ข่าวผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

สำรวจเดี๋ยวนี้ 5 สัญญาณ พฤติกรรรมคุกคามทางเพศ คุณเข้าข่ายหรือไม่ ?

คุกคามทางเพศ เปิด 5 พฤติกรรมเข้าข่ายไม่พึงประสงค์ ทั้งทางสายตา วาจา การกระทำ ตรวจสอบด่วนไม่ว่าจะเป็นคุณผู้ชายหรือคุณผู้หญิง พบมีนิสัยเข้าข่าย เลิกด่วน

คุณเคยอยู่ในสถาณการณ์ที่ถูกคุกคามทางเพศ หรือไปคุกคามคนอื่นรึเปล่า ? (บางคนก็อาจไม่ตั้งใจ คิดว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ ซึ่งมันทำไม่ได้ !!!) คำถามข้างต้นเชื่อว่า หากคนส่วนใหญ่ได้บยินก็อาจจะรีปฏิเสธทันที ว่าตัวเองไม่ได้มีพฤติกรรมเช่นนั้น

Advertisements

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจาก UNWOMEN รายงานว่า สถิติผู้หญิง 1 ใน 3 มีประสบการณ์ถูกคุกคามทางเพศ ดังนั้นหากนำข้อมูลมาวิเคราะห์จะเห็นว่า การล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศอาจเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์ ผู้กระทําจะเป็นเพศใดและมีความสัมพันธ์กับคนที่ถูกล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศแบบไหนก็ได้

เพื่อเป็นการสังเกตตัวเองและคนรอบข้าง ถ้าคุณมีใครที่กระทําสิ่งนี้ต่อคุณ นั่นคือคุณกําลังถูกล่วงละเมิดและคุกคามทางเพศ

1. การกระทําทางสายตา

คือ การจ้องมองร่างกายที่ส่อไปในทาง เพศ มองซ้อนใต้กระโปรง มองหน้าอก หรือจ้องลงไปที่คอเสื้อ จนทําให้ผู้ถูกมอง รู้สึกอึดอัด อับอาย หรือไม่สบายใจ

2. การกระทําด้วยวาจา

Advertisements
  • การวิพากวิจารณ์รูปร่าง ทรวดทรง และการแต่งกายที่ส่อไปทางเพศ
  • การซักชวนให้กระทําการใดๆ ในที่ ลับตา ซึ่งผู้ถูกกระทําไม่พึงประสงค์ และไม่ต้องการ การพูดเรื่องตลกเกี่ยว กับเพศ
  • การเกี้ยวพาราสี พูดจาแทะโลม วิจารณ์ทรวดทรง การพูดจาลามก การโทรศัพท์ลามก การเรียกผู้หญิง ด้วยคําที่ส่อไปทางเพศ จับกลุ่มวิจารณ์ พฤติกรรมทางเพศของบุคคลในที่ ทํางาน
  • การสนทนาเรื่องเพศหรือเพศ สัมพันธ์ การแสดงความคิดเห็นต่อ รสนิยมทางเพศ และการพูดที่ส่อ ไปในทางเพศ การถามเกี่ยวกับ ประสบการณ์ความชื่นชอบในเรื่องเพศ การสร้างเรื่องโกหกหรือการแพร่ข่าวลือ เกี่ยวกับชีวิตทางเพศผู้อื่น

3. การกระทําทางกาย

  • การสัมผัสร่างกายของผู้อื่น การ ลูบคลํา การถูไถร่างกายผู้อื่นอย่างมีนัย ทางเพศ การฉวยโอกาสกอดรัด จูบ การ หยอกล้อโดยแตะเนื้อต้องตัว หรือการ สัมผัสทางกายอื่นใดที่ไม่น่าพึงประสงค์
  • การตามตื้อโดยอีกฝ่ายหนึ่งไม่เล่นด้วย การตั้งใจใกล้ชิดเกินไป การต้อน เข้ามุบหรือขวางทางเดิน การยักคิ้วหลิ่ว ตา การผิวปากแบบเชิญชวน การส่งจูบ การเลียริมฝีปาก การทําท่าน้ำลายหก การแสดงพฤติกรรมที่สื่อไปในทางเพศ โดยใช้มือหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย

4. การกระทําทางเพศ ที่มีการแลกเปลี่ยน ผลประโยชน์

  • การให้สัญญาที่จะให้ผลประโยชน์ เช่น ตําแหน่งงาน ผลการเรียน การ ศึกษาดูงาน การเลื่อนเงินเดือนหรือ ตําแหน่ง การต่อสัญญาการทํางาน เช่น ขอให้ค้างคืนด้วย ขอให้มีเพศ สัมพันธ์ด้วย หรือขอให้ทําอย่างอื่นที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
  • การข่มขู่ให้เกิดผลในทางลบต่อการ จ้างงาน หรือการศึกษา การข่มขู่ว่าจะ ทําร้าย การบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ หรือการพยายามกระทําชําเราหรือ กระทําชําเรา

5. การกระทําอื่นๆ

  • การแสดงรูปภาพ วัตถุ และข้อความ ที่เกี่ยวข้องกับเพศ รวมทั้งเปิดภาพโป๊ ในที่ทํางานและในคอมพิวเตอร์ของตน
  • การแสดงออกที่เกี่ยวกับเพศ เช่น การโชว์ปฏิทินโป๊ การเขียนหรือวาดภาพทาง เพศในที่สาธารณะ การใช้สัญลักษณ์ ที่แสดงถึงอวัยวะเพศหรือการร่วมเพศ การสื่อข้อความ รูปภาพ สัญลักษณ์ ที่แสดงถึงเรื่องเพศทางอินเทอร์เน็ต เช่น เฟชบุ๊ค ไลน์ เป็นต้น

อ้างอิง : คู่มือมาตรการในการป้องกันและแก้ไข ปัญหา การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการทํางาน กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

ที่มาของการคุกคามทางเพศ
ภาพ Facebook รัชดา ธนาดิเรก – รองโฆษกรัฐบาล

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button