ข่าวข่าวธุรกิจ

AVEVA : 5 วิธีปลูกฝังการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในสถานที่ทำงานแบบไฮบริด

AVEVA นำเสนอบทความภายใต้หัวข้อ 5 วิธีปลูกฝังการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในสถานที่ทำงานแบบไฮบริด ระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร

การสื่อสารแบบเปิดใจและการจัดฝึกอบรมจะช่วยให้บริษัทเปลี่ยนผ่านไปสู่การทำงานแบบไฮบริดระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรได้โดยพนักงานจะได้รับโอกาสในพัฒนาความรู้ความสามารถในงานของตนด้วย กล่าวโดยคุณไซมอน เบนเนตต์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยระดับสากลแห่ง AVEVA

Advertisements

ก่อนหน้าที่จะเกิดโรคระบาด มีการคาดการณ์ถึงแนวทางที่เราจะต้องคอยเพิ่มพูนทักษะตนเองอยู่เรื่อย ตลอดช่วงเวลาในอาชีพการงานเพื่อให้มีความรู้ความสามารถเท่าทันและรักษาตำแหน่งหน้าที่การงานไว้ได้ อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมาทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ในขณะเดียวกันพนักงานต่างมีอายุขัยก็เพิ่มขึ้น รวมถึงการทำอาชีพอื่นควบคู่กันไปด้วยก็เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากเราจะไม่ทำอาชีพเดียวไปตลอดชีวิตอีกแล้ว

ในขณะที่เทคโนโลยีขั้นสูงเริ่มส่งผลให้มีการเปลี่ยนโฉมสถานที่ทำงาน พนักงาน 50% ต้องได้รับการเพิ่มพูนทักษะใหม่ภายในปี2568 ซึ่งเหลืออีกแค่เพียงไม่กี่ปีตามการประมาณการจาก World Economic Forum

ด้วยการนำเทคโนโลยีซึ่งอาจถือว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์มาช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจในปัจจุบัน ผู้นำองค์กรจึงต้องพิจารณาว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นจะมาผสานรวมเข้ากับแรงงานตนได้อย่างไร และยังต้องคำนึงถึงพนักงานมนุษย์ผู้ซึ่งได้รับบทบาทใหม่ในฐานะที่เป็นแรงงานที่ใช้การเชื่อมต่อ (Connected Workers) หรือแรงงานที่ใช้ดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อการทำงานนั่นเอง

จึงกล่าวได้ว่าการเปลี่ยนโฉมด้วยดิจิทัลจะช่วยให้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่งานที่ซ้ำซากจำเจ ทั้งยังช่วยสร้างแบบจำลองสถานการณ์ทางเลือกอีกนับแสน แบบเพื่อช่วยตัดสินใจในระดับไฮเปอร์สเกลด้วย แต่ในกระบวนการนี้มนุษย์ก็ยังมีอิสระในการตัดสินใจในประเด็นที่ซับซ้อน รวมถึงประเด็นด้านจริยธรรมและเรื่องส่วนบุคคลซึ่งมุ่งเน้นไปที่นโยบายด้านมนุษยธรรมและสังคมของบริษัท

เราสามารถเปรียบเทียบได้กับกฎการทำงานของมัวร์ (Moore’s Law) ที่ว่า ความสามารถทางเทคโนโลยีจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุก สองถึงสามปี ดังนั้นพูดง่าย ก็คือองค์กรจะไม่สามารถหาพนักงานใหม่ที่มีทักษะดีขึ้นในทุกครั้งที่เกิดการพัฒนาข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสำหรับการปฏิบัติงาน

Advertisements

ในอีกแง่หนึ่งกลุ่มธุรกิจต้องสามารถยอมรับทัศนคติด้านการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาได้ ละเมื่อพนักงานเริ่มปรับตัวเขากับงานได้แล้ว ก็ควรได้รับการฝึกอบรมให้ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ ด้วยเหตุนี้การเรียนรู้ต่อเนื่องในวัฏจักรพื้นฐานจะต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และเชิงระบบที่ฝังอยู่ในทุกแง่มุมของธุรกิจ

ในฐานะที่เป็นบริษัทเทคโนโลยีแห่งหนึ่งที่ขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์และโซลูชันดิจิทัลแบบใหม่ในหลากหลายองค์กรมาโดยตลอดตั้งแต่ก่อนมีเว็บไซต์ใช้กันทั่วโลก รวมถึงวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้ผสานรวมเข้ากับการปฏิบัติงานของAVEVA มานานหลายทศวรรษแล้ และจากประสบการณ์ของเรา

กลยุทธ์ห้าข้อต่อไปนี้จะช่วยให้องค์กรปลูกฝังการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในสายการปฏิบัติงาน เพื่อรักษาพนักงานที่มีความสามารถผู้ซึ่งเข้าใจวัฒนธรรมและพูดภาษาเดียวกันกับองค์กรเอาไว้ได้

1. ส่งเสริมให้เกิดการเปิดใจและการทำงานร่วมกันเป็นคุณค่าในวัฒนธรรม

ชีวิตในยุคอินเทอร์เน็ต เป็นเรื่องปกติถ้าเราจะค้นหาสิ่งที่เราไม่รู้หรือหาคำตอบจาก Google เพื่อแก้ปัญหากวนใจต่าง เราควรใช้ประโยชน์จากกระแสที่เกิดขึ้นอยู่นี้ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกันในโครงการใหม่ โดยเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถตั้งคำถามและขอความช่วยเหลือจากทุกแผนกในองค์กรได้เป็นเรื่องปกติ และแม้ว่างานวิศวกรรมเป็นงานที่ต้องทำงานร่วมกับผู้คนจากหลากหลายทีมเป็นประจำ แต่ด้วยมีการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายแผนกมากขึ้นเราจึงไม่สามารถคาดหวังให้ใครตอบคำถามทั้งหมดได้ตลอดเวลา และเมื่อพนักงานรู้ว่าพวกเขาสามารถขอความช่วยเหลือได้ และไม่มีความเสี่ยงที่จะถูกตำหนิในเรื่องนี้ พวกเขาก็เต็มใจที่จะแสดงจุดอ่อนนั้นให้เห็น ไม่ว่าจะโดยการนำเสนอความคิดกลางหอประชุมใหญ่หรือขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน และทั้งหมดนั้นจะส่งผลให้เกิดการเปิดใจตามมานั่นเอง

2. เฟ้นหาพนักงานที่มีความใฝ่รู้และอยากรู้อยากเห็น

ส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องต้องเริ่มต้นด้วยการเฟ้นหาพนักงานที่มีความอยากรู้อยากเห็นซึ่งถือเป็นนักแก้ปัญหา อีกทั้งยังเป็นผู้เปิดกว้างพร้อมเรียนรู้และไม่โอ้อวดความสามารถของตนเอง คนที่อยากรู้อยากเห็นมักจะนำวิสัยทัศน์ที่ดีมาสู่ที่ทำงาน ทำให้เกิดวัฒนธรรมในการลองทำสิ่งแปลกใหม่และค้นหาแนวทางแก้ไขรูปแบบอื่นไม่ว่าพวกเขาจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม และด้วยไม่มีหลักฐานยืนยันว่าคนอายุ 55 หรือ 60 ปีจะรู้ทุกอย่าง ทุกวันจึงเป็นโอกาสที่จะเรียนรู้บางสิ่งเพิ่มเติม

3. อ้าแขนต้อนรับโอกาสใหม่ ที่กำลังเข้ามา

ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในแง่ของการสร้างโอกาสในการจัดฝึกอบรมและอำนวยความสะดวกตามความต้องการของพนักงาน แม้ว่าพนักงานแต่ละคนจำเป็นต้องมีภาระหน้าที่รับผิดชอบของตนซึ่งหน้าที่บางอย่างก็เป็นของระดับผู้จัดการ แต่ทันทีที่มีพนักงานร้องขอ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรจะต้องพร้อมจัดหาเครื่องมือที่จำเป็นให้ทันทีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะของพนักงาน ในทำนองเดียวกัน ผู้จัดการจะต้องสามารถรับรองหรือดำเนินการตามคำร้องขอดังกล่าวได้ตามเหตุอันสมควร ตัวอย่างวิธีที่ที่เราใช้ส่งเสริมการพัฒนาภายในองค์กรก็คือการใช้ Pluralsight และแหล่งทรัพยากรอื่น ที่หาได้ทั่วไป ซึ่งเราให้พนักงานใช้งานโดยไม่คิดมูลค่า เพื่อให้พวกเขาสามารถเพิ่มพูนทักษะในงานหรือนอกเหนือจากงานก็ได้ ด้วยเหตุนี้การฝึกอบรมจึงเป็นสัญญาณแห่งสุขภาพขององค์กรที่ดี

4. ใช้ประโยชน์จากกิจกรรมสัมมนาต่าง

เราสามารถส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการเข้ามาพูดคุยกับทีม ไม่ว่าจะจัดสัมมนาด้านเทคโนโลยีขึ้นที่หอประชุมใหญ่หรือประชุม Zoom โดยเปิดให้พนักงานเข้ามาฟังทุกสัปดาห์หรือทุกเดือนก็ได้ วิทยากรรับเชิญจะช่วยกระตุ้นทีมด้วยแนวคิดและมุมมองอันสดใหม่ ทั้งยังเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานในกระบวนการดังกล่าวอีกด้วย หรืออาจลองติดต่ออาจารย์มหาวิทยาลัย นักเขียน โค้ชธุรกิจ หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่น ที่คร่ำหวอดในวงการ เราพบว่าผู้เข้าร่วมประชุมเกือบ 50% ต้องการเอาชนะความท้าทายและเริ่มมีแนวคิดที่จะพัฒนาทักษะตนเอง

5. ให้เทคโนโลยีทำงานแทนคุณ

นักบินอวกาศ นักบิน ศัลยแพทย์ ละทหารเรียนรู้วิธีการปฏิบัติงานผ่านการฝึกจำลอง ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวมีอยู่อย่างแพร่หลายในรูปแบบของความจริงเสมือน (Virtual reality) โดยเราได้ลองทดสอบกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมิลาน ขั้นแรกเราให้นักศึกษาทำแบบทดสอบทางเทคนิคแบบมาตรฐานก่อน จากนั้นจึงให้ลองทำแบบทดสอบในรูปแบบความจริงเสมือนของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งพวกเขาสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับทุกสิ่งภายในสภาพแวดล้อมเสมือนจริงก่อนจะเริ่มทำการทดสอบอีกครั้ง

เราสังเกตเห็นว่า นักศึกษามีผลการเรียนดีขึ้นเกือบ 100% ในฐานะมนุษย์ เราสามารถเชื่อมโยงแบบจำลองทางความคิด รวมถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงซึ่งจะอยู่กับเรานานกว่าการบรรยายทางวิชาการ ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ เราก็เรียนรู้ได้ดีที่สุดด้วยการลงมือทำ

การปรับตัวให้เข้ากับบทบาทที่กำลังพัฒนาไปในฐานะแรงงานที่ใช้การเชื่อมต่อในยุคชีวิตวิถีใหม่จะทำให้องค์กรต้องผสานรวมเครื่องมือทางเทคโนโลยี รวมถึงรูปแบบการเรียนรู้ทั้งแบบดั้งเดิมและเชิงนวัตกรรมเข้ากับกลยุทธ์ที่ครอบคลุมเพื่อใช้ทุนมนุษย์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันได้เร่งให้เกิดการพลิกโฉมของสถานที่ทำงาน กลุ่มธุรกิจต้องเร่งเครื่องเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรมนุษย์หรือเสี่ยงที่จะปล่อยให้ยังคงมีตำแหน่งงานว่างซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานครั้งใหญ่ก็เป็นได้

 

สามารถติดตามข่าวธุรกิจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวธุรกิจ

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button