ยื่นภาษีออนไลน์ 2564 วันสุดท้าย หมดเขต 8 เม.ย. 65 เลยกำหนดมีโทษปรับ!!
เช็คขั้นตอน ยื่นภาษีออนไลน์ 2564 เข้าสู่โค้งสัปดาห์สุดท้ายก่อนสิ้นสุดวันหมดเขตการยื่นภาษีออนไลน์ 2564 ในวันศุกร์ที่ 8 เม.ย. 65 ส่วนการยื่นภาษีแบบกระดาษได้หมดเขตไปแล้วตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2565 ผู้ที่ยังไม่ได้ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด. 91 กับ ภงด. 90 ให้รีบทำการยื่นโดยด่วน
หากเลยกำหนดการยื่นภาษีออนไลน์ 2564 มีโทษปรับอ่วม ใครไม่อยากจ่ายเพิ่มแนะนำให้รีบทำการยื่นแบบภาษีทันที โดยสามารถเข้ามาเช็ควิธียื่นภาษีออนไลน์ 2564 ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์ผ่าน E-FILING ในบทความนี้กันได้เลย
? สำหรับใครที่ยื่นภาษี 2564 แบบออนไลน์ไปแล้ว แต่ต้องการเข้าไปแก้ไขใหม่ หรือทำการยื่นภาษีเพิ่มเติม สามารถอ่านวิธี ขั้นตอนได้ที่ >> ยื่นภาษีผิด 2564 แก้ไขอย่างไร<<
หมดเขตยื่น ภาษีออนไลน์ 2564 วันไหน ?
? สามารถยื่นภาษีออนไลน์ ได้ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 8 เมษายน 2565 ผ่านเว็บไซต์ E-FILING
? ส่วนการยื่นภาษีแบบกระดาษ ได้หมดเขตเวลาทำการยื่นไปแล้วตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2565
หากยื่นไม่ทันจนเลยวัน หมดเขตยื่นภาษี 2564 จะมีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท และต้องเสียเบี้ยปรับสูงสุด 2 เท่า ของภาษีที่ต้องชำระ อีกทั้งยังต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องจ่ายนับจากวันที่เกินกำหนดชำระ แถม ถ้ามีเศษวันก็จะปัดเป็น 1 เดือนด้วย สมมติเลยกำหนดมา 3 เดือน 2 วัน ก็จะคิดเป็น 4 เดือน กันเลยทีเดียว
ยื่นภาษีออนไลน์ 2564 ผ่านระบบใหม่ E-FILING
ปัจจุบันทางกรมสรรพากร ได้ปรับปรุงระบบการยื่นภาษีออนไลน์ให้มีความสะดวกและทันสมัยมากขึ้น เรียกว่า ระบบ E-Filing วันนี้ Thaiger จะพามาแนะนำ อธิบายขั้นตอนแบบละเอียด ตามสเตป ว่าทำยังไง เหมาะสำหรับคนที่เพิ่งจ่ายภาษีเป็นครั้งแรก
ยื่นภาษีออนไลน์ 2564 ยังไงบ้าง ?
