ไลฟ์สไตล์

7 วิธีใช้ถังดับเพลิงที่ถูกต้อง มีกี่ขั้นตอน พร้อมป้องกันอัคคีภัย

ทุกคนต้องรู้! วิธีใช้ถังดับเพลิงที่ถูกต้อง มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้างพร้อมแนะนำประเภทของอัคคีภัยและการเลือกใช้ถังดับเพลิงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช็กขั้นตอนเตรียมตัวหนีไฟไหม้พร้อมเอาตัวรอดได้อย่างทันท่วงที

7 วิธีใช้ถังดับเพลิง เอาตัวรอดจากเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ถูกต้องมีกี่ขั้นตอน ควรเริ่มตรงไหนก่อนเพื่อป้องกันอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันที หลังเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ MountainB ผับเปิดใหม่จังหวัดชลบุรี เมื่อประมาณเวลา 01.00 น. วันที่ศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2565 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเบื้องต้น 13 ราย และบาดเจ็บอีก 41 ราย

Advertisements

ดังนั้นทีมงานไทยเกอร์จึงจะมาแนะนำการใช้ถังดับเพลิงที่ถูกต้องและวิธีปฏิบัติตัวหากเกิดเหตุไฟไหม้ แม้ว่าถังดับเพลิงจะมีเกือบทุกที่แต่มีน้อยคนที่จะรู้วิธีใช้ถังดับเพลิงที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับประเภทของไฟไหม้ เพราะหากเราเลือกใช้ถังดับเพลิงผิดชนิดอาจส่งผลเสียมากกว่าเดิม มาดูกันว่าหากต้องการเอาตัวรอดจากเหตุไฟไหม้จะต้องเลือกใช้ถังดับเพลิงอย่างไรบ้าง

วิธีใช้ถังดับเพลิง หนีไฟไหม้ มีอะไรบ้าง

เช็ก ‘วิธีใช้ถังดับเพลิง 2565’ หนีไฟไหม้ป้องกันเหตุอัคคีภัย

จำไว้เผื่อได้ใช้ในเหตุการณ์ฉุกเฉิน วิธีใช้ถังดับเพลิง ตามมาตรฐานสากลมีอะไรบ้าง นอกจากนี้ถังดับเพลิงแต่ละประเภทมีคุณสมบัติและเหมาะกับไฟไหม้ประเภทใด ทีมงานไทยเกอร์สรุปมาให้แล้วดังนี้

1. ประเมินเป็นไฟไหม้ประเภทใด

แม้ถังดับเพลิงจะมีหน้าที่ในการป้องกันไฟไหม้ แตนอกจากวิธีการใช้ถังดับเพลิงที่ถูกต้องคือการรู้ว่าเป็นไฟไหม้ประเภทไหน เพื่อที่จะได้ใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยมีรายละเอียดของประเภทไฟไหม้ทั้งหมด 5 ประเภท ดังนี้

เพลิงไหม้ประเภท Ordinary Combustibles (A)

Advertisements

ไฟไหม้ประเภท A เรียกว่า Ordinary Combustibles เป็นเพลิงที่พบเจอได้บ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน สามารถติดไฟง่ายอย่างกระดาษ เศษผ้า อาคารไม้ หากเกิดเพลิงไหม้ขึ้นเพียงเล็กน้อย สามารถใช้น้ำเปล่าในการระงับเหตุเพลิงไหม้ได้

เพลิงไหม้ประเภท Flammable Liquids (B)

ไฟไหม้ประเภท B หรือ Flammable Liquids โดยเกิดจากการที่ของเหลวติดไฟ เช่น น้ำมัน ก๊าซ และสิ่งไวไฟต่าง ๆ สามารถพบเหตุอัคคีภัยได้บ่อยตามเขตอุสาหกรรม น้ำมัน หรือโรงงานที่มีเชื้อเพลิง สามารถดับได้ด้วยการลดปริมาณออกซิเจนในพื้นที่ที่เกิดเหตุออกให้มากที่สุด

เพลิงไหม้ประเภท Electrical Equipment (C)

เพลิงไหม้ Electrical Equipment หรือที่เรียกว่าเพลิงประเภท C ซึ่งเกิดจากเหตุขัดข้องของอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ยังคงมีกระแสไฟฟ้าไหลเวียน ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย โดยจะต้องตัดระบบไฟฟ้าให้เรียบร้อยซะก่อนทำการดับเพลิง

เพลิงไหม้ประเภท Combustible Metals (D)

ไฟไหม้ Combustible Metals หรือเพลิงประเภท D ซึ่งจะเกิดขึ้นกับโลหะที่ง่ายต่อการติดไฟ เช่น โพแทสเซียม และไทเทเนียม เป็นต้น หากจะดับไฟลักษณะนี้ จำเป็นจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ หรือผู้ที่มีความชำนาญ

เพลิงไหม้ประเภท Combustible Cooking (K)

ปิดท้ายด้วยเพลิงไหม้ประเภท K ที่เรียกว่า Combustible Cooking โดยเพลิงไหม้นี้จะเกิดขึ้นในครัว เกี่ยวข้องกับน้ำมัน เครื่องครัว และของเหลวไวไฟต่าง ๆ ต้องใช้ถังดับเพลิงแบบเฉพาะเจาะจงในการดับไฟเท่านั้น

