
สำหรับการดูแลสุขภาพไตให้แข็งแรง สามารถทำได้โดยเน้นการรับประทานอาหารเหล่านี้
- เนื้อสัตว์ ควรรับประทานจำพวกปลาทะเลน้ำลึกที่มีไขมันต่ำ และโอเมก้า 3 หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน
- ระบประทานไข่ขาววันละ 2 – 3 ฟอง
- เลือกใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนล่า และน้ำมันมะกอก
- รับประทานผลไม้ที่มีโพแทสเซียม ผักและผลไม้ที่มีสีอ่อน เช่น แอปเปิ้ล องุ่น ชมพู่ แตงกวา เป็นต้น
- ดื่มน้ำเปล่า หรือน้ำสมุนไพรไม่หวานจัด เช่น น้ำใบเตย น้ำอัญชัน เป็นต้น
- ใช้วิธีการย่าง ต้ม และอบแทนวิธีการทอด
| ผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรกินอะไร ? กินเค็มได้ไหม ?
สำหรับผู้ป่วยโรคไต นอกจากควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มแล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังนี้
- อาหารที่มีโซเดียมและอาหารที่มีรสเค็มเช่นผงชูรส ผงปรุงรส และซอสต่าง ๆ
- อาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า ผักกาดดอง
- เนื้อสัตว์ปรุงรสหรืออาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ เบคอน
- อาหารกระป๋อง เช่น อาหารกึ่งสำเร็จรูปผลไม้กระป๋องปลากระป๋องเป็นต้นเพราะอาหารพวกนี้จะใส่อาหารสารกันบูดและมีปริมาณโซเดียมสูงมาก
- อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงจากไขมันอิ่มตัวของพืชและสัตว์ เช่น กะทิ ไข่แดง หมูสามชั้น
- อาหารที่มีส่วนผสมของเนยและครีม เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมปัง รวมถึงของหวาน ขนมที่ใส่กะทิ
- เนื้อสัตว์ติดมัน
| วิธีการรักษาโรคไต
โดนทั่วไปแล้วนั้น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต จะมีวิธีการรักษา 2 ทางเลือก คือ รักษาตามอาการ เช่น การรับประทานยา และควบคุมความดันโลหิตให้เหมาะสม ลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงยาบางประเภท
วิธีต่อมาคือ รักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เพื่อช่วยขจัดของเสียทดแทนไตที่เสียไป สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
การฟอดเลือด เพื่อทำให้เลือดสะอาดโดยใช้ระยะเวลา 4 – 5 ชั่วโมง 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์
การฟอกไตผ่านทางช่องท้อง อาศัยช่องท้องในการฟอกเลือด โดยจะฟอกวันละ 4 รอบ
การปลูกถ่ายไต โดยการนำไตจากผู้บริจาคใส่เชิงกรานของผู้รับไต