ขั้นตอนการลงทะเบียน ยื่นภาษีออนไลน์ 2564 ผ่านระบบ E-Filing
หากใครไม่มีบัญชีผู้ใช้งานของเว็บไซต์กรมสรรพากรมาก่อน ก็มาเริ่มต้นลงทะเบียนไปพร้อม ๆ กัน แต่สำหรับใครที่มีข้อมูลอยู่แล้ว สามารถเข้าสู่ระบบ และข้ามไปหัวข้อถัดไปได้เลย ถ้าพร้อมแล้วเข้ามาเช็ค วิธี ยื่นภาษี 2564 แบบออนไลน์ กันได้เลย
1. เปิดเว็บไซต์ของกรมสรรพากรเพื่อสมัครสมาชิก >>E-FILING<<
2. จากนั้นเลือก ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ยื่นภาษีออนไลน์ 2564)
3. กรอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อ วันเดือนปีเกิด และเลขหลังบัตรประชาชน จากนั้นกด ตรวจสอบ
4. กรอกข้อมูลที่อยู่ พร้อมเลือกวิธีที่จะใช้ยืนยันตัวตน สามารถเลือกได้ระหว่างโทรศัพท์มือถือและอีเมล
5. หากเลือกยืนยันตัวตนผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือ ให้กรอกรหัส OTP ที่ได้รับภายใน 5 นาที
6. กำหนดคำถามสำหรับใช้ในการยืนยัน กรณีหากลืมรหัสผ่าน
7. กดยืนยันการลงทะเบียน
ยื่นภาษีออนไลน์ 2564 ผ่านระบบ ออนไลน์ E-Filing
หลังจากที่สมัครลงทะเบียนยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ออนไลน์ ผ่านระบบ E-FILING เรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะเป็นขั้นตอน วิธียื่นภาษี 2564 แบบออนไลน์ ซึ่งจะมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้ครับ
- เข้าสู่ระบบ E-Filing เว็บไซต์กรมสรรพากร >>efiling.rd.go.th<< หากยังไม่ได้สมัครสมาชิกให้ทำการลงทะเบียนก่อน โดยให้กด ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91
- กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี ได้แก่ สถานะ กิจการส่วนตัว (ถ้ามี)
- กรอกข้อมูลเงินได้ ได้แก่ เงินเดือน ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ ควรกรอกให้ครบนะ เพื่อประโยชน์ของตัวตคุณเอง
- กรอกค่าลดหย่อน ซึ่งจะมีทั้งหมด 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว ค่าลดหย่อน/ยกเว้น ด้านการขอทุนและการลงทุน ค่าลดหย่อน/ยกเว้น จากสินทรัพย์และมาตรการนโยบายภาครัฐ เงินบริจาค
- ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
- กด “ยืนยัน” การยื่นแบบ
ลดหย่อนภาษี คืนภาษี ตรวจสอบได้ที่ไหน | ยื่นภาษี ออนไลน์ 2564
หากใครที่กรอกข้อมูลลดหย่อนภาษีเพื่อขอคืนภาษีกันไป สามารถตรวจสอบข้อมูลการคืนเงินภาษีได้ที่ลิงก์นี้ >> บริการสอบถามข้อมูลการคืนภาษี กรมสรรพากร<<
สิ่งที่ต้องระวังคือ หากยื่นภาษี ภ.ง.ด.90/91 หรือ 94 ไม่ทันตามเวลาที่กำหนด มีโทษปรับสูงสุด 2 พันบาท และต้องเสียเบี้ยปรับสูงสุด 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ และยังต้องเสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องจ่ายนับจากวันที่เกินกำหนดชำระ แถม ถ้ามีเศษวันก็จะปัดเป็น 1 เดือนด้วย สมมติเลยกำหนดมา 3 เดือน 2 วัน ก็จะคิดเป็น 4 เดือน เรียกว่าค่าปรับแพงมาใช่ไหมล่ะ ฉะนั้น อย่าลืมยื่นภาษีออนไลน์ 2564 ก่อนหมดเขต วันสุดท้าย ในวันที่ 8 เมษายน 2565 กันด้วยนะครับ
- ยื่นภาษี 2564 ลดหย่อนอะไรได้บ้าง สิ่งสำคัญที่คุณควรรู้
- วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2564 บอกทุกขั้นตอนการยื่น ภงด. + ปีแรกของ ภาษีคริปโต
- กรมสรรพากร จับมือ สมาคมสินทรัพย์ดิจิทัล รับฟังความเห็น ภาษีคริปโตเคอเรนซี
- อย่าลืม ยื่นภาษี 64 แบบกระดาษ ภายใน 31 มี.ค. 65 และ ออนไลน์ ภายใน 8 เม.ย. 65
- มีคำตอบ ยื่นภาษีผิด 2564 แก้ไขอย่างไร เช็ควิธียื่นภาษีเพิ่มเติมที่นี่