ทำไมราคาน้ำมันโลก 2022 ร่วง 5% เปิดสาเหตุพิษเศรษฐกิจ อาจถึงจุดวิกฤติเร็ว ๆ นี้
บทวิเคราะห์ ราคาน้ำมันโลก หลังร่วงลงไปกว่า 5 เปอร์เซนต์ ในเดือนมิถุนายน 2022 ทั่วโลกจับตาอาจจะเป็นสัญญาณเตือนวิกฤตเศรษฐกิจ
ล่าสุดวันที่ 22 มิถุนายน 2022 มีรายงานว่า ราคาน้ำมันที่ซื้อขายในตลาดโลก ร่วงลงไปมากกว่า 5% เนื่องจากระบบอุปสงค์ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เป็นเหตุให้นักลงทุนหลายเจ้าเริ่มมีความกังวลที่จะลงทุน จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเพื่อมุ่งลดอัตราเงินเฟ้อ
- รอเติมพรุ่งนี้ พีทีที-บางจาก ปรับลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน 50 สตางค์/ลิตร
- สรุป 6 ข้อ ‘ช่วยราคาพลังงาน’ หลังปรับขึ้นราคาน้ำมัน – ก๊าซหุงต้ม กระทบรายจ่ายประชาชน
- สมาคมกิจการรถโดยสาร ประกาศปรับลดเที่ยววิ่ง 80% เซ่นน้ำมันแพง วันไหน ดูที่นี่
ปัจจัยที่ราคาน้ำมันโลกปีนี้ดิ่งลง
หน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บมจ.ไทยออยล์ ระบุว่า ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนต์ปรับเพิ่ม เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะความต้องการใช้น้ำมันเบนซินในสหรัฐที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์สต๊อกน้ำมันดิบและน้ำมันเบนซินของสหรัฐ ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 มิ.ย. 65 มีแนวโน้มปรับตัวลดลง 1.4 และ 0.6 ล้านบาร์เรลตามลำดับ
โดยราคาน้ำมันเวสต์เทกซัสซื้อขายเมื่อ 21 มิ.ย. อยู่ที่ 110.65 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น +1.09 เหรียญสหรัฐ และราคาน้ำมันเบรนต์อยู่ที่ 114.65 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น +0.52 เหรียญสหรัฐ
ปริมาณการส่งออกแก๊สของรัสเซียผ่านทาง Nord Steam 1 ไปยังยุโรปปรับลดลงมากกว่า 50% ส่งผลให้ราคาแก๊สในยุโรปปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% หลังจากที่รัสเซียประกาศลดการส่งออก
ขณะที่ยุโรปประกาศเตรียมแผนลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย โดยราคาแก๊สธรรมชาติที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุปทานที่ตึงตัวในฝั่งยุโรป ส่งผลให้เกิดการใช้น้ำมันแทนแก๊สธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น
| ราคาน้ำมันเบนซิน
ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ฝั่งเอเชียและสหรัฐที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงฤดูร้อน อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับแรงกดดัน จากการส่งออกของจีนในเดือน มิ.ย. 65 ที่ปรับเพิ่มขึ้น
| ราคาน้ำมันดีเซล
ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ในภูมิภาคเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดยังคงกังวลภาวะอุปทานน้ำมันดีเซลตึงตัวจากการคว่ำบาตรน้ำมันของรัสเซีย ประกอบกับสต๊อกน้ำมันดีเซลทั่วโลกยังอยู่ในระดับต่ำ
สรุปบทวิเคราะห์ ราคาน้ำมันโลก 2022
จากรายงานตลาดน้ำมันของ IEA (OMR) หนึ่งในแหล่งข้อมูล ที่มีการคาดการณ์ และการวิเคราะห์เกี่ยวกับตลาดน้ำมันโลกรวมถึงสถิติโดยละเอียดและคำอธิบายเกี่ยวกับอุปทานน้ำมัน อุปสงค์ สินค้าคงเหลือ ราคา และกิจกรรมการกลั่นน้ำมันด้วย เป็นการค้าน้ำมันสำหรับ IEA และประเทศที่เลือกไม่ใช่ IEA
คาดว่าความต้องการน้ำมันของโลกอาจจะสูงถึง 101.6 mb/d ในปี 2023 ซึ่งสูงกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดโควิด 19 ในขณะที่ราคาน้ำมันเองก็ยังพุ่งขึ้นที่สูง และแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนกำลัง เป็นผลทำให้การบริโภคเพิ่มขึ้น
แต่ทั้งนี้ ถ้าการฟื้นตัวของจีนดีขึ้นภายในในปีหน้า จะช่วยในการแบ่งเบาผลกระทบนี้ได้เป็นอย่างมาก โดยการเติบโตจะเร่งขึ้นจาก 1.8 mb/d ในปี 2022 เป็น 2.2 mb/d ในปี 2023 เมื่อมี OECD เป็นผู้นำในการขยายตัว สำหรับเศรษฐกิจนอกกลุ่ม OECD คาดว่าจะเติบโตเกือบ 80% ในปีหน้าเช่นกัน
สำหรับกลุ่มประเทศนอก OPEC+ จะถูกกำหนดให้เป็นผู้นำในการเติบโตของอุปทานโลกในปีหน้า โดยเพิ่มขึ้น 1.9 mb/d ในปี 2565 และ 1.8 mb/d ในปี 2023 ในส่วนของประเทศกลุ่ม OPEC+ ผลผลิตน้ำมันทั้งหมดในปี 2023 อาจลดลง เนื่องจากการคว่ำบาตรและการคว่ำบาตรผู้ผลิตรายใหญ่อย่างของรัสเซีย
ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าว ประเทศในแถบตะวันออกกลาง อาจจะประสบปัญหาการลดลงของปริณมาณเชื้อเพลิงอีก ในกรณีที่ถ้าลิเบียฟื้นตัวจากการลดลงของทรัพยากรณ์อย่างมาก กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 2.6 mb/d ในปีนี้ ซึ่งทำให้กำลังการผลิตสำรองลดลงในปีหน้า
ความสามารถในการกลั่นน้ำมันทั่วโลกถูกตั้งให้ขยายตัว 1 mb/d ในปี 2022 และ 1.6 mb/d ในปี 2023 โดยจะเพิ่มปริมาณงาน 2.3 mb/d และ 1.9 mb/d ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ตลาดผลผลิตคาดว่าจะยังคงตึงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปทานน้ำมันดีเซลและน้ำมันก๊าซ
อย่างไรก็ตามเรายังต้องรอดูสถาการณ์กันต่อไป มีการคาดการณืว่าหลังจากนี้ไปอีก 7 ไตรมาส การเติบโตของอุปสงค์ที่ชะลอตัว และอุปทานน้ำมันของโลกที่เพิ่มขึ้นจนถึงสิ้นปีจะช่วยให้ตลาดน้ำมันโลกกลับมาสมดุล อย่างไรก็ตามก็ยังมีปัญหาใหญ่ ๆ เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรที่เข้มงวดขึ้นในรัสเซีย ความต้องการใช้น้ำมันในจีนน์จากโควิด-19 ความสูญเสียในลิเบียรุนแรงขึ้น และกำลังการผลิตสำรองของ OPEC+ ลดลงอยู่เช่นกัน
แม้ว่าธนาคารกลางของชาติต่าง ๆ เริ่มถูกบังคับให้ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งช่วยส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทะยานสู่ระดับที่ไม่เคยเห็นมาก่อนนับจากปี 1980 ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย หรือจะเป็นการกูวิกฤตในครั้งนี้ได้จริง ?