สุขภาพและการแพทย์

รู้จัก โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) อันตรายใกล้ตัว มีอาการและแนวทางรักษาอย่างไรบ้าง

ภัยเงียบที่คาดไม่ถึง โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือโรคพุ่มพวง โรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน พาไปส่องสาเหตุ วิธีสังเกตอาการ และแนวทางการรักษาเบื้องต้น

รู้กันหรือไม่ว่า ร่างกายของมนุษย์เราสามารถเกิดโรคร้ายขึ้นมาได้ง่าย ๆ หากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งโรคยอดนิยมที่มีผู้ป่วยจำนวนมากก็คือ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือโรคพุ่มพวง ซึ่งหากปล่อยให้เรื้อรังและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ก็อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ฉะนั้นหากใครที่มีอาการเข้าข่ายเป็นโรคเอสแอลอี อย่ามัวลังเล ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาอย่างเร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเศร้าในวันที่สายเกินไป

Advertisements

สาเหตุ โรคแพ้ภูมิตัวเอง คืออะไร

โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) คืออะไร ทำไมอัตรายถึงชีวิต

โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือ SLE (Systemic Lupus Erythematosus) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยภูมิคุ้มกันของคน ๆ นั้น ได้ทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายของตัวเอง จนเกิดการอักเสบและสามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับอวัยวะทั้งภายในและภายนอกร่างกายได้

โรคแพ้ภูมิตัวเองสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น ข้ออักเสบ ผิวหนังอักเสบ ผื่นแดงตามผิวหนัง การอักเสบของเนื้อเยื่อ การอักเสบของไต และเส้นประสาทอักเสบ เป็นต้น แต่โดยสถิติที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่โรคแพ้ภูมิตัวเองมักเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

ทั้งนี้ โรคเอสแอลอี (SLE) เริ่มเป็นโรคที่รู้จักมากขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากการเสียชีวิตของราชินีลูกทุ่งชื่อดังอย่าง พุ่มพวง ดวงจันทร์ ซึ่งได้เสียชีวิตจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง ในวัย 31 ปี ทำให้หลายคนจดจำโรคแพ้ภูมิตัวเอง ในฐานะโรคพุ่มพวงมาจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

อาการโรคแพ้ภูมิตัวเอง
www.cubaheal.com

สาเหตุของโรคแพ้ภูมิตัวเอง (โรคพุ่มพวง) เกิดจากอะไร ?

ในปัจจุบันในทางการแพทย์ ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคนี้อย่างแน่ชัด แต่นักวิจัยหลายคนเชื่อว่าเกิดจากสาเหตุหลายประการรวมกัน เช่น

Advertisements
  • พันธุกรรมในครอบครัว
  • ปัจจัยทางสภาวะแวดล้อม เช่น แสงแดด (รังสี UV) และ ความเครียด
  • การติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคอื่น ๆ
  • การใช้ยาบางตัว เช่น methyldopa, procainamide, hydralazine, isoniazid และ chlorpromazine เป็นต้น
วิธีรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเอง
rojgaraurnirman.in

อาการของโรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE

อาการของโรคนี้มีอยู่ด้วยกันหลายระดับ ซึ่งแม้จะรักษาได้ แต่ในผู้ป่วยบางราย อาการจะยังคงอยู่แบบถาวร โดยอาการดังกล่าวมีอยู่หลายแบบ ทั้งอาการที่ส่งผลกระทบเพียงบางส่วนของร่างกาย เช่น ผิวหนัง ตลอดจนอาการที่ส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของร่างกาย โดยอาการเบื้องต้นที่พบเห็นได้บ่อย มีดังนี้

  • มีผื่นแดงที่ใบหน้า หรือบริเวณที่โดนแดด
  • ปวดข้อ หรือมีอาการข้อบวมจากการอักเสบ
  • ผมร่วง
  • มีแผลในปาก
  • ไตอักเสบ
  • มีการอักเสบของปอดหรือหัวใจ
  • เกิดภาวะโลหิตจาง เม็ดเลือดขาวหรือเกร็ดเลือดต่ำ
  • มีอาการทางสมอง ทำให้ชัก
  • ไวต่อแสงแดด
  • แผลเปื่อยบริเวณจมูกหรือปาก
  • มีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น มีไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย หรือน้ำหนักลดผิดปกติ เป็นต้น
ยาสำหรับโรคแพ้ภูมิตัวเอง
www.news-medical.net

โรคแพ้ภูมิตัวเอง มีวิธีรักษาอย่างไร ?

ปัจจุบันโรค SLE สามารถรักษาได้ แต่ต้องใช้เวลานานพอสมควร ทั้งยังต้องติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง และทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ร่วมกับการดูแลตนเองและการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม โดยจะต้องเลือกใช้ยาที่ถูกต้องทั้งชนิด ขนาด ตลอดจนทานตามช่วงเวลาที่แพทย์แนะนำ จึงจะสามารถควบคุมอาการของโรคแพ้ภูมิตัวเองได้

ทั้งนี้การรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หากอาการไม่รุนแรงอาจใช้ยาเพื่อช่วยบรรเทาได้ แต่หากมีอาการรุนแรงมากและส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องใช้ยากดภูมิต้านทานเพื่อช่วยควบคุมโรคให้สงบ โดยแพทย์จะเริ่มทำการรักษาจากการประเมินความรุนแรงของอาการ เพื่อมองหาแนวทางรักษาในขั้นตอนต่อไป

สำหรับการรักษาโรคพุ่มพวงด้วยยา ในปัจจุบันมีทั้งยาลดการอักเสบของข้อ ยาลดอาการเจ็บปวด ตลอดจนยาที่ช่วยในการปรับการทำงานของเม็ดเลือดขาวให้ทำงานเหมือนปกติมากยิ่งขึ้น ซึ่งยากลุ่มนี้ ได้แก่ ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยากดภูมิ

ทั้งนี้หากใครที่รู้สึกว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิด มีอาการเข้าข่ายโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) แนะนำให้รีบเดินทางไปตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นการด่วน เพราะหากปล่อยไว้นานอาจเป็นอันตรายมากกว่าคิด.

อ้างอิงข้อมูล โรค SLE จาก 1 2 3

Eye Chanoknun

นักเขียนประจำ Thaiger จบจากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสบการณ์เขียนงานผ่านเว็บไซต์ด้านความงามและแฟชั่นชื่อดังของไทยมากกว่า 3 ปี ปัจจุบันชื่นชอบการเขียนข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ ซีรีส์ k-pop และไลฟ์สไตล์ เพื่อนำมาบอกเล่าผ่านตัวอักษร ด้วยมุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม ช่องทางติดต่อ eye@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button