โรคที่ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร 2568 ตรวจร่างกายไม่ผ่าน ไม่ต้องจับใบดำใบแดง
ชายไทยเตรียมลุ้นระทึกจับใบดำใบแดง ตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการ ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 1-12 เมษายน 2568 พร้อมเผยรายชื่อ โรคที่เกณฑ์ทหารไม่ได้ จะจัดไปอยู่อีกจำพวก (ต้องมีใบรับรองแพทย์ยืนยัน) มีโรคอะไรบ้าง ที่ถูกกำหนดไม่ให้ผ่านการตรวจร่างกายเสี่ยงจับใบดำใบแดง แบ่งเป็นกี่จำพวกและเงื่อนไขข้อยกเว้นที่กฎหมายกำหนด ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารเท่านั้น
โรคที่ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร 2568
ทั้งนี้ต้องอธิบายก่อนว่าสำหรับการตรวจเลือกทหาร เกณฑ์ทหาร ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไร ก็ต้องไปรายงานตัวในวันตรวจเลือกก่อน เพื่อให้แพทย์ทหารตรวจร่างกาย ว่าเราเป็นบุคคลจำพวกใด ก่อนจะจับใบดำใบแดง โดย ในการตรวจเลือกทหารจะแบ่งคนเป็น 4 จำพวก อ้างอิงจาก กองการสัสดี หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
อ้างอิงตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 74 ปี พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ได้ออกโรคที่ขัดต่อการรับราชการทหาร โดยแบ่งเป็น 12 โรคหลัก
จากนั้นล่าสุด เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติ ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามข้อเสนอของกระทรวงกลาโหม ซึ่งผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว
การแก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวง ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2561) ว่าด้วยหลักเกณฑ์การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ โดยเพิ่ม 3 กลุ่มโรคใหม่ เข้าไปในกลุ่มบุคคลจำพวกที่ 2 ได้แก่ 1. กลุ่มโรคตุ่มน้ำพอง 2. โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด และ 3. โรคของเอนไซม์บนเม็ดเลือดแดงผิดปกติชนิด G-6-PD (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase)
สรุปก็คือ ครม. ไฟเขียว 3 กลุ่มโรค “ตุ่มน้ำพอง-ลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด-G6PD” ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร หากปีนั้นมีคนแข็งแรงพอเกณฑ์ นั่นเอง แต่ยังไงก็ต้องไปรายงานตัววันตรวจเลือกก่อน เพื่อให้แพทย์ทหารตรวจร่างกาย
1. โรค หรือความผิดปกติของตา
โรคที่ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร โรคแรกเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับทางสายตา เพราะเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ฝึก และสู้รบ โดยได้กำหนดโรคทางสายตาที่ไม่ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร มีดังนี้
- ตาบอด ข้างใดข้าหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง
- ค่าสายตาสั้น หรือยาว เกินกว่าที่กำหนด (ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสัสดี ผู้ตรวจ)
- ต้อหิน
- ต้อแก้ว (ทั้งสองข้าง)
- โรคขั้วประสาทตาเสื่อม (ทั้งสองข้าง)
- กระจกตาอักเสบ หรือเรื้อรัง (ทั้งสองข้าง)
2. โรค หรือความผิดปกติของหู
โรคที่มีความผิดปกติทางหู จะเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคในการฝึกทางทหาร เพราะเนื่องจากในการเข้ารับการฝึก ต้องฟังคำสังผู้บังคับบัญชา ดังนั้นโรคทางหูจึงมีกำหนดดังนี้
- หูหนวก (ทั้งสองข้าง) ที่จำเป็นต้องใช้เสียงในช่วงคลื่นความถี่ 500 – 2,000 รอบในการได้ยิน
- หูชั้นกลางอักเสบ หรือเรื้อรัง (ทั้งสองข้าง)
- เยื่อแก้วหูทะลุ (ทั้งสองข้าง)
3. โรคเกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือด
อีกหนึ่งโรคที่สำคัญต่อชีวิตของผู้เข้ารับการเกณฑ์ทหารเป็นอย่างมาก และเพื่อป้องกันเหตุร้าย จึงได้กำหนดโรคเกี่ยวกับหัวใจ ที่ไม่ต้องเกณฑ์ทหารไว้ดังนี้
- หัวใจหรือหลอดเลือดพิการ อย่างถาวร หรือเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายร้ายแรง
- ลิ้นหัวใจพิการ
- การเต้นของหัวใจผิดปกติ อย่างถาวร หรือเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายร้ายแรง
- โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ ชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
- หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
- หลอดเลือดภายในกะโหลกศีรษะโป่งพอง หรือผิดปกติ
4. โรคเกี่ยวกับเลือด และอวัยวะสร้างเลือด
ในการเข้ารับการฝึกบางครั้งอาจมีอาการบาดเจ็บ เป็นเหตุให้เลือดออกบ้าง ดังนั้นทางกฎกระทรวง จึงออกข้อกำหนดของผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับเลือด ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร ดังนี้
- โรคเลือด หรืออวัยวะสร้างเลือด ผิดปกติ อย่างถาวร ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
- ภาวะม้ามโต (Splenomegaly) ที่รักษาไม่หาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
5. โรคของระบบหายใจ
หนึ่งในโรคที่เป็นอุปสรรคใหญ่ในการปฏิการราชการทหารอย่างโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ มีกำหนดไว้ดังนี้
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease หรือ COPD)
- โรคหลอดลมพอง (Bronchiectasis)
- โรคหืด (Asthma)
- โรคของระบบหายใจ ที่ส่งผลให้สมรรถภาพของปอดลดลงจน Forced Expiratory Volume in One Second ต่ำกว่า 2 ลิตร
6. โรคของระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ ก็ถูกบรรจุไว้ใน โรคที่ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร 2566 ด้วยเช่นกัน
- โรคไตอักเสบ เรื้อรัง
- โรคไตวาย เรื้อรัง
- ไตพองเป็นถุงน้ำ (Polycystic Kidney) ตั้งแต่กำเนิด
- กลุ่มอาการไตพิการ
7. โรค หรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ
อวัยวะที่สำคัญที่สุดในการเข้ารับการฝึกทหารเกณฑ์ นั่นก็คือกล้ามเนื้อ และกระดูก ดังนั้นจึงได้มีกำหนด โรค หรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ ไว้ดังนี้
- ข้ออักเสบเรื้อรัง เป็นเหตุให้กระดูกเปลี่ยนรูป
- แขน ขา มือ เท้า นิ้ว อย่างใดอย่างหนึ่งมีรูปร่างผิดปกติ ดังต่อไปนี้
- ด้วน หรือพิการ ไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิมได้
- นิ้วมือ ในมือข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไป (ภาวะอวัยวะเกิน)
- คอเอียง หรือแข็งทื่อ ชนิดถาวร
- กระดูกสันหลังโก่ง หรือคดงอ จนเห็นได้ชัด
- กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบ หรือหดสั้น เป็นผลให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งใช้การไม่ได้
8. โรคของต่อมไร้ท่อ และภาวะความผิดปกติของเมตาบอลิซึม
- ภาวะต่อไทรอยด์ทำงานน้อยไป อย่างถาวร
- ภาวะต่อพาราไทรอยด์ทำงานน้อยไป อย่างถาวร
- ภาวะต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ อย่างถาวร
- โรคเบาหวาน
- ภาวะโรคอ้วน ค่าดัชนีย์ความหนาแน่นของร่่างกายมีตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป
- โรค หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
9. โรคติดเชื้อ
- โรคเรื้อน
- โรคเท้าช้าง
- โรคติดเชื้อเรื้อรัง ที่แสดงอาการรุนแรง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
10. โรคทางประสาทวิทยา
เป็นอีกหนึ่ง โรคที่ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร 2566 อันเนื่องมาจากภาวะทางประสาท ที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว กระบวนการความคิด และภาวะอารมณ์
- โรคจิตเจริญล่าช้า
- ใบ้
- ลมชัก
- อัมพาต
- สมองเสื่อม
- โรคความผิดปกติของสมอง หรือไขสันหลัง
- กล้ามเนื้อหมดกำลังอย่างหนัก
11. โรคทางจิตเวช
โรคทางจิตเวช ต้องได้รับการรับรองจากทางจิตแพทย์ว่าเป็นผู้มีปัญหาทางด้านจิตเวช
- โรคจิต หรือโรคที่ทำให้เกิดการทางจิตขั้นรุนแรง
12. โรค หรือภาวะอื่น ๆ
- กะเทย หรือภาวะการเบี่ยงเบนทางเพศ
- มะเร็ง ทุกระยะ
- โรคตับอักเสบเรื้อรัง
- โรคตับแข็ง
- คนเผือก
- กายแข็ง
- รูปวิปริตต่าง ๆ
- ปากแหว่งเพดานโหว่
- จมูกโหว่
สำหรับ 3 กลุ่มโรคใหม่ที่ ครม. ไฟเขียว ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร มีรายละเอียดของโรคดังต่อไปนี้
1. กลุ่มโรคตุ่มน้ำพอง
โรคตุ่มน้ำพองเป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ไปทำลายโครงสร้างผิวหนัง ทำให้เกิดตุ่มน้ำและแผลถลอกขึ้น ตุ่มน้ำพองเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งบนผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ เช่น ในปาก จมูก หรืออวัยวะเพศ
โรคตุ่มน้ำพองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
โรคเพมฟิกัส
- เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายโปรตีนที่ยึดเซลล์ผิวหนังชั้นบน ทำให้เซลล์ผิวหนังแยกตัวออกจากกัน เกิดเป็นตุ่มน้ำที่ผิวหนังชั้นบน ตุ่มน้ำมักจะแตกง่าย
โรคเพมฟิกอยด์
- เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายโปรตีนที่ยึดเซลล์ผิวหนังชั้นบนกับชั้นล่าง ทำให้ผิวหนังทั้งสองชั้นแยกตัวออกจากกัน เกิดเป็นตุ่มน้ำที่ลึกกว่าเพมฟิกัส ตุ่มน้ำมักจะเหนียวและแตกยากกว่า
โรคตุ่มน้ำพองเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง การรักษามักจะใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบ และอาจมียาชนิดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน
2. โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด
โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung’s Disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของลำไส้ส่วนปลาย โดยลำไส้ส่วนนั้นจะไม่มีเซลล์ประสาทที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ ทำให้อุจจาระไม่สามารถเคลื่อนผ่านลำไส้ส่วนนั้นได้ เกิดการอุดตัน และทำให้ลำไส้ส่วนบนโป่งพองขึ้น
โรคนี้มักพบในทารกแรกเกิด โดยแพทย์สามารถสังเกตอาการผิดปกติได้ตั้งแต่แรกคลอด เช่น ทารกไม่ถ่ายอุจจาระภายใน 48 ชั่วโมงแรก ท้องอืด ท้องเสีย อาเจียน
การรักษาโรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด ทำได้โดยการผ่าตัดเอาลำไส้ส่วนที่ไม่มีเซลล์ประสาทออก และนำลำไส้ส่วนปกติมาต่อกัน การผ่าตัดสามารถทำได้ทั้งแบบผ่าตัดเปิดหน้าท้อง และแบบผ่าตัดผ่านกล้อง
3. โรคของเอนไซม์บนเม็ดเลือดแดงผิดปกติชนิด G-6-PD
โรค G-6-PD เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม X ทำให้ร่างกายสร้างเอนไซม์ G-6-PD ได้น้อย เอนไซม์นี้มีความสำคัญในการป้องกันเม็ดเลือดแดงจากการถูกทำลาย เมื่อเอนไซม์ G-6-PD ไม่เพียงพอ เม็ดเลือดแดงจะถูกทำลายได้ง่าย ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง
อาการของโรค G-6-PD มีความหลากหลาย บางคนอาจไม่มีอาการใดๆ แต่บางคนอาจมีอาการรุนแรง เช่น
- โลหิตจาง
- ดีซ่าน (ตัวเหลือง ตาเหลือง)
- ปัสสาวะสีเข้ม
- เหนื่อยง่าย
- หายใจหอบ
- หัวใจเต้นเร็ว
การรักษาโรค G-6-PD ส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ เช่น การให้เลือด การให้ยา และการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก เช่น ยาบางชนิด อาหารบางชนิด และการติดเชื้อ
ทั้งนี้ การจะระบุว่าเป็นโรคที่ไม่ต้องรับราชการทหาร ต้องมีหลักฐานเป็นใบรับรองแพทย์ที่ตรวจโดยโรงพยาบาลทหารที่กองทัพระบุ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันเกณฑ์ทหาร 2566 เมื่อถึงวันให้นำเอกสารใบรับรองแพทย์ ไปยื่นในการตรวจร่างกาย เพื่อให้แพทย์ทหารลงความเห็นว่าเป็นบุคคลจำพวกใด ไม่ใช่ว่าเป็นโรคนี้แล้วไม่ต้องไปเกณฑ์ทหาร ซึ่งในตอนตรวจร่างกายนี่แหละ ทหารจะแทงเราไปจำพวกต่าง ๆ
คนจำพวกที่ 1
ได้แก่ คนที่มีร่างกายสมบูรณ์ดี ไม่มีอวัยวะพิการหรือผิดส่วนแต่อย่างใด มีความสูงตั้งแต่ 146 ซม. ขึ้นไป ขนาดรอบตัวตั้งแต่ 76 ซม. ขึ้นไป
คนจำพวกที่ 2
คือ คนซึ่งมีร่างกายที่เห็นได้ชัดว่าไม่สมบูรณ์ดีเหมือนคนจำพวกที่ 1 แต่ไม่ถึงทุพพลภาพ
คนจำพวกที่ 3
คือ คนซึ่งมีร่างกายยังไม่แข็งแรงพอที่จะรับราชการทหารในขณะนั้นได้เพราะป่วย ซึ่งรักษาหายไม่ทันใน 30 วัน ในปีนี้จะไม่ต้องจับใบดำใบแดง แต่จะต้องมารายงานตัวเพื่อคัดเลือกทหารใหม่ปีหน้า
คนจำพวกที่ 4
คือ คนพิการทุพพลภาพ ซึ่งมีโรค หรือสภาพร่างกาย หรือสภาพจิตใจที่ไม่สามารถจะรับราชการทหารได้
โรงพยาบาลในสังกัดทหารบก
รวม 20 โรงพยาบาลในสังกัดทหารบกที่สามารถเข้ารับการตรวจโรคที่ถูกระบุว่าไม่ต้องเกณฑ์ทหารได้ แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาคทั่วประเทศไทยดังต่อไปนี้
ภาคกลาง จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
-
- โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (กรุงเทพฯ)
- โรงพยาบาลอานันทมหิดล (ลพบุรี)
- โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ (ศร.) (ประจวบคีรีขันธ์)
- โรงพยาบาลค่ายสุรสีห์ (กาญจนบุรี)
- โรงพยาบาลค่ายอดิศร (สระบุรี)
ภาคตะวันออก จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
-
- โรงพยาบาลค่ายจักรพงษ์ (ปราจีนบุรี)
- โรงพยาบาล รร.จปร. (นครนายก)
- โรงพยาบาลค่ายนวมินทราชินี (ชลบุรี)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
-
- โรงพยาบาลค่ายสุรนารี (นครราชสีมา)
- โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ (อุบลราชธานี)
- โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน (สุรินทร์)
- โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม (อุดรธานี)
- โรงพยาบาลค่ายกฤษณ์สีวะรา (สกลนคร)
ภาคเหนือ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่
-
- โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พิษณุโลก)
- โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ (นครสวรรค์)
- โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี (ลำปาง)
- โรงพยาบาลค่ายกาวิละ (เชียงใหม่)
- โรงพยาบาลค่ายอดิศร (สระบุรี)
ภาคใต้ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่
-
- โรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ (นครศรีธรรมราช)
- โรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์ (สงขลา)
- โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร (ปัตตานี)
อ้างอิง : พระราชบัญญัติรับราชการทหาร