Line Newsไลฟ์สไตล์

ขั้นตอนเกณฑ์ทหาร 2567 เตรียมเอกสารสารสมัคร จับใบแดงโดนกี่ปี

วันเวลาครบ 1 ปี เทศกาลแห่งความลุ้นระทึกของชายไทยก็วนกลับมาอีกครั้งสำหรับการ เกณฑ์ทหาร 2567 ที่จะเริ่มในวันที่ 1 เมษายนไปจนถึง วันที่ 12 เมษายน 2567 ต้องมีคุณสมบัติและเอกสารที่สำคัญอะไรบ้าง วันนี้ The Thaiger ได้รวบรวมเกณฑ์การคัดเลือก และคุณสมบัติให้ท่านชายได้ทราบไว้ ณ ที่นี้แล้ว เข้ามาอ่านได้เลยครับ

คู่มือการเกณฑ์ทหาร 2567 เตรียมเอกสารอะไรบ้าง

ระหว่างวันที่ 1-12 เมษายน 2567 (เว้นวันที่ 6 เมษายน ตรงกับวันจักรี) หน่วยงานกองทัพบก จะทำการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการในปี 2565 ซึ่งขณะนี้ทางราชการได้เตรียมความพร้อมทั้ง บุคลากร สถานที่ ระบบการบริหารจัดการที่กระชับรวดเร็ว อำนวยความสะดวกให้ผู้เข้ารับการตรวจเลือกอย่างเต็มที่ รวมทั้งคณะกรรมการตรวจเลือก ที่จะดำเนินการพร้อมกันใน 77 จังหวัด 928 หน่วยตรวจเลือก โดยหลักเกณ์ตังนี้

Advertisements

คุณสมบัติผู้ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร

  1. เป็นชายไทย ผู้ที่เกิด พ.ศ. 2544 ขึ้นไป มีอายุครบ 21 ปี มีอายุ 21 ปีบริบูรณ์
  2. ชายไทย ผู้ที่เกิด พ.ศ.2536 – 2545 อายุ 22-29 ปี ที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือก หรือการตรวจเลือกยังไม่แล้วเสร็จ
  3. นิสิต นักศึกษา นักเรียน ที่อยู่ระหว่างการศึกษา จะได้รับการผ่อนผันตามกฎกระทรวง
  4. ขนาดร่างกาย : มีส่วนสูง 160 เซนติเมตรขึ้นไป รอบอก 76 เซนติเมตรขึ้นไป (วัดในเวลาหายใจออก) น้ำหนักไม่เกินตามมาตรฐานที่ ทบ.กำหนด
  5. ไม่เป็นโรคที่ขัดต่อการรับราชการทหาร

อย่างไรก็ตาม บุคคลข้างต้น จะต้องไปรับหมายเรียกฯ (แบบ สด.35) จากเจ้าหน้าที่สัสดี ณ สำนักงานเขต หรือที่ว่าอำเภอซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตนและไปเข้ารับการตรวจเลือก ตามวันเวลา และสถานที่ ที่กำหนดไว้ในหมายเรียกฯ โดยมีบทลงโทษกำหนดหากไม่ไปรับหมายเรียก ดังต่อไปนี้

  • หากไม่ไปรับหมายเรียก ภายในกำหนดต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 300 บาท
  • หากรับหมายเรียกแล้วไม่ไปเข้ารับการตรวจเลือก ถือว่าผู้นั้นหลีกเสี่ยงหรือขัดขืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี

เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนไปรายงานตัว

ในการเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองประจำการ มีเอกสารสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้จะขอใช้สิทธิต่าง ๆ เช่น ลดเวลาประจำการตามวุฒิการศึกษา หรือผู้ที่ขอผ่อนผันต่อหรือขอสละสิทธิผ่อนผัน ผู้ที่ต้องการสมัครเป็นทหาร ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อรักษาสิทธิของตนเองการตรวจเลือกทหารกองประจำการ ประกอบด้วย

  1. บัตรประชาชน
  2. ใบสำคัญทหารกองเกิน (สด.9) หรือ เอกสาร ใบสด.9
  3. หมายเรียกฯ (สด.35) เอกสาร ใบสด.35
  4. วุฒิการศึกษา
  5. ใบรับรองแพทย์ / ฟิล์มเอ็กซเรย์
  6. เอกสารรับรองการผ่านการเข้าอบรมนักศึกาาวิชาทหาร (ถ้ามี)

หมายเหตุ: ทหารกองเกิน ซึ่งอยู่ในกำหนดเรียกเข้ารับการตรวจเลือกฯ ในเดือน เม.ย.2567 ผู้ใดที่เห็นว่าตนเองมีโรคหรือสภาพร่างกาย หรือสภาพจิตใจที่ไม่สามารถรับราชการทหารได้

