ส่องวิกฤต เงินเฟ้อเดือนเมษายน พุ่ง 4.65% คาดสินค้าราคาพุ่ง จ่อคิวขึ้นราคาเพียบ
เงินเฟ้อเดือนเมษายน พุ่ง 4.65% มากกว่าค่ากลาง คาดเดือนหน้า (พฤษภาคม 2565) ขยับอีก ส่อแนวโน้มสินค้าจ่อขึ้นราคาเพียบ หลังต้นทุนโรงงาน – ขนส่งเพิ่มขึ้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนเมษายน 2565 เท่ากับ 105.15 (ปี 2562 = 100) สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 4.65 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักยังคงเป็นราคาพลังงาน อาหารสด และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาอาหารสำเร็จรูปสูงขึ้น
ส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน และมาตรการคว่ำบาตร ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิต การค้า และการขนส่ง ราคาสินค้าและบริการในประเทศจึงปรับสูงขึ้น และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในที่สุด ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับหลายประเทศที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ราคาต้นทุนหรือราคาหน้าโรงงานของไทยที่สูงขึ้นค่อนข้างมาก สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต ที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 12.8 (YoY) ยังไม่ส่งผ่านไปยังราคาขายปลีกมากนัก เนื่องจากมาตรการของภาครัฐ และความต้องการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19 โดยมีรายละเอียด สรุปดังนี้
- สินค้าสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 4.65 (YoY) อาทิ
- สินค้าในกลุ่มพลังงาน สูงขึ้นร้อยละ 21.07
- สินค้าในกลุ่มอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 4.83
- สินค้าอื่น ๆ ที่ปรับสูงขึ้น
- สินค้าจำเป็นอีกหลายรายการราคายังคงลดลง อาทิ
- กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ 3.64
- กลุ่มผลไม้สด ลดลงร้อยละ 1.05
- เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ 0.17
- การศึกษา ลดลงร้อยละ 3.14
-
สถานการณ์ราคาสินค้าแพงเริ่มเอาไม่อยู่ จะเห็นได้จาก เงินเฟ้อเดือนเมษายน พุ่ง 4.65% สูงกว่าค่ากลางที่ 4.5% โดยปัจจัยหลัก ๆ ยังมาจากราคาพลังงานปรับเพิ่มขึ้น กระทบต่อต้นทุนการผลิต ทำให้ราคาหน้าโรงงานเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ส่งผ่านไปยังผู้บริโภค
นอกจากนนี้ ยังมีการคาดการอัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคม 2565 อาจมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูงขึ้น ประกอบกับมาตรการตรึงราคาและการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ได้สิ้นสุดลงในเดือนเมษายนและปลายเดือนพฤษภาคมนี้
รวมถึง การปรับราคาสูงขึ้นแบบขั้นบันไดของก๊าซหุงต้ม (LPG) และสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป ยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ นอกจากนี้ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลก มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และพันธมิตร และการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ยังคงเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้เงินเฟ้อของประเทศสูงขึ้นได้ในระยะต่อไป ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า
? สามารถติดตามข่าวสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่
- ธอส. เตือนภัย Line ปลอม แอบอ้างหลอกให้โอนเงิน
- ตกงาน ทําอะไรดี ! กรมการจัดหางาน ทำข้อมูลพร้อมคลิปสาธิต เกือบ 200 อาชีพ
- สปส. ประกาศ ลดอัตรา เงินสมทบประกันสังคม ม.33 และ 39 เป็นเวลา 3 เดือน
- ต้องการ กู้เงิน กสิกรไทย สมัคร สินเชื่อ 2565 ไหนได้บ้าง วงเงินกี่บาท
- กยศ. จัด มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ ภาคใต้ ในวันที่ 6-9 พ.ค. 65