อีกไม่กี่วันก้จะเข้าสู่ช่วงเทศกาลหยุดยวที่ทุกคนรอคอยกับ วันสงกรานต์ 2565 ในวันที่ 13, 14, 15 เมษายนนี้ แต่ว่าหลาย ๆ คนนั้นก็ยังไม่รุ้ถึงประวัติแลัความเป็นมาของวันนี้สักเท่าไหร่นัก วันนี้ The Thaiger จพมาพาทุกท่านเล่าย้อน ตำนานวันสงกรานต์ ว่าอะไรคือจุดเริ่มต้นของวันสำคัญ ที่เป็นถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของไทยมาจนถึงทุกวันนี้ รวมถึงที่มาของ นางสงกรานต์กิริณีเทวี และนางสงกรานต์คนอื่น ๆ อีกทั้ง 7 องค์ว่าทำไมถึงต้องมีด้วยนะ
ตำนานวันสงกรานต์ 7 นางสงกรานต์ ปริศนาชีวิต และบททดสอบของกุมารน้อย
ตำนานการเกิดสงกรานต์ กล่าวไว้ว่า ก่อนพุทธกาลมีเศรษฐีครอบครัวหนึ่ง อายุเลยวัยกลางคน แต่ก็ยังไร้ทายาทสืบสกุล ทำให้เศรษฐีนั้นทุกข์ใจเป็อย่างมาก และฝั่งข้างบ้านของเศรษฐีมีครอบครัวหนึ่ง ที่คนเป็นพ่อนั้นติดเหล้า สุราอย่างหนัก ถ้าวันไหนเมาสุราสุดขีด ก็จะพูดเสียงดังแสดงวาจาเยาะเย้ยเศรษฐี โดยสบประมาทในความมีทรัพย์มาก แต่ไร้ทายาทสืบสมบัติเสมอ
เศรษฐีจึงพยายามบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์ เพียรพยายามตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร ทำเช่นนี้เป็นเวลาติดต่อกันถึงสามปี ก็ไม่ได้บุตรดังที่ตนปรารถนาจนวันหนึ่งเป็น วันนักขัตฤกษ์สงกรานต์ ท่านเศรษฐีก็พาข้าทาสบริวารของตนมาที่โคนต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำที่อาศัยของนกทั้งหลาย
ท่านเศรษฐีให้บริวารล้างข้าวสารด้วยน้ำสะอาดถึง 7 ครั้ง แล้วจึงหุงข้าวสารนั้น เมื่อสุกแล้วยกขึ้นบูชาพระไทร เทพเหล่านั้นเกิดความสงสาร จึงขึ้นไปเฝ้าพระอินทร์ ทูลขอบุตรแก่เศรษฐี พระอินทร์จึงบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ “ธรรมบาล” ลงมาเกิด เมื่อครบกำหนดภรรยาเศรษฐีก็คลอดบุตรเป็นชาย จึงตั้งชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร เพื่อตอบสนองพระคุณเทพเทวา เศรษฐีจึงสร้างปราสาทสูง 7 ชั้น ถวายเทพต้นไทร
เมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น กลายเป็นเด็กฉลาด รอบรู้ และวัยเพียง 7 ขวบก็เรียนจบไตรเพท จนวันหนึ่งเทพชื่อ “ท้าวกบิลพรหม” ได้ยินกิตติศัพท์อันยอดเยี่ยมของเด็กน้อย จึงคิดทดลองภูมิปัญญาโดยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันจึงถามปัญหา 3 ข้อ ถ้ากุมารน้อยแก้ปัญหาทั้ง 3 ข้อได้ กบิลพรหมจะตัดศีรษะของตนบูชา ถ้าธรรมบาลแก้ไม่ได้ ก็จะต้องเสียหัวเพื่อยอมรับความพ่ายแพ้ ปัญหานั้นมีว่า
- ตอนเช้าราศีคนอยู่แห่งใด
- ตอนเที่ยงราศีของคนอยู่แห่งใด
- ตอนค่ำราศีของคนอยู่แห่งใด
ธรรมบาลไม่อาจทราบคำตอบได้ในทันทีได้ จึงผลัดวันตอบปัญหาไปอีก 7 วัน จนกระทั่งถึงวันที่ 6 ธรรมบาล ก็ยังคิดหาคำตอบปัญหานั้นไม่ได้ จึงหลบออกจากปราสาทหนีเข้าป่า และไปนอนพักเอาแรงใต้ต้นตาล ขณะนั้นบนต้นตาลมีนกอินทรีคู่หนึ่งอาศัยอยู่
นางนกถามสามีว่า “พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารที่ไหน”
นกสามีก็ตอบว่า “พรุ่งนี้เราไม่ต้องบินไปไกล เพราะจะได้กินเนื้อธรรมบาลกุมาร ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมตัดหัว เนื่องจากแก้ปัญหาไม่ได้”
นางนกถามว่า “ปัญหานั้นว่าอย่างไร”
นกสามีตอบว่า “ปัญหามีอยู่ 3 ข้อ และหมายถึง ข้อหนึ่ง ตอนเช้าราศีของมนุษย์อยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า | ข้อสอง ตอนเที่ยงราศีคนอยู่ที่อก มนุษย์จึงต้องเอาเครื่องหอมประพรมที่อก | ข้อสาม ตอนค่ำราศีคนอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน”
รุ่งขึ้นเป็นวันครบกำหนด ท้าวกบิลพรหม ฟังธรรมบาลกุมารกล่าวแก้ปัญหาตามที่นกอินทรีคุยกันทุกประการ ท้าวกบิลพรหมจึงเรียก ธิดาทั้ง 7 ของตน แล้วบอกว่าตนจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร แต่ถ้าเอาศีรษะพ่อวางไว้บนแผ่นดินก็จะลุกไหม้ไปทั้งโลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ อากาศจะแห้งแล้งฟ้าฝนจะหายไปสิ้น ถ้าทิ้งลงไปในมหาสมุทร น้ำในมหาสมุทรจะแห้งแล้งไปเช่นกัน