ให้ไปขอรับการตรวจโรคก่อนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการ ทหารกองประจำการ ประจำปี 2567 ได้ที่โรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ 26 แห่งทั่วประเทศ (โรงพยาบาลใดก็ได้) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 25 ก.พ.2567

หากพ้นห้วงเวลาที่กำหนด จะดำเนินการตรวจโรคก่อนการตรวจเลือกฯ ให้ไม่ได้ แต่ทหารกองเกินสามารถนำผลการตรวจโรคของแพทย์จากโรงพยาบาลทหารหรือโรงพยาบาลของรัฐไปแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือกฯ ในวันตรวจเลือกฯ เพื่อประกอบการวินิจฉัยได้

Advertisements

เกณฑ์ทหาร 2567 คู่มือการรับเลือกราชการทหาร

ขั้นตอนการตรวจเลือกคัดทหารเกณฑ์ 2567

เวลา 07.00 น. ทหารกองเกินที่ได้รับหมายเรียก (แบบ สด.35) แล้ว ทุกคนเข้าแถวตามแขวง/ตำบล เพื่อเตรียมเคารพรงชาติประธานกรรมการตรวจเลือกทหาร ชี้แจงความจำเป็นถึงการตรวจเลือกทหาร เมื่อประธานกรรมการชี้แจงเสร็จ จากนั้นกรรมการสัสดีจะชี้แจงถึงขั้นตอนการปฏิบัติในการตรวจเลือกทหาร รวมทั้งสิทธิต่าง ๆ ของผู้ถูกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ คือ ผู้ที่สมัครหรือผู้ที่จับสลากแดงได้ ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

โต๊ะที่ 1 เรียกชื่อ ตรวจสอบหลักฐานบุคคล

กรรมการจะเรียกชื่อทหารกองเกินเข้ารับการตรวจเลือก

โต๊ะที่ 2 ตรวจร่างกาย

แพทย์จะตรวจร่างกายว่าสมบูรณ์ดีหรือไม่ กรรมการสัสดีกำหนดคนเป็น 4 จำพวก ได้แก่

  • จำพวกที่ 1 คนร่างกายสมบูรณ์ดี
  • จำพวกที่ 2 คนที่ร่างกายไม่สมบูรณ์ดีเหมือนคนจำพวกที่ 1 แต่ไม่ถึงกับทุพพลภาพ
  • จำพวกที่ 3 คนที่ได้รับอุบัติเหตุหรือมีโรครักษาให้หายไม่ได้ภายใน 30 วัน
  • จำพวกที่ 4 คนที่ร่างกายพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคที่กคุณสฎหมายกำหนดให้ไม่ต้องเข้ารับราชการทหาร

ในส่วนของ บุคคล จำพวกที่ 2 3 4 รอการเรียกจากโต๊ะประธานกรรมการเพื่อตรวจสอบบุคคลและรับใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ แบบ สด.43 จากนั้นเสร็จสิ้นขั้นตอน

โต๊ะที่ 3 วัดขนาด สัดส่วนร่างกาย

กรรมการจะวัดขนาดสูงและขนาดรอบตัวของร่างกายตรวจสอบขั้นสุดท้าย

1. หากร่างกายสมบูรณ์ดีและขนาดสูง 160 เซนติเมตร ขนาดรอบตัว 76 เซนติเมตร ในเวลาหายใจออกเรียกว่า คนได้ขนาด และจะให้รอจับสลาก

2. เมื่อมีคนได้ขนาดพอกับยอดจำนวนที่ต้องการคนเข้ากองประจำการ ทหารกองเกินที่มี ขนาดสูงต่ำกว่า 1 เมตร 60 เซนติเมตร ขนาดรอบตัวต่ำกว่า 76 เซนติเมตร ในเวลาหายใจออก และคนจำพวกที่ 2,3,4 ซึ่งร่างกายไม่สมบูรณ์ดีหรือร่างกายพิการทุพพลภาพหรือมีโรคที่ขัดต่อการเป็นทหารกองประจำการ ประธานกรรมการจะปล่อยตัวพร้อมกับมอบไบรับรองผลการตรวจเลือก (แบบ สด.43) ให้ทหารกองเกินรับไป

เกณฑ์การยกเว้นไม่ต้องเข้าคัดเลือกรับราชการทหาร

สำหรับกรณียกเว้น ไม่ต้องเข้าคัดเลือกการเกณฑ์ทหาร จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1. ยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการกองประจำการ (ยกเว้นให้ตลอดไป) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย

1.1 พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ หรือที่เป็นเปรียญ และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีน หรือญวน ที่มีสมณศักดิ์ โดยพระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ หมายถึง ยศของพระ เช่น เป็นพระครู พระชั้นเทพหรือชั้นธรรม เป็นต้น

