Aetna : เอ็ทน่า แผนประกันสุขภาพเพอร์ซันนัลแคร์
เงินเดือนละพัน ซื้อประกันได้หรือไม่
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า กว่าสองปีแล้วเราเผชิญกับวิกฤตสุขภาพ เนื่องจากการระบาดของโรค Covid19 ซึ่งทุกคนทราบดีว่าส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสุขอนามัยของคนทั่วโลกอย่างไร นอกจากผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่เสียหามหาศาลแล้ว การระบาดของโรคระบาดระดับโลกนี้ ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความเชื่อของคนทั่วโลกไปตลอดการ หลายคนเริ่มหันกลับมาดูแลสุขภาพอย่างจริงจัง ทั้งการออกำลังกายและ ทานอาหารเสริมต่างๆ ที่จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ในสมรภูมิเชื้อโรคนี้ และ ในสถานการณ์นี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลายคนหันมามองหาประกันสุขภาพมากขึ้นในเงื่อนไขที่ต้องการหลักประกันที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดกับสถานะทางการเงินในปัจจุบัน
ดังนั้น มี 5 สิ่งที่ต้องรู้และเข้าใจก่อนการทำประกัน คือ
- คุ้มครองเหมาจ่ายต่อปี หรือ คุ้มครองต่อครั้ง
คุ้มครองเหมายจ่ายต่อปี หรือความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุดต่อปี เป็นแบบประกันที่ค่าใช้จ่ายจะถูกนำไปหักออกจากวงเงินความคุ้มครองต่อปีเมื่อมีการเบิกเคลมค่ารักษาพยาบาล เหมาะกับผู้ที่ต้องการทำประกันสุขภาพเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยเรื้อรังจากโรคเดียวกันที่มีค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้ระยะเวลาการรักษานาน
ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุดแบบต่อครั้งต่อโรคหรือแบบเหมาจ่ายต่อครั้ง รูปแบบนี้จะกำหนดวงเงินค่ารักษาพยาบาลต่อครั้งในการเข้ารับการรักษา แต่ไม่จำกัดวงเงินต่อปี และถ้ารักษาโรคนั้นๆ จนหายเป็นปกติเกิน 90 วันไปแล้ว แต่กลับมาเข้ารับการรักษาด้วยโรคเดิมหรือโรคที่เกี่ยวเนื่อง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะคิดจากวงเงินใหม่อีกครั้งเสมอ แบบประกันนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการปิดความเสี่ยงค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยบ่อยครั้ง หรือหลายโรคที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกันภายในปีกรมธรรม์เดียวกัน เพราะจะคุ้มครองค่ารักษาทุกโรคโดยไม่จำกัดวงเงินต่อปี โดยรวมแล้วหากเคลมค่ารักษาหลายโรคพร้อมกัน จะได้วงเงินที่มากกว่าแบบเหมาจ่ายต่อปี
- ระยะเวลาที่ยังไม่คุ้มครอง คือ ระยะเวลารอคอย ประกันสุขภาพจะมี “ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง” ซึ่งเริ่มต้งแต่วันที่เริ่มความคุ้มครอง โดยระยะเวลาที่ไม่คุ้มครองอาจจะแตกต่างกันในแต่ละแบบประกัน เช่นอาจะเป็น 30 วัน หรือ 90-120 วัน ก็ได้ ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ถ้าเจ็บป่วยขึ้นมาเราจะไม่สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ ต้องจ่ายเอง ส่วนระยะเวลาที่ไม่คุ้มครองจะยาวนานเท่าไร ขึ้นอยู่กับแบบประกันสุขภาพนั้นๆ เพราะฉะนั้น อย่าเข้าใจผิดว่ากรมธรรม์อนุมัติแล้วจะได้รับความุค้มครองเลย ซึ่งทางที่ดีควรต้องรีบซื้อก่อน เพื่อความคุ้มครองก็จะได้เริ่มได้เร็วขึ้น และยิ่งเราซื้อช้า ความุคุ้มครองก็จะเริ่มช้า ความเสี่ยงที่กิดขึ้นกับตัวเองก็จะมีมากขึ้น โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์โควิดในปัจจุบัน
- ผู้ป่วยใน (IPD) ผู้ป่วยนอก (OPD) คืออะไร IPD หรือ IN-PATIENT-DEPARTMENT หมายถึง ผู้ป่วยใน IPD คือคำที่ใช้เรียกผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยจะต้องได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ นอกจากนี้ ยังรวมกรณีการรับตัวไว้เป็นผู้ป่วยในแต่เสียชีวิตก่อนครบ 6 ชั่วโมงด้วย OPD หรือ OUT-PATIENT-DEPARTMENT หมายถึง ผู้ป่วยนอก OPD คือคำที่ใช้เรียกผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่สามารถกลับบ้านได้เลยโดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเข้ารับการรักษาปัญหาสุขภาพที่อาการไม่รุนแรง หรืออาการป่วยเล็กๆ น้อยๆ ไม่จำเป็นต้องรอดูอาการอย่างเป็นหวัด ปวดหัว หกล้ม หรือมีอาการแพ้ ผด ผื่น คัน เป็นต้น
- บางโรค ไม่คุ้มครอง ค่ารักษาพยาบาลที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าไม่สามารถเคลมได้ เช่น การรักษาที่เกี่ยวข้องกับความสวยความงาม เช่น รักษาสิว ฝ้า กระ เลเซอร์กำจัดขน การศัลยกรรมใบหน้าเพื่อความสวยงาม รวมไปถึง การคลอดบุตร และค่ารักษาอื่นๆ เพื่อการมีบุตร การรักษาที่ไม่ใช่แพทย์แผนปัจจุบัน เช่น การฝังเข็ม การนวดกดจุด แต่แบบประกันบางตัวก็ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่คิดว่าเคลมไม่ได้
- ความคุ้มครองเพิ่มเติม เช่น การตั้งครรภ์ ประกันสุขภาพบางแผน ลูกค้าสามารถออกแบบความคุ้มครองด้วยตัวเองได้ โดยสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มและออกแบบค่าเบี้ยประกันด้วยตัวเอง ตัวอย่างแผนประกันตามตารางด้านล่าง ที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับการตั้งครรภ์ และการคลอดบุตร (สูงสุดต่อการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรแต่ละครั้ง) ดังนั้น ต้องดูรายละเอียดของแบบประกันนั้นๆ ว่ามีความคุ้มครองในส่วนที่เราต้องการหรือไม่
ในกรณีนี้ เรามายกตัวอย่างความคุ้มครองเริ่มต้น สำหรับ แผนประกันสุขภาพของ ช่วงอายุ 26-30 ปี โดยค่าเบี้ยสำหรับแผนความคุ้มครองแบบผู้ป่วยใน( รายละเอียดความคุ้มครองตามตารางข้างล่าง) เริ่มต้นเดือนละ 1,020บาท/เดือน โดยสามารถเลือกความคุ้มครองเพิ่มเติมได้ ทั้ง ความคุ้มครองผู้ป่วยนอก ความคุ้มครองสูติกรรม และ ความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลเพิ่มเติม
เพศ ชาย/หญิง อายุ 26-30 ปี ค่าเบี้ยสำหรับความคุ้มครอง IPD 1,020/เดือน | |
รายละเอียด | ผลประโยชน์ |
ค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน | |
ความคุ้มครองสูงสุดต่อการเข้าพักรักษาตัวครั้งใดครั้งหนึ่ง | 400,000 |
ค่าห้อง ค่าอาหารและค่าบริการพยาบาล | |
ค่าห้องผู้ป่วยปกติ (สูงสุดต่อวัน) | 2,500 |
ค่าห้องผู้ป่วยหนัก (สูงสุดต่อวัน) | 5,000 |
ค่าบริการทั่วไปสำหรับการรักษาพยาบาล | |
ค่าบริการทั่ั่วไปสำหรับการรักษาพยาบาล | 30,000 |
ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินกรณีผู้ป่วยนอก (กรณีอุบัติเหตุรักษาตัวภายใน 24 ชม.และการรักษาต่อเนื่องภายใน 15 วัน สำหรับอุบัติเหตุนั้นๆ) รวมอยู่ในค่าบริการทั่วไปสำหรับการรักษาพยาบาล | 4,000 |
ค่ารถพยาบาล รวมอยู่ในค่าบริการทั่วไปสำหรับการรักษาพยาบาล | 1,000 |
ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด | |
ค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด รวมถึงค่าปรึกษาแพทย์ก่อนการผ่าตัด (ตามตารางผ่าตัด) | 40,000 |
ค่าแพทย์เยี่ยมใข้ ( สูงสุดต่อวัน) | 600 |
การรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง ( Major Medical) | |
การรักษาพยาบาลที่ี่มีค่าใช่จ่ายสูง จะจ่ายชดเชยเพิ่มเติมให้อีก 80% ของค่าใช้จ่ายส่วนเกินผลประโยชน์ของค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยใน (ยกเว้นค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาล) สูงสุดไม่เกินความคุ้มครองสูงสุดของแต่ละแผน | |
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (อ.บ.2)*** | 40,000 |
ความคุ้มครองเเพิ่มเติม | |
ความคุ้มครองสูติกรรม | แผน 1 |
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอดบุต (ไม่รวมค่าใช้จ่ายสำหรับบุตร) | |
– การคลอดตามปกติ การผ่าคลอดโดยตั้งใจ และการคลอดโดขใช้เครื่องมือช่วย | 40,000 |
– การตั้งครรภ์นอกมดลูก และการคลอดบุตรโดยผ่าตัดฉุกเฉิน | 80,000 |
– การแท้งบุตร | 20,000 |
ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเพิ่มเติม | |
– วงเงินคุ้มครองเพิ่มเติม ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล | 200,000 |
– PA 200 | 400,000 |
– PA 400 | 900,000 |
– PA 900 ( สำหรับชั้นอาชีพ 1 และ 2 เท่านั้น) | |
ความคุ้มครองกรณีผู้ป่วยนอก | |
– ผู้ป่วยนอกแบบคลาสสิค | 500 |
– ผู้ป่วยนอกแบบพลัส | 800 |
– ผู้ป่วยนอกแบบดีลักซ์ | 1,000 |
ค้นหาข้อมูลแบบประกันสุขภาพอื่นๆ คลิกที่นี่