จึงสั่งให้นางทั้ง 7 คน เอาพานมารองรับศีรษะแล้วจึงตัดศีรษะส่งให้นางทุงษธิดาคนโต นางทุงษจึงเอาพานรับเศียรบิดาไว้แล้วแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วอัญเชิญไปไว้ในมณฑปถ้ำคันธุรลี เขาไกรลาส บูชาด้วยเครื่องทิพย์ พระเวสสุกรรมก็เนรมิตโรงประดับด้วยแก้ว 7 ประการ ชื่อภควดี ให้เป็นที่ประชุมเทวดา
เทวดาทั้งปวงก็เอาเถาฉมูนวดลงมาล้างในสระอโนดาต 7 ครั้ง แล้วก็แจกกันเสวยทุก ๆ องค์ ครั้นครบ 365 วัน โลกสมมุติว่าเป็นหนึ่งปีเป็นนางสงกรานต์ 7 องค์ ของเท้ากบิลพรหมก็ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของพระบิดาออกแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วจึงกลับไปเทวโลก
ประวัตินางสงกรานต์ทั้ง 7
นางสงกรานต์ เป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม หรือท้าวมหาสงกรานต์ และเป็นนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช (สวรรค์ชั้นที่ 1 ในทั้งหมด 6 ชั้น) ซึ่งมีหน้าที่ในการรับศรีษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือในวันสงกรานต์
โดยมีเกณฑ์กำหนดที่ว่าวันสงกรานต์ คือวันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่ นางสงกรานต์มีทั้งหมด 7 องค์ ได้แก่
1.นางสงกรานต์ทุงษเทวี
นางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ทัดดอกทับทิม มีปัทมราค (แก้วทับทิม) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคืออุทุมพร (มะเดื่อ) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือสังข์ เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์ครุฑ
2.นางสงกรานต์โคราดเทวี
3.นางสงกรานต์รากษสเทวี
4.นางสงกรานต์มัณฑาเทวี
นางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทัดดอกจำปา มีไพฑูรย์ (พลอยสีเหลืองแกมเขียว) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคือนมและเนย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือเหล็กแหลม พระหัตถ์ว้ายถือไม้เท้า เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์คัสพะ (ลา)
5.นางสงกรานต์กิริณีเทวี
6.นางสงกรานต์กิมิทาเทวี
นางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ดัดดอกจงกลนี มีบุษราคัมเป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคือกล้วยและน้ำ อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือพิณ เสด็จประทับยืนเหนือมหิงสา (ควาย)
7.นางสงกรานต์มโหทรเทวี
นางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) มีนิลรัตน์เป็นเครื่องประดับ ภักษาหารคือเนื้อทราย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือตรีศูล เสด็จประทับเหนือมยุราปักษา (นกยูง)
โดยที่ท่าทางของนางสงกรานต์ จะกำหนดตามเวลาที่พระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ราศีเมษ หรือเวลามหาสงกรานต์ตามที่คำนวณได้ ซึ่งเกณฑ์ในการกำหนดท่าทางของนางสงกรานต์ มีดังนี้
- ถ้าเวลามหาสงกรานต์เป็นเวลารุ่งสางถึงเที่ยง (6:00 น. – 11:59 น.) นางสงกรานต์จะยืนมา
- ถ้าเป็นเวลาเที่ยงถึงเย็น (12:00 น. – 17:59 น.) นางสงกรานต์จะนั่งมา
- ถ้าเป็นเวลาค่ำถึงเที่ยงคืน (18:00 น. – 23:59 น.) นางสงกรานต์จะนอนลืมตามา
- ถ้าเป็นเวลาเที่ยงคืนถึงเช้ามืด (00:00 น. – 05:59 น.) นางสงกรานต์จะนอนหลับตามา
ทำไมวันสงกรานต์ต้องเล่นน้ำ
สงกรานต์ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในกฎมณเฑียรบาล โดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ตราขึ้น และกล่าวถึงพระราชพิธีเผด็จศก เกี่ยวกับการตัดปีหรือการขึ้นปีใหม่
คำว่า ‘สงกรานต์’ มาจากภาษาสันสกฤตที่แปลความว่า “ก้าวขึ้น” หรือ “ย่างขึ้น” เป็นการที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนไปราศีเมษ เมื่อครบ 12 เดือน หรือ 1 ปี ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ
เหตุที่มีการสรงน้ำ รดน้ำ และสาดน้ำในวันสงกรานต์ เนื่องมาจากความเชื่อ ที่ว่าการสาดน้ำ จะช่วยให้ฝนฟ้าตกบริบูรณ์ประการหนึ่ง น้ำเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ เมื่อมีน้ำการเพาะปลูก ทำไร่ไถนาก็ได้ผล ประการหนึ่ง และถือกันว่าน้ำเป็นเครื่องชำระมลทินให้สะอาดอีกประการหนึ่งด้วยนั่นเอง
ข้อมูลจาก หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม