
วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
ร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ผู้ทรงก่อตั้งมูลนิธิจุฬาภรณ์ หรือในปัจจุบันคือ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ พระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ผู้ทรงเครื่องดนตรี “กู่เจิง” สานสัมพันธ์สองแผ่นดินไทย-จีน
- เตรียมตัวให้พร้อม คอนเสิร์ต Kamikaze Party 2022 เปิดจำหน่ายบัตร 30 กรกฎาคม นี้
- วันหยุดเดือนกรกฎาคม 2565 วันหยุดธนาคาร ดูก่อนไปกดเงินเสียเที่ยว ที่นี่
- ปฏิทิน วันพระเดือนกรกฎาคม 2565 วันสำคัญทางศาสนา ตรงกับวันไหน มีวันหยุดไหม

4 กรกฎาคม วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ
| พระราชประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ปัจจุบันมีพระชนมายุ 65 พรรษา เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นพระโสทรกนิษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ทรงประสูติ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต มีพระธิดา 2 พระองค์ คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ
ทรงเป็นเจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นของโลกในสาขาสารเคมีก่อมะเร็ง และพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ทรงก่อตั้งสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ปัจจุบันทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์ประธานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นายกสภาสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็ง ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

| พระราชประวัติ การศึกษาสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์
เมื่อครั้งยังวัยเยาว์ ทรงเข้าศึกษาระดับชั้นเตรียมประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาจากโรงเรียนจิตรลดา เกียรตินิยมอันดับ 1 วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาเคมี) จากคณะวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาเคมีอินทรีย์) จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทรงทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “Part I: Constituents of Boesenbergia pandurata (yellow rhizome) (Zingiberaceae). Part II: Additions of lithio chloromethyl phenyl sulfoxide to aldimines and alpha,beta-unsaturated compounds”
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงานวิจัยเรื่อง “Molecular Genetic Studies and Preliminary Culture Experiments of Scallops Bivalve: Pectinidae) in Thailand”
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาชีวภาพทางสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทรงวิทยานิพนธ์ เรื่อง “Effect of Morphine and Morphine-Tramadol Infusions in Sevoflurane-Anesthetized Dogs.”
Doctor of Philosophy (Toxicology) จาก มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ระดับหลังปริญญาเอก (Post Doctoral) ณ มหาวิทยาลัยอูล์ม ประเทศเยอรมัน เรื่อง Synthesis of Oligonucleotides Using Polymer Support and Their Applications in Genetic Engineering

| พระราชกรณียกิจ
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงตระหนักถึงปัญหาความขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และการสาธารณสุข จึงทรงก่อตั้ง กองทุนจุฬาภรณ์ ขึ้น และต่อมาได้จดทะเบียนเป็น มูลนิธิจุฬาภรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ทรงก่อตั้ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขึ้นทรงเป็นองค์ประธานของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือ ส่งเสริมความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาประเทศ
จากการที่ทรงรับเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติ การเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และห้องปฏิบัติการสารเคมีก่อมะเร็งด้วยพระองค์เอง จึงทรงก่อตั้ง ศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี และให้เป็นศูนย์วิจัยด้านโรคมะเร็งที่มีความเป็นเลิศทางการวิจัย วิชาการ และการบำบัดรักษา
ทรงจัดตั้ง ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ (Cyclotron and PET Scan) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการในการตรวจโดยสารเภสัชรังสี ซึ่งมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง โรคทางสมอง และหัวใจ
นอกจากนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ยังทรงให้ความสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง มีพระปณิธานแน่วแน่ในการสร้างเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สิ่งแวดล้อมให้แก่ทรัพยากรบุคคลของประเทศไทย

| มูลนิธิ หน่วยงาน และโครงการในพระอุปถัมภ์
มูลนิธิจุฬาภรณ์
มูลนิธิเทียนส่องใจเพื่อคนไข้โรคลมชัก
มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน
มูลนิธิรักษาพยาบาลสัตว์ป่วยอนาถา โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร
โครงการหารายได้เพื่อสัตว์ป่วยอนาถา
โรงเรียนมัธยมทับทิมสยาม ๐๔ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
โรงเรียนมัธยมศึกษาจุฬาภรณ์
สถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย
สมาคมเคมีแห่งประเทศไทย
กองทุนจุฬาภรณอุดรธานี
ขอบคุณข้อมูล 1