*ส่วนตำแหน่งของพระ เช่น เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ อย่างนี้เป็นตำแหน่ง ไม่ใช่สมณศักดิ์ จึงไม่ได้รับการยกเว้น พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ อาจไม่มีตำแหน่งก็ได้ พระภิกษุที่เป็นเปรียญ หมายถึง การศึกษาของพระ เช่น เป็นเปรียญตั้งแต่ 3 ประโยค ถึง 9 ประโยค

สำหรับนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีน หรือญวน ที่มีสมณศักดิ์นั้น หมายถึง ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนาเหมือนกัน ต่างกันที่ถือตามนิกายของจีนกับของญวน นักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวน ต้องมีสมณศักดิ์ด้วย จึงจะได้รับการยกเว้น

1.2 คนพิการทุพพลภาพซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้

2. ยกเว้นไม่เรียกมาเข้ารับการตรวจเลือกในยามปกติ

2.1 พระภิกษุสามเณรซึ่งเป็นนักธรรม

พระภิกษุ สามเณร ซึ่งเป็นนักธรรม หมายถึง ผู้ที่จบนักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก เมื่อยื่นเรื่องขอยกเว้นและได้รับการยกเว้นแล้ว ไม่ต้องไปแสดงตนเข้ารับการตรวจเลือกฯ ถ้ายื่นไม่ทันก่อนการตรวจเลือก จะนำหลักฐานไปยื่นขอรับการยกเว้นต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันทำการตรวจเลือกก็ได้ หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นต่อนายอำเภอเพื่อขอยกเว้น ได้แก่

  • ประกาศนียบัตรจบนักธรรม
  • ใบสำคัญ(แบบ สด.9)
  • หมายเรียก(แบบ สด.35)
  • หนังสือรับรองของเจ้าอาวาส
  • หนังสือสุทธิ

2.2 ผู้อยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหาร (ยังไม่จบ รด.ปี 3)

ในส่วนของการขอยกเว้นให้สถานศึกษาจัดทำบัญชีผู้ซึ่งอยู่ในกำหนดต้องเรียกมาตรวจเลือกฯ ส่งสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และ นรด. ภายในเดือน ต.ค.ของทุกปี หลักฐานเป็นหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมจะแจ้งไปยังจังหวัดภูมิลำเนาทหารของผู้นั้น ให้จัดการยกเว้นให้ แล้วผู้นั้นไม่ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือก

2.3 ครูในสถานศึกษา

ครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่าง ๆ ที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น รวมถึงครูอัตราจ้างด้วย แต่ครูไม่ได้รับการยกเว้นทุกคน ครูที่จะมีสิทธิได้รับการยกเว้นจะต้องเข้าลักษณะตามที่กำหนด ดังนี้

เป็นครูประจำทำการสอนนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา ไม่น้อยกว่า 15 คนเป็นปกติและในจำนวนนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาไม่น้อยกว่า 15 คนนี้ ยกเว้นครูได้คนเดียว หรือเป็นครูสอนประจำเฉพาะวิชาซึ่งทำการสอนนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาไม่น้อยกว่า 15 คนเป็นปกติ และในจำนวนนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาไม่น้อยกว่า 15 คนนี้ ก็ยกเว้นครูได้คนเดียวเช่นกัน

มีเวลาสอนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง สำหรับครูซึ่งประจำทำการสอนในสถานศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาลงมา หรือไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง สำหรับครูซึ่งประจำทำการสอนในสถานศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา

ขั้นตอนเกณฑ์ทหาร 2567 มีสถานที่รับตรวจทหารที่ไหนบ้าง

สถานที่ทำการตรวจเลือกทหารกองเกินของแต่ละภาค

พิกัดสถานที่รับการตรวจเลือกทหารกองเกินของแต่ละภาค จะแบ่งออกเป็น กองทัพทั้งหมด 4 ภาค ประกอบด้วย กองทัพภาคที่ 1 (ภาคกลาง), กองทัพภาคที่ 2 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กองทัพภาคที่ 3 (ภาคเหนือ) และกองทัพภาคที่ 4 (ภาคใต้) แบ่งออกตามจังหวัดได้ดังนี้

1. ภาคกลาง (กองทัพภาคที่ 1)

  • กรุงเทพมหานคร (กทม.) กาญจนบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตราด นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง

2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กองทัพภาคที่ 2)

  • กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี และบึงกาฬ

3. ภาคเหนือ (กองทัพภาคที่ 3)

  • กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

4. ภาคใต้ (กองทัพภาคที่ 4)

  • กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี

ขั้นตอนเกณฑ์ทหาร 2567 การจับใบดำ ใบแดง

รายชื่อโรงพยาบาลตรวจโรคก่อนการตรวจเลือกทหารกองเกิน

รายชื่อโรงพยาบาล และแนวทางการดำเนินการ ซึ่งโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก จำนวน 22 แห่ง ประกอบด้วย ภาคกลาง จำนวน 5 แห่ง ภาคตะวันออก จำนวน 3 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 แห่ง ภาคเหนือ จำนวน 6 แห่ง ภาคใต้ จำนวน 3 แห่ง โรงพยาบาลในสังกัดกองทัพเรือ จำนวน 2 แห่ง และโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพอากาศ จำนวน 2 แห่ง ตามนี้

ภาคกลาง

  • โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (กรุงเทพมหานคร)
  • โรงพยาบาลอานันทมหิดล (ลพบุรี)
  • โรงพยาบาลค่ายธนะรัชต์ ศูนย์การทหารราบ (ประจวบคีรีขันธ์)
  • โรงพยาบาล ค่ายสุรสีห์ (กาญจนบุรี)
  • โรงพยาบาลค่ายอดิศร (สระบุรี)

ภาคตะวันออก

  • โรงพยาบาลค่ายจักรพงษ์ (ปราจีนบุรี)
  • โรงพยาบาลโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (นครนายก)
  • โรงพยาบาลค่ายนวมินทราชินี (ชลบุรี)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • โรงพยาบาลค่ายสุรนารี (นครราชสีมา)
  • โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ (อุบลราชธานี)
  • โรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน (สุรินทร์)
  • โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม (อุครธานี)
  • โรงพยาบาลค่ายกฤษณ์สีวะรา (สกลนคร)

ภาคเหนือ

  • โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พิษณุโลก)
  • โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ (นครสวรรค์)
  • โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี (ลำปาง)
  • โรงพยาบาลค่าย กาวิละ (เชียงใหม่)
  • โรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราช (เชียงราย)
  • โรงพยาบาลค่ายพ่อขุนผาเมือง (เพชรบูรณ์)

ภาคใต้

  • โรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ (นครศรีธรรมมาราช)
  • โรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์ (สงขลา)
  • โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร (ปัตตานี)

โรงพยาบาลในสังกัดกองทัพเรือ

  • โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า (กรุงเทพมหานคร)
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ (ชลบุรี)

โรงพยาบาลในสังกัดกองทัพอากาศ

  • โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (กรุงเทพมหานคร)
  • โรงพยาบาลจันทรุเบกษา (นครปฐม)

สิทธิลดวันรับราชการทหาร จับใบดำ ใบแดง

ยื่นวุฒมัธยมศึกษาปีที่ 3

  • กรณี จับได้ใบแดง 2 ปี
  • กรณี ขอสมัคร 2 ปี

ยื่นวุฒยื่นวุฒมัธยมศึกษาปีที่ 6 / ปวช.

  • กรณี จับได้ใบแดง 2 ปี
  • กรณี ขอสมัคร 1 ปี

ยื่นวุฒยื่นวุฒปวส. / ปริญญาตรี

  • กรณี จับได้ใบแดง 1 ปี
  • กรณี ขอสมัคร 6 เดือน

กรณีผ่านการศึกษาหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหาร (นศท) / รด. จะต้องมีเกณฑ์ดังนี้

จบ รด. ปี 1

  • กรณี จับได้ใบแดง 1 ปี 6 เดือน
  • กรณี ขอสมัคร 1 ปี

จบ รด. 2 ปี

  • กรณี จับได้ใบแดง 1 ปี
  • กรณี ขอสมัคร 6 เดือน

จบ รด. 3 ปี

  • ไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือก

ขั้นตอนเกณฑ์ทหาร 2567 คืออะไร

ทหารเกณฑ์คืออะไร

ทหารเกณฑ์ หมายถึง พลทหาร (ย่อว่า พลฯ) ทหารกองเกิน ซึ่งถูกบังคับให้ต้องเป็นทหารตามพระราชบัญญัติว่าด้วยรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 โดยจะเป็นทหารกองประจำการที่ชั้นยศต่ำที่สุดในกองทัพ มีหน้าที่รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาแล้วปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จ และเมื่อบุคคลใดที่ได้รับราชการเป็นทหารเกณฑ์ ก็จะมีตำแหน่งเป็นพลทหารในทันที

การรับหมายเรียกหรือ หมายเกณฑ์ทหาร

  • ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า 21 (อายุ 20 ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ. ใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเกณฑ์ที่อำเภอท้องที่ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : กองสัสดี หน่วยบัญชาการรักษาแผ่นดิน

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button