ข่าว

อาจารย์เจษฎ์ สยบข่าวลือ ATK ตรวจโควิดไม่ได้ เพราะความเป็นกรด-ด่าง

สยบเฟกนิวส์ “อาจารย์เจษฎ์” เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อธิบายอีกรอบหลังโลกออนไลน์พากันแชร์ข้อมูลชุดตรวจโควิด ATK ตรวจโควิดไม่ได้เพราะร่างกายเป็นกรด

วันนี้ (25 ก.พ.65) “อาจารย์เจษฎ์” เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับชุดตรวจหาโควิด ATK ที่ก่อนหน้านี้กลับมามีการแชร์ข้อมูลกันบนโลกออนไลน์ว่าไม่สามารถตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ เพราะความเชื่อว่า ปกติร่างกายเรามีความเป็นกรด ทำให้เวลาตรวจด้วยชุด ATK จะให้ได้ผลเป็นบวกเสมอ

ประเด็นนี้อาจารย์ม.ดัง ออกมาแจงผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ วันนี้ (25 ก.พ.65) โดยระบุว่า “ยังมีการแชร์อยู่เรื่อยๆ เรื่องที่บอกว่า “ชุดตรวจ ATK ไม่สามารถใช้ตรวจหาโรค covid ได้จริง เพราะมันความเป็นกรดด่าง ไม่ได้หาเชื้อไวรัส” !? ซึ่งไม่จริงนะครับ !! เขียนโพสต์เตือนเรื่องมั่วนี้ไปหลายทีแล้ว … มันเป็นผลจากการที่เอาไปใช้ผิดประเภท ทำให้ชุดตรวจรายงานผลผิดพลาดไปด้วย ควรใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมตามคำแนะนำในคู่มือนะครับ”

อาจารย์เจษฎ์ ได้ยกเนื้อหาเก่าที่เคยอธิบายไว้มาชี้แจงเพิ่มว่า “กลุ่มต่อต้านวัคซีนโรคโควิด พยายามจะบอกว่าชุดตรวจ ATK ใช้ไม่ได้ผลจริง เพราะมีค่าเทียบเท่ากับแค่กระดาษลิตมัส วัดค่า pH กรดด่าง เท่านั้น โดยเขาทดลองเอาไปจิ้มกับส้ม (ซึ่งเป็นกรด) แล้วได้ผลเป็นบวก และเอาไปจิ้มกับสบู่ (ซึ่งเป็นด่าง) ก็ได้ผลเป็นลบ ?!”

“คนกลุ่มนั้น มีความเชื่อว่า ปกติร่างกายเรามีความเป็นกรด ทำให้เวลาตรวจด้วยชุด ATK จะให้ได้ผลเป็นบวกเสมอ !? ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ใช่เรื่องจริงนะครับ ! เป็นความมั่วที่เกิดจากการเอาชุด ATK ไปใช้แบบผิด ๆ ไม่ทำตามวิธีในคู่มือที่เขากำหนดมา”

“เรื่องนี้ก็ปัญหาเดียวกันกับที่เอาชุด ATK ไปใช้กับน้ำประปา หรือน้ำโคล่า ซึ่งมีความเป็นกรด เลยทำให้ผลที่ออกมามันผิดพลาด เกิด ผลบวกปลอม (false positive) ขึ้น (ดูโพสต์เก่าที่เคยเขียนอธิบายไว้ https://www.facebook.com/219186678564393/posts/1306122003204183/)”

“การใช้ชุดตรวจโควิดแบบ ATK นี้ให้ถูกต้อง จะต้องเก็บตัวอย่างเชื้อ ไปผสมกับหลอดน้ำยา ซึ่งเป็นสารละลายบัฟเฟอร์ buffer ที่ช่วยควบคุมค่าพีเอช pH (ค่าความเป็นกรดด่าง) ไว้อย่างเหมาะสม การเอาไปตรวจกับของเหลวอื่น ที่มีความเป็นกรด ก็จะทำให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของชุดตรวจผิดไป สีอินดิเคเตอร์ของพีเอช ที่แถบแสดงผล ก็อาจจะติดสีขึ้นมา และกลายเป็นผลบวกปลอมขึ้นมาได้”

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx