เข้าวันนี้ เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการ เดือน พ.ย. 64 เช็คที่นี่ได้เงินกี่บาท
เข้าวันนี้ 10 พ.ย. เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการเดือนพฤศจิกายน 2564 ได้เงินตามเกณฑ์อายุ
10 พฤศจิกายน 2564 กรมบัญชีกลาง โอนเงินช่วยเหลือ 3 กลุ่ม ได้แก่ เงินอุดหนุนบุตร เบี้ยผู้สูงอายุ และเบี้ยคนพิการ ประจำเดือน พฤศจิกายน 2564 ดังนี้
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนพฤศจิกายน 2564
ประชาชนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จะได้เงินทุกเดือน ตั้งแต่ 600 – 1,000 บาท ตามเกณฑ์อายุดังนี้
- ผู้สูงอายุ 60-69 ปี ได้รับเงิน 600 บาท
- ผู้สูงอายุ 70-79 ปี ได้รับเงิน 700 บาท
- ผู้สูงอายุ 80-89 ปี ได้รับเงิน 800 บาท
- ผู้สูงอายุ 90 ปี ขึ้นไป ได้รับเงิน 1,000 บาท
การโอนเงิน แบ่งเป็น 2 ช่องทางคือ
- รับเป็นเงินสด (รับด้วยตัวเอง หรือ รับผ่านคนที่ได้รับมอบอำนาจ)
- โอนเงินเข้าบัญชี (ของตัวเอง หรือ ของคนที่ได้รับมอบอำนาจ)
ลงทะเบียนผู้สูงอายุเพื่อรับเบี้ยยังชีพ
ผู้สูงอายุที่เข้าเกณฑ์คือ สัญชาติไทย อายุ 59 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป คือเกิดตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2505 เป็นต้นไป ให้ติดต่อที่ เทศบาล องค์การบริการส่วนตำบล(อบต.) สำนักงานเขต พื้นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หากผู้สูงย้ายทะเบียนบ้าน จะต้องไปลงทะเบียนขอรับเบี้ยผู้สูงอายุใหม่ที่เขตพื้นที่นั้น ๆ
เอกสารใช้ในการลงทะเบียนรับเบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ ได้แก่ บัตรประชาชน หรือบัตรที่หน่วยงานราชการออกให้ ทะเบียนบ้าน และสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์
เบี้ยคนพิการเดือนพฤศจิกายน 2564
- อายุต่ำกว่า 18 ปี ได้รับ 1,000 บาท
- อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้รับ 800 บาท
การลงทะเบียนคนพิการ
เบี้ยความพิการ จะให้แก่ คนพิการทุกคนที่มีสมุด/บัตรประจำตัวคนพิการ สิทธิลงทะเบียนขอรับเบี้ยคนพิการ ไปได้ตามสถานที่ดังต่อไปนี้
- สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กรมประชาสงเคราะห์ ถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 628 2518 – 9
- สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดที่ศาลากลางจังหวัด ซึ่งเป็นภูมิลำเนา หรือจังหวัดที่คนพิการอาศัยอยู่
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนคนพิการ 2564
เอกสารที่คนพิการต้องนำไปยื่นที่สถานที่จดทะเบียน ได้แก่
- เอกสารรับรองความพิการ – ขอได้จากสถานพยาบาลของรัฐ เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาลประจำอำเภอ โรงพยาบาลประจำจังหวัด และโรงพยาบาลจิตเวช เป็นต้น
- ต้นฉบับ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ราชการออกให้ ในกรณีเป็นเด็กที่ยังไม่มีบัตรประจำตัว ให้ใช้ใบสูติบัตรแทน
- ต้นฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
- การจดทะเบียนแทน – ถ้าคนพิการไม่สามารถไปจดทะเบียนด้วยตนเอง ให้มอบผู้อื่นไปจดทะเบียนแทน โดยผู้จดทะเบียนแทน ต้องนำเอกสารสำหรับต่อไปนี้ไปสถานที่จดทะเบียน
- เอกสารสำหรับจดทะเบียนของคนพิการในข้อ 2 ทั้งหมด
เอกสารของผู้จดทะเบียนแทน
- ต้นฉบับ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ราชการออกให้
- ต้นฉบับ และสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ
- ใบมอบอำนาจจากคนพิการ หรือหนังสือรับรองจากทางราชการ ซึ่งขอได้จากผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และนายอำเภอ เป็นต้น
- คำสั่งศาลในกรณีที่ศาลสั่งให้คนพิการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือไร้ความสามารถ
- คำสั่งศาลเรื่องการจัดตั้งผู้ปกครองคนพิการ ในกรณีที่คนพิการไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองคนพิการ
- สมุดประจำตัวคนพิการ – คนพิการที่จดทะเบียนแล้ว จะได้รับสมุดประจำตัวคนพิการ ซึ่งต้องนำไปแสดงเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อนึ่ง สมุดประจำตัวคนพิการมีอายุ 5 ปี เมื่อหมดกำหนดต้องไปจดทะเบียนใหม่ ถ้าสมุดประจำตัวคนพิการสูญหาย ให้แจ้งความที่สถานีตำรวจ และนำใบแจ้งความไปขอยื่นจดทะเบียนใหม่