วิธีใช้ถังดับเพลิง 2565 ยังไง

2. เลือกใช้ถังดับเพลิงที่ถูกต้อง

เลือกใช้ประเภทของถังดับเพลิงในการใช้งานจริง แม้จะเป็นสถานการณ์ที่ฉุกเฉินเร่งรีบแค่ไหนหากมีเวลาตั้งสติสักนิดนึงให้ลองพิจารณาว่าเป็นไฟไหม้ประเภทใด สาเหตุที่เป็นขั้นตอนสำคัญเพราะหากเลือกใช้ถังดับเพลิงผิดแบบจะส่งผลให้ไฟไหม้หนักกว่าเดิมก็เป็นได้

ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง เพลิงไหม้ประเภท A

ถังดับเพลิงประเภท Dry Chemical Extinguishers หรือถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง เป็นประเภทที่พบเห็นได้บ่อยตามอาคารบ้านเรือนโดยถังนี้มีลักษณะเป็นเคมีแห้งอัดด้วยก๊าซไนโตรเจน เหมาะจสำหรับเพลิงไหม้ประเภท A – C

ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย ไหมประเภท A – C

ถังดับเพลิงชนิดถัดมาคือน้ำยาเหลวระเหย จะมีของเหลวที่เย็นจัดอยู่ภายใน (HCFC-123) ซึ่งช่วยในการลดระดับความร้อนไม่ให้ไฟลุกลามได้

ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาโฟม เพลิงไหม้ประเภท A และ B เท่านั้น

Foam Extinguishers หรือ ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาโฟม ภายในอัดแน่นด้วยโฟมชนิดพิเศษ ปกคลุมเชื้อเพลิงในยามที่เกิดไฟไหม้ได้ นิยมใช้กับเพลิงไหม้ประเภท A และ B เท่านั้น

ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพลิงไหม้ประเภท B และ C

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อัดแน่นไปด้วยไอเย็นจัดในถังดับเพลิง เหมาะสำหรับใช้ในเหตุการณ์เพลิงไหม้แบบ B และ C

ถังดับเพลิงชนิดน้ำ เพลิงไหม้ประเภท A

ถังดับเพลิงชนิดน้ำสามารถใช้ได้กับเหตุการณ์ทั่วไป อย่างเพลิงไหม้ประเภท A ที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ไม่แนะนำให้ใช้กับเพลิงใหม่ประเภท C ที่มาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ถังเพลิงแบบ Wet Chemical Class K

สุดท้ายคือถังดับเพลิงแบบ Wet Chemical Class K เหมาะจะใช้กับไฟไหม้ประเภท K เพราะมีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อเพลิงที่เกิดจากน้ำมันได้ดีทีเดียว

วิธีใช้ถังดับเพลิง หนีไฟไหม้ ไฟไหม้ชลบุรี

3. ดึงถังดับเพลิง

เมื่อหาถังดับเพลิงในระหว่างที่เกิดไฟไหม้ที่ถูกต้องได้แล้วนั้น ให้ดึงเอาสลักของถังดับเพลิงที่ล็อคอยู่ออก หากดึงไม่ได้ให้ใช้เทคนิค บิดแล้วค่อยดึง อาจจะต้องใช้แรงเล็กน้อยคอให้ปฏิบัติอย่างระมัดระวัง

4. ปลดล็อกตัวถังดับเพลิง

เมื่อทำการดึงสลักเรียบร้อยแล้วให้ทำเราการปลดสายฉีดออกมาได้เลย แนะนำให้จับบริเวณปลายสาย จะได้ถือได้ขนัดขึ้นครับ

5. กดส่วนหัวของถังดับเพลิง

จากนั้นเมื่ออยู่ในท่าทางที่พร้อมและถนัดแล้ว ให้ออกแรงกดส่วนหัวของตัวถังได้เลย เพื่อที่จะให้สารเคมีภายใน ได้ออกมาควบคุมเปลวเพลิงไม่ให้ลุกลามมากไปกว่าเดิม

วิธีใช้ถังดับเพลิง หนีไฟไหม้ นักดับเพลิง

6. ส่ายให้โดนบริเวณไฟไหม้

ในระหว่างที่สารเคมีด้านในไหลออกมาตามสาย ผู้ฉีดจะต้องทำการส่ายส่วนปลายของสายไปรอบ ๆ เพื่อให้ต้นเพลิงสงบลงให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

7. เบอร์สายด่วนเหตุไฟไหม้

อย่างไรก็ตาม หากยังพอมีเวลาให้โทรหรือติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการระงับเหตุไฟไหม้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่เบอร์โทรฉุกเฉินต่าง ๆ ที่รวบรวมมาให้ ดังนี้

  • 199 เหตุไฟไหม้.
  • 191 เหตุด่วนเหตุร้าย.
  • 1193 สายด่วนทางหลวง.
  • 1192 แจ้งรถหาย.
  • 1155 ตำรวจท่องเที่ยว.
  • 1669 เจ็บป่วยฉุกเฉิน.
  • 1554 หน่วยแพทย์วชิรฯ.
  • 1137 จส.100.
  • 1197 สายด่วนจราจร.

การใช้ถังดับเพลิงไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่คือสิ่งจำเป็นที่ควรรู้หรือหมั่นฝึกอบรมการใช้งานอยู่เป็นประจำหากมีโอกาส เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะประสบกับเหตุไฟไหม้เมื่อไหร่เวลาไหน หากได้เผชิญหน้ากับเหตุไฟไหม้เมื่อใดก็จะได้ใช้งานถูกต้องรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินได้ทันกาล ดังนั้นอย่าชะล่าใจรีบศึกษาขั้นตอนการใช้งานตอนนี้ได้เลยครับ.

 

 

อ้างอิงจาก : 1.

 

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button