ข่าวข่าวการเมือง

ด่วน! ศาลแพ่ง ห้าม นายกฯใช้ ข้อบังคับ 29 ควบคุมสื่อ

ศาลแพ่ง ตัดสินห้าม ประยุทธ์ ใช้ ข้อบังคับ 29 กับสื่อมวลชน ซึ่งว่าด้วยการนำเสนอ ข่าวปลอม สร้างความหวาดกลัวให้ประชาชน หรือ ข่าวที่มีเนื้อหาบิดเบือน

เพจ สื่อศาล ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊กถึงคำตัดสินของศาลแพ่ง ต่อกรณีที่สื่อมวลชนรวมตัวฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อกรณีข้อบังคับ 29 ที่ระบุว่าห้ามสื่อเผยแพร่ข่าวปลอม สร้างความหวาดกลัวให้ประชาชน หรือ ข่าวที่มีเนื้อหาบิดเบือน เมื่อวันที่ 2 ส.ค. ที่ผ่านมา

Advertisements

โดยเอกสารระบุว่า “ตามที่ปรากฏเป็นข่าวต่อสาธารณะว่า เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ศาลแพ่งมีคําสั่งให้รับคํา ฟ้องในคดีหมายเลขดําที่ พ3618/2564 ที่บริษัท รีพอร์ตเตอร์ โปรดักชั่น จํากัด กับพวกรวม 12 คน ยื่นฟ้อง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ขอให้ศาลมีคําพิพากษาเพิกถอนข้อกําหนดที่ออกตามความใน มาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29) ลงวันที่ 29กรกฎาคม 2564พร้อมรับคําร้องขอให้ศาลไต่สวนคําร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน

โดยขอให้ศาลมี คําสั่งให้ระงับการบังคับใช้ข้อกําหนดดังกล่าวและห้ามมิให้นํามาตรการ คําสั่ง หรือการกระทําใดๆที่สั่งการตาม ประกาศดังกล่าวมาใช้กับฝ่ายโจทก์ ประชาชนและสื่อมวลชนไปจนกว่าศาลจะมีคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีนี้ และ ศาลนัดฟังคําสั่งวันที่ 6 สิงหาคม 2564 เวลา 13.30 น. นั้น

บัดนี้ ศาลแพ่งในคดีหมายเลขดําที่ พ3618/2564 ได้ออกนั่งพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐาน แล้วมีคําสั่งอันสรุปใจความได้ว่า “ข้อกําหนดฯ ข้อ 1 ที่ห้ามเผยแพร่ข้อความอันอาจทําให้ประชาชนเกิดความ หวาดกลัว มิได้จํากัดเฉพาะข้อความอันเป็นเท็จตั้งเหตุผลและความจําเป็นตามที่ระบุไว้ในการออกข้อกําหนด ดังกล่าว ย่อมเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของโจทก์ทั้งสิบสองและประชาชนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติคุ้มครองไว้

ทั้งยังไม่ต้องด้วยข้อกําหนดฯ ที่ระบุว่า จําเป็นต้องมีมาตรการที่ กําหนดให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกเป็นไปอย่างมีเหตุผล ถูกต้องตามข้อเท็จจริงตามกรอบที่ รัฐธรรมนูญกําหนด ทั้งข้อความอันอาจทําให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวตามข้อกําหนดข้อดังกล่าวนั้น มี ลักษณะไม่แน่ชัดและขอบเขตกว้าง ทําให้โจทก์ทั้งสิบสอง ประชาชนและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนไม่มั่นใจ ในการแสดงความคิดเห็นและสื่อสารตามเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 34 วรรคหนึ่ง และมาตรา 35 วรรค หนึ่ง บัญญัติคุ้มครองไว้

Advertisements

นอกจากนี้ยังเป็นการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ ไม่ต้องด้วย มาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญฯ ทั้งข้อกําหนดดังกล่าวก็ไม่ได้กําหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางในการ ปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์ทั้งสิบสองหรือ ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุ ตามความในมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

ส่วนข้อกําหนดฯ ข้อ 2 ที่ให้อํานาจระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่เลขที่อยู่ไอพี (IP address) ที่มีการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารในอินเทอร์เน็ตที่ฝ่าฝืนข้อกําหนดฯ ไม่ปรากฏว่ามาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ให้อํานาจนายกรัฐมนตรีออก ข้อกําหนดให้ดําเนินการระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ต

จึงเป็นข้อกําหนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อินเทอร์เน็ตมี ความสําคัญต่อการดําเนินชีวิตประจําวัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease : COVID-19) และรัฐสั่งปิดพื้นที่หรือล็อกดาวน์จํากัดการเดินทางหรือ การพบปะระหว่างบุคคล

ทั้งข้อกําหนดข้อดังกล่าวมิได้จํากัดเฉพาะการระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตสําหรับ การกระทําครั้งที่เป็นเหตุแห่งการระงับให้บริการอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่ยังระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตใน อนาคตด้วย ปิดกั้นการสื่อสารของบุคคล และเป็นการปิดกั้นสุจริตชนผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเผยแพร่ ข้อความหรือข่าวสารดังกล่าว ไม่ต้องด้วยมาตรา 36 วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญฯ

การให้ข้อกําหนดทั้งสองข้อ ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปอาจทําให้เกิดความเสียหายที่ยากแก่การเยียวยาแก้ไขในภายหลังได้ กรณีมีเหตุ จําเป็นเห็นเป็นการยุติธรรมและสมควรในการนําวิธีชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้เพื่อเป็นการระงับการบังคับใช้ ข้อกําหนดทั้งสองข้อดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255 (2) มาตรา 255 (2) (ง) ประกอบมาตรา 267 วรรคหนึ่ง และการระงับการบังคับใช้ข้อกําหนดดังกล่าวไม่น่าเป็นอุปสรรคแก่การ บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐหรือแก่ประโยชน์สาธารณะ เพราะยังมีมาตรการทางกฎหมายหลาย ฉบับให้สามารถดําเนินการเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผ่านช่องทางสื่อสาร ต่างๆ

อีกทั้งรัฐสามารถใช้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ในการกํากับเป็นเครื่องมือในการให้ความรู้เพื่อการรู้เท่าทัน สร้าง ความเข้าใจที่ถูกต้อง และตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนแก่ประชาชนได้ด้วย

จึงมีคําสั่งห้ามจําเลยดําเนินการบังคับใช้ข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราช กําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 29) เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมี คําสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น”

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button