ข่าวข่าวอาชญากรรม

วิธีป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ถูกหักเงินจากบัตรเครดิต เดบิต โดยไม่รู้ตัว

วิธีป้องกันตัวไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ถูกหักเงินจากบัตรเครดิต เดบิต ที่กำลังเป็นข่าวดังในขณะนี้ หลังมิจฉาชีพแห่ดูดเงิน ผู้เสียหายกว่า 4 หมื่นราย

หลังจากที่โลกออนไลน์มีการเปิดผยความเสียหายจากการโดนหักเงินในบัญชีโดยไม่ทราบที่มา จนเกิดมีการตั้งกลุ่มเฟซบุ๊ก “แชร์ประสบการณ์โดนหักเงินจากบัญชีโดยไม่รู้ตัว” โดยผู้เสียหายตรวจสอบพบว่ามีเงินถูกหักจากบัญชีธนาคารโดยไม่รู้ตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยอดเงินจำนวนไม่มาก 30 บาทบ้าง 36 บาทบ้าง

แต่เป็นการดูดเงินหายไป หลายครั้ง บางคนโดนจนเกลี้ยงบัญชี และโดนกันหลากหลายธนาคาร โดยรายการธุรกรรมเหล่านี้ จะระบุว่าเป็นการ “ชำระค่าสินค้าผ่าน EDC”

ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพกลุ่มนี้ The Thaiger จึงขอแนะนำวิธีป้องกันไม่ให้ถูกหักเงินจากบัญชี หรือ บัตรเครดิต บัตรเดบิต ตลอดจนขั้นตอนป้องกันภัยแต่เนิ่นๆ ดังนี้

– นำแผ่นสติกเกอร์ทึบแสงปิดรหัสหลังบัตร 3 ตัว หรือจดจำรหัสนั้นเอาไว้ แล้วใช้กระดาษทรายลบตัวเลขรหัสดังกล่าวออกจากด้านหลังบัตร เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ มิให้แอบถ่ายรูปด้านหน้าและหลังบัตรเพื่อนำไปใช้จ่ายในโลกออนไลน์

– หากซื้อสินค้าออนไลน์ ถ้าไม่แน่ใจในเว็บไซค์แปลกๆ ไม่ควรบอกหมายเลขบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนตัวโดยไม่จำเป็น

– หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมที่ไม่น่าเชื่อถือผ่านทางออนไลน์ที่ต้องแจ้งข้อมูลด้านหน้าบัตรและรหัส 3 ตัวที่อยู่ด้านหลังบัตร

– อย่ากดลิงก์ สื่อต่างๆ หรือ SMS แบบทันทีทันใด เช็คให้ชัวร์ ตรวจสอบ SMS ให้แน่ใจ ก่อนทำรายการ เพื่อป้องกันการถูกล้วงข้อมูลส่วนตัวไปใช้

– เวลาใช้จ่ายบัตร ระวังอย่าเอาบัตรให้เจ้าหน้าที่รูดบัตร หรือ พนักงานเอาข้อมูลเก็บไว้แล้วไปขายตค่อหใมิจฉาชีพ

– กรณีใช้บัตรรูดซื้อสินค้า ควรไม่ให้เจ้าหน้าที่นำบัตรไปรูดชำระสินค้าในที่ลับตา เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานนำข้อมูลในบัตรไปขายต่อให้มิจฉาชีพ

– จำกัดวงเงินในการใช้จ่ายบัตรเครดิต หรือ บัตรเดบิต และหมั่นตรวจสอบการใช้บัตรเครดิตอยู่เสมอ

– ควรรักษาบัญชีผู้ใช้ให้เป็นความลับในทุกกรณี

– หากเกิดการโจรกรรมบัตรเครดิตไปแล้วต้องรีบโทรแจ้งธนาคารที่ออกบัตรทันทีที่บัตรของเราสูญหาย และควรแจ้งความที่สถานีตำรวจ และเก็บเอกสารแจ้งความไว้เป็นหลักฐานในการชี้แจ้งกรณีที่มีการรูดใช้ชำระสินค้า และบริการที่ไม่ใช่เกิดจากเรา

โดยข้อมูลล่าสุด พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้ทุกภาคดำเนินการรับแจ้งความทุกคดีไม่ว่าเหตุเกิดที่ใดก็ตาม จึงประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายทราบว่า เมื่อเกิดเหตุขึ้นไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด สามารถเดินทางไปแจ้งความได้กับทุกสถานี แม้เรื่องที่เกิดจะอยู่คนละจังหวัดก็ตาม

นอกจากนี้ ลูกค้าที่ตรวจสอบพบความผิดปกติของรายการธุรกรรมด้วยตนเอง สามารถติดต่อคอลเซ็นเตอร์หรือสาขาของธนาคารผู้ออกบัตรเพื่อแจ้งตรวจสอบและยืนยันการทำธุรกรรมในทันที โดยธนาคารจะดูแลแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และเร่งคืนเงินให้กับลูกค้าที่ได้รับความเสียหายตามขั้นตอนของธนาคารโดยเร็วต่อไป

สำหรับผู้ที่ถูกหักเงินออกจากบัตร บัญชีธนาคารผิดปกติ สามารถรีบโทรไปแจ้งอายัติตามหมายเลข Call Center (คอลเซ็นเตอร์) ธนาคารนั้น ๆ ได้ รีบโทรทันทีที่รู้ตัว ยิ่งตัดวงจรการถูกปล้นเงินได้ไว

-ธนาคารกรุงเทพ โทร. 1333

-ธนาคารกรุงไทย โทร. 0-2111-1111

-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา โทร. 1572

-ธนาคารกสิกรไทย โทร. 0-2888-8888

-ธนาคารเกียรตินาคินภัทร โทร. 0-2165-5555

-ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย โทร. 0-2626-7777

-ธนาคารทหารไทยธนชาต โทร. 1428

-ธนาคารทิสโก้ โทร. 0-2633-6000

-ธนาคารไทยพาณิชย์ โทร. 0-2777-7777

-ธนาคารยูโอบี โทร. 0-2285-1555

-ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ โทร. 1327

-ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด โทร. 0-2724-4000

-ธนาคารไอซีบีซี โทร. 0-2629-5588

-ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย โทร. 0-2697-5454

-Bank of China โทร. 0-2679-5566

-ธนาคารซิตี้แบงก์ โทร. 1588

-ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร. 1357

-ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 0-2555-0555

-ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โทร. 0-2271-3700

-ธนาคารออมสิน โทร. 1115

-ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 0-2645-9000

-ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 1302

-บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย โทร. 0-2018-3636

-บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โทร. 0-2890-9999

เบอร์โทร Call Center ธนาคาร

 

ขณะเดียวกันสามารถปรึกษาข้อสงสัย อาชญากรรมทางเทคโนโลยี แจ้งเบาะแส ขอความช่วยเหลือ ได้ที่ โทร 1441 ในเวลาราชการ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 น. – 16.30 น.

ทั้งนี้สำหรับผู้เสียหายสามารถ สแกน QR Code เพื่อกรอกข้อมูลกรณีถูกแฮกเงินในบัญชี

เงินหายจากบัญชี

อุ่นใจด้านการเงิน เมื่อป่วยเป็นโรคร้ายแรง สนใจทำประกันโรคร้ายแรงกับ Tadoo คลิกที่นี่

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button