
เปรียบเทียบ ค่า FT หลังปี 2565 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ปรับขึ้น จาก 1.39 เป็น 24.77 สตางค์ต่อหน่วย กลายเป็นคำถามที่ว่า ค่าไฟแพงขึ้นจริงไหม ? วิธีคำนวณค่าไฟ กฟผ.
#ค่าไฟแพง เป็นอีกหนึ่งกระแสดราม่า ทีกำลังมาแรงในโลกโซเชียลเวลานี้ หลังมีข่าวว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มรการปรับขึ้น ค่า FT ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2565 ที่กระโดดจาก 1.39 มาเป็น 24.77 สตางค์ต่อหน่วย วันนี้ The Thaiger จึงจะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยกันว่า ค่า FT ขึ้น ค่าไฟจะแพงขึ้นจริงไหม ?
- ปตท. ยืดเวลาชำระหนี้ กฟผ. 4 เดือน ลดต้นทุน ค่าไฟฟ้า
- ค่าไฟขึ้น 4 บาท เริ่ม พฤษภาคม 2565 กกพ. ชี้แจงปัจจัยปรับขึ้นค่า FT
- เข้าแล้ววันนี้ ‘บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ’ บัตรคนจน ค่าน้ำ ค่าไฟ 18 พฤษภาคม 2565
ส่องวิกฤต #ค่าไฟแพง หลังโดนปรับ ค่า FT เพิ่มเป็น 24.77 สต./หน่วย
| ทำความรู้จัก หลักค่าไฟไทย 2565
ในอดีตค่าไฟฟ้ามีเพียงส่วนเดียว เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายควบคุมราคาน้ำมัน ทำให้ระดับราคาเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าไม่เปลี่ยนแปลงมาก จนเมื่อรัฐบาลตัดสินใจประกาศลอยตัวราคาน้ำมันในเดือนมิถุนายน 2534 ทำให้ราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าก็เริ่มมีการผันแปรตามราคาตลาด
ดังนั้น จึงมีมติให้ปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าของประเทศเป็น 2 ส่วน คือ ค่าไฟฟ้าฐาน และค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) เพื่อให้เป็นกลไกในการปรับราคาค่าไฟฟ้าให้เคลื่อนไหวตามค่าใช้จ่ายในส่วนที่อยู่นอกการควบคุมของการไฟฟ้า
การพิจารณากำหนดค่าเอฟที เป็นอำนาจของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยตรวจสอบข้อมูลการลงทุน และการดำเนินงานที่มีผลต่อการคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ พิจารณาครอบคลุมถึงประสิทธิภาพในการบริหารการใช้เชื้อเพลิง การสั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า และการประมาณการความต้องการใช้ไฟฟ้า

โครงสร้างค่าไฟฟ้าในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- ค่าไฟฟ้าฐาน เป็นค่าไฟฟ้าที่สะท้อนรายจ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตของประเทศ ประกอบด้วยรายจ่ายของการไฟฟ้า 3 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่
- ต้นทุนทางการเงินที่การไฟฟ้าใช้ในการก่อสร้างขยายระบบผลิต ระบบส่งและระบบจำหน่ายในอนาคต
- ต้นทุนในการดำเนินงาน เช่น ค่าใช้จ่ายดำเนินงานและบำรุงรักษาระบบผลิต ระบบส่งและระบบจำหน่าย ค่าบริหารจัดการ ตลอดจนผลตอบแทนการลงทุน
- ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า
- ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่า FT หมายถึง ค่าไฟฟ้าที่สะท้อนค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มหรือลดจากค่าใช้จ่ายฐาน
| ค่า FT ทำให้ การไฟฟ้า ได้กำไรเพิ่มขึ้นหรือไม่ ?
ค่า FT เป็นเพียงกลไกในการปรับราคา ค่าไฟฟ้า ให้เคลื่อนไหวตามค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกการควบคุมของการไฟฟ้าเท่านั้น โดยเฉพาะปัจจัยราคาเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากค่าฐานไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกำไรของการไฟฟ้าแต่อย่างใด
โดยทั่วไปแล้ว ผลประกอบการของการไฟฟ้า ถูกกำหนดไว้ในค่าไฟฟ้าฐาน และภาครัฐจะพิจารณาทบทวนผลประกอบการของการไฟฟ้าทุก ๆ ปี เพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หากมีผลประกอบการแตกต่างจากที่ภาครัฐเห็นสมควร ส่วนเกินนั้นก็จะถูกนำมาคำนวณคืนให้ประชาชนผ่านค่า FT
| ทำไม ค่า FT ปี 2565 ถึงขึ้นสูง 24.77 สตางค์ต่อหน่วย
เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 65 กกพ. มีมติให้ปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2565 โดยให้เรียกเก็บที่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย โดยให้เหตุผลหลักที่ต้องมีการพิจารณาปรับค่า Ft ครั้งนี้คือ
- ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในช่วงเดือน พ.ค. – ส.ค. 65 เพิ่มขึ้น เท่ากับประมาณ 68,731 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากประมาณการงวดก่อนหน้า (เดือน ม.ค. – เม.ย. 65) ที่คาดว่าจะมีความต้องการพลังงานไฟฟ้า เท่ากับ 65,325 หน่วย หรือเพิ่มขึ้น 5.21%
- สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือน พ.ค. – ส.ค. 65 ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็น เชื้อเพลิงหลัก 55.11% ของเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด นอกจากนี้เป็นการซื้อไฟฟ้าจาก ต่างประเทศ (ลาวและมาเลเซีย) รวม 19.46%
- ราคาเชื้อเพลิงเฉลี่ยที่ใช้ในการคำนวณค่า Ft เดือน พ.ค. – ส.ค. 65 เปลี่ยนแปลงจากการ ประมาณการในเดือน ม.ค.- เม.ย. 65 โดยราคาเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิต ไฟฟ้า และราคาถ่านหินนำเข้าเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นมากจากประมาณในรอบเดือน ม.ค.- เม.ย. 65
- อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยที่ใช้ในการประมาณการ (1 – 31 ม.ค. 65) เท่ากับ 33.20 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าเล็กน้อยจากประมาณการในงวดเดือน ม.ค. – เม.ย. 65 ที่ผ่านมา ที่ประมาณการไว้ที่ 33.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
| ค่า FT เพิ่มขึ้น ทำให้ค่าไฟแพงขึ้น จริงไหม ?
ค่า Ft จะมีทั้งเพิ่มขึ้น หรือลดลงได้ ก็ขึ้นอยู่ที่ราคา และสัดส่วนการใช้พลังงานแต่ละช่วงว่ามีราคาแพงขึ้นหรือไม่ เนื่องจากสำหรับต้นทุนการผลิตไฟฟ้ากว่า 50% เกิดจากค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า
จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2550 ราคาค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเริ่มถูกลง ทั้งนี้เพราะมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินเพิ่มขึ้น โดยเป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (BLCP) ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้า IPP ที่ใช้ถ่านหินนำเข้าจากออสเตรเลียเป็นเชื้อเพลิง
ดังนั้นสัดส่วนชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อราคาค่าไฟฟ้า เพราะเชื้อเพลิงแต่ละชนิดมีราคาแตกต่างกันนั่นเอง
| เปรียบเทียค่าไฟ ก่อนและหลังขึ้น ค่า FT
ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปคำนวณค่าไฟ ได้จากเว็บไต์ eservice.pea.co.th ซึ่งตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 ที่มีการปรับขึ้นค่า FT เป็น 24.77 จากเดิม 1.39 สามารถเทียความต่างของค่าไฟได้ดังนี้


จะเห็นได้ว่า ค่าไฟฟ้าฐาน ยังคงมูลค่าเท่าเดิม แต่ในส่วนของ ค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) จะมีค่าเป็น 10 เท่าของหน่วย อีกทั้งยังมีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องใช้ค่า FT ในการคำนวณด้วยเช่นกัน
ทำให้ค่าไฟ 1000 หน่วย ที่ในเดือนเมษายน 2565 ต้องจ่าย 4,546.94 กลายเป็นว่าในเดือนเมษายน 2565 ต้องจ่าย 4,797.11 บาท นั่นเอง